ประเด็นสำคัญในบทความ
- ผู้เชี่ยวชาญต่างกล่าวว่า ภาวะสมองล้า (brain fog) พบได้บ่อยในผู้ที่ประสบภาวะลองโควิด (long COVID)
- ภาวะนี้มักเกิดขึ้นชั่วคราวและหายได้เอง
- ปรึกษากับแพทย์ประจำตัวของคุณ หากยังคงมีอาการนานกว่า 8 สัปดาห์
- ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการออกกำลังกายและทำกิจกรรมกระตุ้นสมอง เช่น เล่นเกมไขปริศนาต่างๆ และเล่นวิดีโอเกม สามารถช่วยฟื้นฟูการทำงานของสมองได้เร็วขึ้น
คุณไดแอนน์ วัตส์ ผู้จัดการโครงการก่อสร้าง ในซิดนีย์ สูญเสียความสามารถในการสะกดคำส่วนหนึ่ง และไม่สามารถจดจำกระบวนการทางธุรกิจบางอย่างได้ หลังจากที่เธอหายป่วยจากโควิด-19 และกลับมาทำงาน
“ฉันจำเป็นต้องมีใครสักคนมานั่งกับฉันและอธิบายกระบวนการเหล่านั้นอีกครั้ง” คุณวัตส์บอกกับเอสบีเอส
คุณวัตส์ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในเดือนมิถุนายนและเชื่อว่าเธออาจมีภาวะลองโควิด (long COVID) หรือมีอาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด ซึ่งมักเกิดขึ้นภายใน 3 เดือนหลังการติดเชื้อ
สาธารณสุขนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่าไม่มีการตรวจเชื้อใดๆ ที่จะระบุชี้ได้อย่างแน่ชัดถึงการมีภาวะลองโควิด (long COVID) อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยว่ามีภาวะลองโควิดนั้น หมายความว่าแพทย์จะต้องสามารถตัดภาวะอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายคลึงกันออกไปได้
อาการทั่วไปของภาวะลองโควิด หรืออาการหลังหายจากการติดเชื้อโควิด ได้แก่ สมองล้า (brain fog) มีปัญหาด้านความจำ มีปัญหาในการมีสมาธิ ปัญหาการนอนหลับ พูดลำบาก ซึมเศร้าหรือวิตกกังวล และเหนื่อยล้า
อาการอื่นๆ ได้แก่ หายใจไม่อิ่ม หรือหายใจลำบาก ไอเรื้อรัง เจ็บหน้าอก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ สูญเสียการรับกลิ่นหรือรับรส และมีไข้
ค้นหาคลินิกสำหรับผู้มีภาวะลองโควิดในรัฐต่างๆ :
ภาวะสมองล้าจากโควิดคืออะไร?
ภาวะสมองล้าจากโควิด หรือที่เรียกกันว่า "COVID fog" ไม่ใช่ศัพท์ทางการแพทย์ แต่โดยทั่วไปมักใช้เพื่ออธิบายปัญหาด้านการรับรู้และการคิด (cognitive) เช่น มีปัญหาในการคิด ไม่มีสมาธิ และมีปัญหาในการจดจำ หลังจากติดเชื้อโควิด
กระทรวงสาธารณสุขและการดูแลผู้สูงอายุ ไม่มีสถิติเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดมีภาวะสมองล้าจากโควิด-19 ในออสเตรเลีย
แต่จากความเห็นของผู้ผู้อำนวยการคลินิกลองโควิดที่โรงพยาบาล เซนต์ วินเซนต์ส (St Vincent's) คือ รศ.สตีเวน โฟซ์ ภาวะสมองล้านั้นพบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะลองโควิด
ผู้ป่วยราว 10 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ที่เข้ามาในคลินิกของเรา รายงานถึงภาวะสมองล้าจากโควิด ตัวเลขนั้นจะสูงขึ้นหากเราถามผู้ป่วยเกี่ยวกับความยากลำบากในการรับรู้และการคิด
การวินิจฉัยภาวะสมองล้าจากโควิด
ดร.โซนู บาสคาร์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์และนักวิชาการด้านประสาทวิทยาในซิดนีย์ กล่าวว่า การวินิจฉัยภาวะสมองล้าจากโควิดอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากเป็น "ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่รู้สึกสมองตื้อ หรือมีปัญหาในการมีสมาธิ หลังจากหายจากโรคโควิด-19"
“สัดส่วนของผู้รอดชีวิตจากโควิด-19 อาจประสบปัญหาเรื้อรังด้านระบบประสาทและการรู้คิด” ดร.บาสคาร์ กล่าว
รศ.สตีเวน โฟซ์ กล่าวว่า การวินิจฉัยภาวะสมองล้าจากโควิดไม่ได้จำกัดอยู่เพียงปัจจัยเดียว เนื่องจากความวิตกกังวลและความเหนื่อยล้าก็ส่งผลต่อการรับรู้และการคิดด้วยเช่นกัน
“เราต้องดูบริบทเมื่อต้องรับมือกับภาวะสมองล้าจากโควิด” รศ.โฟซ์ กล่าว
เขาเชื่อว่าผู้คนในงานที่ต้องใช้พลังงาน ใช้ความพยายามสูง เช่น งานในภาคกฎหมายและภาคการดูแลสุขภาพ และผู้ที่จำเป็นต้องประมวลข้อมูลจำนวนมาก ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบจากสภาวะดังกล่าวมากกว่าคนอื่น
“ภาวะสมองล้าจากโควิดถือได้ว่าร้ายแรงสำหรับอาชีพเหล่านั้น ที่ผู้ทำงานไม่สามารถสูญเสียสมาธิได้แม้เพียงเล็กน้อย”
จะทำอย่างไรถ้าคุณมีภาวะสมองล้าจากโควิด
ในกรณีส่วนใหญ่ ภาวะสมองล้าจากโควิดเกิดขึ้นชั่วคราวและหายได้เอง
“อย่างแรกเลยคือ ไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะมันไม่น่าจะเกิดขึ้นถาวร ให้เวลากับมัน (ในการฟื้นตัว)” รศ.โฟซ์ ย้ำ
การจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวข้อง เช่น ความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า สามารถช่วยให้ภาวะสมองล้าจากโควิดดีขึ้นได้
รศ.โฟซ์ แนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือแพทย์จีพี หากพวกเขายังคงมีอาการอยู่ 8 สัปดาห์หลังจากการติดเชื้อ
คนส่วนใหญ่สามารถบริหารจัดการภาวะนี้ได้เองที่บ้านด้วยการทำอะไรอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่าออกกำลังกายอย่างหักโหม เพียงแค่ทำอะไรให้ช้าลงและออกกำลังกายเบาๆ
ดร.บาสคาร์ กล่าวเสริมว่า การทำกิจกรรมที่กระตุ้นสมอง เช่น การเล่นวิดีโอเกม ก็ช่วยได้เช่นกัน
คุณวัตส์ไม่ได้พบแพทย์จีพีเกี่ยวกับภาวะสมองล้าจากโควิดของเธอ แต่ได้เฝ้าสังเกตอาการของตนเพื่อให้แน่ใจว่าอาการดีขึ้น
“ฉันค่อย ๆ กลับมาทำโน่นทำนี่อีกครั้งภายในขีดจำกัดของตัวเอง และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่อยู่เสมอ” คุณวัตส์ กล่าว
“จากนั้น 4 สัปดาห์หลังจากการติดเชื้อ ภาวะสมองล้าจากโควิดก็หายไปในทันใด” คุณวัตส์เล่า
Experts believe people high-demanding jobs could be more affected by COVID fog. Credit: Hinterhaus Productions/Getty Images
จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม
จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อวัดผลกระทบอย่างแน่ชัดที่โควิด -19 มีต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงระบบประสาท
แต่ผลการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ใน ชี้ให้เห็นว่าบางคนยังคงเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงกว่าที่จะเกิดภาวะทางระบบประสาทและจิตเวช ซึ่งรวมถึง ภาวะสมองล้า ภาวะสมองเสื่อม และโรคจิต ( psychosis) แม้จะผ่านไปสองปีหลังจากติดเชื้อโควิด-19
นอกจากนี้ งานวิจัยที่นำโดยมหาวิทยาลัย La Trobe ที่ตีพิมพ์ใน พบว่าอาการทางระบบประสาทที่พบหลังการติดเชื้อโควิดมีความคล้ายคลึงกับที่อาการที่พบในโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม (dementia)
อย่างไรก็ตาม ดร.นิก เรย์โนลด์ส หัวหน้านักวิจัย บอกกับเอสบีเอสว่า ยาที่พัฒนาขึ้นเพื่อรักษาโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมนั้น อาจสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อรักษาอาการทางระบบประสาท ที่เกิดขึ้นหลังการติดเชื้อโควิด ได้ในอนาคต
เอสบีเอส มุ่งมั่นจะให้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโควิด-19 แก่ชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมในออสเตรเลีย รู้ข้อมูลล่าสุดเพื่อปกป้องตนเองให้ปลอดภัยได้ด้วยการไปที่
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่