ออสเตรเลียกำลังพิจารณาคำขอลี้ภัยของสาวซาอุฯ

NEWS: ออสเตรเลียกำลังพิจารณาว่าจะให้สถานภาพผู้ลี้ภัยแก่สาวซาอุฯ อายุ 18 ปี ราฮาฟ โมฮัมเมด อัลคูนุน หรือไม่หลังจากที่สหประชาชาติตัดสินว่าคำขอลี้ภัยของเธอนั้นถูกต้อง

Image of Rahaf Mohammed Al-Qunun in Thailand by AAP

Rahaf Mohammed Al-Qunun with Thai officials Source: AAP

You can read the full version of this story in English on SBS News .

อนาคตของหญิงสาวชาวซาอุฯ ซึ่งหวาดกลัวว่าครอบครัวของเธอจะสังหารเธอหากว่าเธอถูกส่งตัวกลับนั้นขึ้นอยู่กับประเทศออสเตรเลีย โดยรัฐบาลกำลังทำการพิจารณาคำขอลี้ภัยของเธอ

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้ส่งกรณีของราฮาฟ โมฮัมเมด อัลคูนุน ให้กับประเทศออสเตรเลียเพื่อพิจารณา หลังจากที่ทางสหประชาชาตินั้นติดสินว่าเธอเป็นผู้ลี้ภัย โดยออสเตรเลียได้ยืนยันว่าจะพิเคราะห์คำขอลี้ภัยของเธอในขณะที่เธอยังคงอยู่ที่กรุงเทพมหานคร

“กระทรวงมหาดไทยจะพิจารณาการส่งต่อนี้ตามปกติ เช่นที่ทำกับกรณีการส่งตัวจาก UNHCR ทั้งหมด” โฆษกกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งกล่าว

นางสาวอัลคูนุนวางแผนที่จะเดินทางเข้าประเทศออสเตรเลียด้วยวีซ่านักท่องเที่ยวเพื่อขอลี้ภัย ก่อนที่เธอจะถูกควบคุมตัวเอาไว้

หญิงวัยรุ่นคนดังกล่าวได้ร้องขอเป็นผู้ลี้ภัยด้วยความสิ้นหวัง หลังจากที่ชี้แจงถึงความหวาดกลัวว่าครอบครัวของเธอนั้นจะสังหารเธอหากว่าเธอถูกส่งกลับบ้าน โดยเริ่มการรณรงค์ทางสื่อสังคมออนไลน์จนเป็นที่สนใจของทั่วโลก

พลตำรวจตรีสุรเชษฐ์ หักพาล กล่าวว่าเธอปฏิเสธที่จะพบกับบิดาและพี่ชายมของเธอผู้ได้เดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร

“บิดาของราฮาฟได้พบกับตัวแทนของ UNHCR เพื่อหารือเรื่องดังกล่าว ... เป็นธรรมชาติของบิดามารดาที่จะวิตกกังวลเกี่ยวกับบุตรของพวกเขา เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในครอบครัว” พล. ต. ต. สุรเชษฐ์ หักพาล กล่าวกับผู้สื่อข่าว

พล. ต. ต. สุรเชษฐ์กล่าวว่า ฝ่ายบิดาได้ปฏิเสธการทำร้ายร่างกายบุตรสาว หรือการพยายามบีบบังคับให้เธอแต่งงานแบบคลุมถุงชน

เขากล่าวว่า เขาต้องการบุตรสาวของเขากลับไป แต่ก็เคารพต่อการตัดสินใจ พล. ต. ต. สุรเชษฐ์ กล่าวเสริม และอธิบายถึงชายคนดังกล่าวว่าเป็นผู้ว่าการคนหนึ่งที่ซาอุดิอาระเบีย

“เขามีบุตร 10 คน เขากล่าวว่าบุตรสาวของเขาอาจรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งเป็นบางครั้ง” พล. ต. ต. สุรเชษฐ์กล่าว
“แต่เขาก็ไม่ได้ลงรายละเอียด”

ก่อนที่ทางสหประชาชาติจะส่งต่อมาให้กับประเทศออสเตรเลียนั้น รัฐมนตรีมหาดไทย นายปีเตอร์ ดัตตัน ได้เคยกล่าวไว้ว่าจะไม่มี “การปฏิบัติเป็นพิเศษ” ให้กับกรณีของนางสาวอัลคูนุน

รัฐมนตรีสุขภาพ นานเกร็ก ฮันต์ ก็ได้เคยกล่าวไว้ว่า ออสเตรเลียจะพิจารณาเพื่อออกวีซ่ามนุษยธรรมให้กับนางสาวอัลคูนุนหาก UNHCR พบว่าเธอเป็นผู้ลี้ภัย

รายงานโดยร่วมกับผู้สื่อข่าวอื่นๆ
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 10 January 2019 9:30am
Updated 10 January 2019 9:42am
By SBS Newsroom
Presented by Tanu Attajarusit
Source: AAP, SBS News


Share this with family and friends