8 คำแนะนำจะบอกเด็กๆ อย่างไรเรื่องไวรัสโคโรนา

อย่าตื่นตกใจ ยึดข้อเท็จจริง และพูดคุยกับลูกๆ เกี่ยวกับความรู้สึกของคุณเรื่องไวรัสโคโรนา หรือเชื้อโควิด-19

Coronavirus

Teaching children how to wash hand regularly Source: UNICEF

การที่จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ นั้น กำลังส่งผลกระทบต่อโรงเรียนต่างๆ ในออสเตรเลีย มีโรงเรียนอย่างน้อย 4 แห่ง ที่ต้องปิดทำการ เนื่องจากมีนักเรียนและเจ้าหน้าที่โรงเรียนจำนวนหนึ่งได้รับการตรวจพบว่ามีเชื้อไวรัสนี้ การเดินทางไปต่างประเทศของนักเรียนในควีนส์แลนด์ก็ยังถูกห้ามด้วย

ดังนั้น จึงสำคัญยิ่งสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะต้องช่วยลดความวิตกกังวลที่เด็กๆ อาจมีเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา และเรื่องที่ว่าเชื้อนี้จะส่งผลอย่างไรต่อพวกเขา

ข้อมูลสำคัญที่ควรรู้คือ รายงานการติดเชื้อในหมู่เด็กๆ นั้นยังคงต่ำ โดยขณะที่มีผู้ถูกยืนยันว่าติดเชื้อกว่า 44,000 คนในประเทศจีน แต่มีเพียง 416 รายเท่านั้น (น้อยกว่าร้อยละ 1) ที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 9 ขวบ และไม่มีรายงานการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ติดเชื้อวัยนี้

เด็กๆ จะติดเชื้อน้อยกว่า หรือแสดงอาการของการติดเชื้ออย่างไม่รุนแรง แต่พวกเขาอาจมีบทบาทสำคัญในการเป็นพาหะนำเชื้อ

ดังนั้น นี่คือคำแนะนำสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่จะช่วยเหลือเด็กๆ และช่วยให้เด็กๆ ได้มีข้อมูลที่ถูกต้องและทันเหตุการณ์

1. ควบคุมความรู้สึกไม่ให้แตกตื่นในช่วงของความไม่แน่นอน

สายพันธุ์ใหม่ของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ซึ่งอาจมีอาการคล้ายการเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่ยังอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่านั้นได้ สัญญาณบ่งชี้การติดเชื้ออาจรวมไปถึง: การมีไข้สูง การไอ และการหายใจหอบ (หายใจลำบาก) ในผู้ติดเชื้อบางรายที่อาการรุนแรง อาจรวมไปถึงอาการปอดบวม ไตล้มเหลว และแม้แต่การเสียชีวิต

เหตุผลหนึ่งที่ประชาชนรู้สึกวิตกกังวลในช่วงที่เกิดการระบาดใหญ่ของโรคเนื่องจากความไม่แน่ใจว่าจะเกิดผลกระทบอย่างไร การวิจัยเรื่องการระบาดของเชื้อไข้หวัดหมู หรือเชื้อ Swine Flu ในปี 2009 (เชื้อ H1N1) พบว่าประชาชนบางกลุ่มที่วิตกกังวลกับความไม่แน่นอน มีแนวโน้มมากกว่าที่จะมองการระบาดใหญ่ของโรค ว่าเสี่ยงต่อชีวิต และนี่อาจส่งผลให้มีระดับความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นได้

วิธีการหนึ่งที่จะให้ความแน่นอนในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอน คือข้อเท็จจริง เช่น การบอกเด็กๆ ว่าจากหลักฐานที่มีจนถึงขณะนี้ แสดงให้เห็นว่า เด็กๆ มีแนวโน้มน้อยกว่าที่จะเกิดอาการรุนแรงเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่

คุณสามารถช่วยให้เด็กๆ มีความรู้สึกมั่นใจ โดยช่วยให้พวกเขารู้กลยุทธ์ในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสนี้

2. สร้างนิสัยที่ถูกสุขอนามัย

องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า เราควรเปลี่ยนความวิตกกังวลให้เป็นการฝึกปฏิบัติตนให้มีสุขนิสัยที่ดี

เราควรกระตุ้นให้เด็กล้างมือด้วยสบู่และน้ำบ่อยๆ (โดยเฉพาะหลังจากไปเข้าห้องน้ำ หลังออกจากสถานที่สาธารณะ และก่อนและหลังรับประทานอาหาร)
Encourage your children to wash their hands frequently.

กระตุ้นให้เด็กๆ ล้างมือของตนบ่อยๆ

อีกทั้ง เด็กๆ ยังควรใช้กระดาษทิชชูเมื่อไอหรือจาม และทิ้งกระดาษทิชชูนั้นลงถังขยะหลังจากนั้น

3. ให้ระมัดระวังเกี่ยวกับข่าวตามสื่อต่างๆ

แค่อ่านข่าวที่มีให้เห็นทั่วๆ ไป เราก็เห็นพาดหัว เช่น “อัตราการตายจากเชื้อไวรัสโคโรนาในออสเตรเลียหากคิดตามสัดส่วนแล้วอาจเลวร้ายกว่าในจีนด้วยซ้ำ ผู้เชี่ยวชาญเตือน” รายงานข่าวก็อาจมีกราฟแสดงให้เห็นว่า “คุณมีแนวโน้มจะตายจากเชื้อไวรัสโคโรนามากแค่ไหน”

การที่เด็กๆ ได้เห็นหรือไม่อ่านรายงานข่าวต่างๆ เหล่านั้น อาจเพิ่มความหวาดกลัวและความวิตกกังวลได้

มีความเชื่อมโยงกันที่ชัดเจนและใกล้ชิดระหว่างสิ่งที่เด็กๆ เห็น เช่นข้อมูลที่น่าวิตกตามสื่อกับระดับความหวาดกลัวของเด็กๆ

ดังนั้น ให้ระมัดระวังเกี่ยวกับข่าวจากสื่อต่างๆ ที่เด็กๆ ได้เห็นและได้อ่าน พยายามดูโทรทัศน์ ฟังข่าว หรืออ่านข่าวด้วยกันกับลูกๆ เพื่อที่ว่าคุณจะได้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำถามที่เด็กๆ อาจมี

4. ยึดตามข้อเท็จจริง

เมื่อตอบคำถามที่เด็กๆ มี ให้คุณรวบรวมข้อมูลและความรู้จากองค์การอนามัยโลก และแห่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อถือได้

กลั่นกรองเอาข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกไป ในเรื่องการป้องกันตนเองจากเชื้อโควิด-19 (เช่น การกินกระเทียม และการอาบน้ำร้อน) และให้ข้อมูลแก่ครอบครัวของคุณด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง อย่ากลายเป็นคนที่ส่งต่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้แก่ลูกๆ และคนอื่นๆ

5. พูดคุยถึงความรู้สึกของคุณ

มันไม่เป็นไรที่จะรู้สึกวิตก การพูดคุยถึงความรู้สึกเครียดของคุณอาจช่วยคุณให้บรรเทาความรู้สึกนั้นลงได้

หากคุณพยายามกลบกลื่นความเครียดที่มี นี่อาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณเอง

ในฐานะพ่อแม่ คุณทำได้เพียงรับฟังความวิตกกังวลของลูกๆ เท่านั้น แต่อาจไปสัญญาว่าทุกอย่างจะปลอดภัยดีหรือทุกอย่างจะแน่นอน คุณสามารถให้ความมั่นใจกับเด็กๆ ว่าในฐานะครอบครัว คุณจะร่วมมือกันจัดการกับสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และคุณจะรับฟังความรู้สึกและความวิตกของเด็กๆ เสมอ

6. อย่าส่งต่อความกลัวของคุณไปให้เด็กๆ

การศึกษาวิจัยจากการระบาดใหญ่ของเชื้อไข้หวัดหมู หรือเชื้อ Swine Flu ในปี 2009 แสดงให้เห็นว่าความหวาดกลัวเชื้อนี้ของเด็กๆ มีความเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญกับความหวาดกลัวเชื้อนี้ของพ่อแม่

การที่พ่อแม่ส่งต่อความหวาดกลัวไปให้ลูกๆ ส่งผลกระทบแม้ในสถานการณ์ที่ไม่มีอะไรให้ต้องรู้สึกหวาดกลัว การศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าหากพ่อแม่ได้รับข้อมูลแง่ลบเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นอันตราย พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะส่งต่อความเชื่อในแง่ลบนั้นให้แก่ลูกๆ และเพิ่มระดับความหวาดกลัวให้ลูกๆ

ดังนั้น แม้ว่าคุณจะรู้สึกเครียดเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 คุณก็จะต้องไม่ต้องต่อความกลัวเหล่านี้ไปให้แก่ลูกๆ แสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณไม่ได้ตื่นตระหนก และอย่าเป็นพาหะของความหวาดกลัว

7. ใช้ชีวิตต่อไปตามปกติ

มันง่ายที่จะเกิดความรู้สึกตามไปด้วย กับความตื่นตระหนกเรื่องอนาคตและสิ่งที่อาจเกิดขึ้น แต่การมุ่งเน้นแต่เรื่องอนาคตเพียงอย่างเดียวก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลได้

พยายามช่วยให้เด็กๆ มุ่งเน้นไปที่ปัจจุบัน และสิ่งที่พวกเขากำลังทำในวันนี้ สิ่งต่างๆ ที่พวกเขาควบคุมได้ เช่น การเรียนอย่างเต็มที่ที่โรงเรียน การฝึกซ้อมบาสเก็ตบอล ให้ทำกิจวัตรประจำวันไปตามปกติ และมีความสุขกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ขณะนั้น

8. ร่วมมือกัน

นี่ไม่ใช่เวลาที่จะเห็นแก่ตัว แต่ให้ร่วมมือกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ให้มีน้ำใจต่อผู้อื่น (อย่าขโมยกระดาษชำระของคนอื่น) และส่งเสริมให้เด็กมีน้ำใจต่อผู้อื่นเช่นกัน

การไม่มุ่งคิดถึงแต่ตนเอง จะช่วยลดความเครียด และช่วยให้ชีวิตมีความหมายและมีเป้าหมายมากขึ้น

แมนดี ชีน (Mandie Shean) เป็นอาจารย์ด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัย อีดิธ โคแวน (Edith Cowan)

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 



Share
Published 16 March 2020 5:44pm
Updated 19 March 2020 8:06am
By Mandie Shean
Presented by SBS Thai
Source: The Conversation, SBS


Share this with family and friends