Feature

คลินิกปลูกผมไทยฮิต หนุ่มออสซี่แห่รับบริการ ด้านผู้เชี่ยวชาญเตือนระวัง เสี่ยงผมร่วงตลอดชีวิต

ในขณะที่ผู้ชายชาวออสซี่มองหาคลินิกปลูกผมที่มีราคาถูกกว่าในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยหรือประเทศตุรกี แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เกิดความกังวลว่าพวกเขากำลังตกเป็นเหยื่อของผู้ให้บริการที่ไม่มีคุณภาพ และอาจลงเอยด้วยการจ่ายแพงกว่า เมื่อต้องมาแก้ไขความเสียหายในออสเตรเลีย

Two images of Tom Robb in different stages of his hair transplant that show the progress of his hair tracking

คุณ ทอม รอบ เลือกไปปลูกผมที่ต่างประเทศเพื่อประหยัดเงินหลายพันดอลลาร์ Source: Supplied


เมื่ออายุเพียง 19 ปี คุณทอม รอบ สังเกตว่าเขาเริ่มเห็นผมบางลง และเริ่มใช้ทรีตเมนต์ผมและยา แต่ไม่มีวิธีใดที่ช่วยให้ผมดกเหมือนเดิมได้ ทอมบอกกับสารดี The Feed ว่า

“ผมเคยพูดเล่นกับพ่อว่า พ่ออายุ 55 แต่ยังมีผมมากกว่าตัวผมที่อายุ 20 เสียอีก”

และจากนั้นอีกสองปีต่อมา เขาบินไปกรุงเทพฯ เพื่อค้นหาบริการคลินิกปลูกผมราคาถูก และขณะนี้เขามีผมขึ้นเต็มศีรษะแล้ว แต่ถึงแม้ว่า ทอมจะเลือกคลินิกในต่างประเทศ เพราะเรื่องราคาที่ถูกกว่า แต่กระนั้นเขาก็ยังต้องเสียเงินหลายพันดอลลาร์

คุณ ทอม เสียค่าใช้จ่ายในกระบวนการการปลูกผมทั้งหมด 11,000 ดอลลาร์ รวมที่พักและค่าเครื่องบิน เปรียบเทียบในออสเตรเลียที่เขาได้รับการเสนอราคาในการปลูกผมประมาณ 20,000 ถึง 25,000 ดอลลาร์

แม้ว่าการปลูกผมในต่างประเทศจะมีราคาถูกกว่า แต่ผู้เชี่ยวชาญในชาวออสเตรเลียบางคนมีความกังวลกับการได้รับบริการด้านนี้ในต่างประเทศ

ดร. รัสเซลล์ คนุดเซน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมเปิดเผยว่า เกือบทุกสัปดาห์เขาต้องมีนัดเพื่อแก้ไขปัญหาข้างเคียงของการปลูกผมที่ลูกค้าไปทำมาจากต่างประทศที่มีค่าใช้จ่ายถูก แต่ว่าต้องเผชิญกับผลข้างเคียง เช่น มีแผลเป็น หรือมีบริเวณที่ผมไม่ขึ้น ซึ่งมันไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น ดร. คนุดเซน อธิบายตัวอย่างกรณีของคนไข้คนหนึ่งว่า

“บริเวณที่ผมไม่ขึ้นด้านหลังศีรษะเพราะบริเวณนั้นถูกเก็บผมมากเกินไป หรือมีผมจำนวนมากที่ถูกเอาออกไปและ [ทำให้เกิด] บริเวณที่ผมไม่ขึ้นที่ศีรษะด้านหลัง และลำบากในการแก้ไขปัญหานี้”

Two men wear a black headband while another man walks beside them.
ประเทศตุรกีเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ชาวออสเตรเลียนิยมไปปลูกผม Source: Getty / Ozan Kose
ดร. คนุดเซน เป็นอดีตประธานสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ มีกังวลว่าผู้ชายบางคนที่กำลังมองหาการปลูกผมในต่างประเทศนั้น "ขาดการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน" และเชื่อในสิ่งที่พวกเขาเจอบนอินเทอร์เน็ตหมดใจ และไม่มีงบประมาณที่จะใช้จ่ายกับการรักษาที่ปลอดภัยกว่า ดร. คนุดเซน ชี้ว่า

“คนหนุ่มสาวที่ไม่มีเงินมากนัก และพวกเขาอยากให้ผมกลับมาเพราะพวกเขาคิดว่าการที่พวกเขาหัวล้านมันทำให้พวกเขาดูแก่กว่าวัยและไม่หล่อไม่สวย พวกเขาอาจจะมีปัญหาในการหาคู่เดต มันทำลายความมั่นใจในตนเอง ดังนั้นพวกเขาจึงยอมเสี่ยง”
Looksmaxxing: The dangers of face hammering and height surgery for love

Looksmaxxing: The dangers of face hammering and height surgery for love

แหล่งปลูกผมราคาถูก

คุณ ทอมเป็นหนึ่งในชาวออสเตรเลียจำนวนมาก (ส่วนมากเป็นผู้ชาย) ที่บินไปยังต่างประเทศ เช่น ตุรกี ไทย เม็กซิโก และอินเดีย ซึ่งมีคลินิกที่เสนอบริการปลูกผมราคาที่ถูกกว่าออสเตรเลียและในสหราชอาณาจักร

กระทรวงสาธารณสุขของตุรกี เคยเสนอการลดหย่อนภาษีและการคืนเงินให้ผู้รับบริการ และทำให้อุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ได้มากกว่าหนึ่งล้านคนต่อปี แต่เมื่อเปรียบเทียบกับในประเทศไทยที่มีการเสนอค่าใช้จ่ายในการปลูกผมที่ถูกกว่าและระยะทางในการเดินทางที่สั้นกว่า ทำให้ประเทศไทยเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับชาวออสเตรเลีย

คลินิกปลูกผมส่วนใหญ่ให้บริการ 2 แบบ ได้แก่ FUE (การสกัดเซลล์รากผม) โดยจะดึงผมที่ปลูกตามร่างกายออกจากด้านหลังศีรษะและปลูกไว้แทนที่ในบริเวณที่ศีรษะล้าน และ FUT (การปลูกถ่ายหน่วยรูขุมขน) ซึ่งจะมีการดึงผิวหนังออกจากด้านหลังศีรษะและรูขุมขน ก่อนที่จะนำไปปลูกไว้ในบริเวณที่ผมร่วง

A man with ginger coloured long hair and a beard is wearing a summery shirt and holds a beer in a pub smiling.
หลังจากบินไปปลูกผมที่ไทย คุณ ทอม รอบ ไม่เสียใจเลยที่ตัดสินใจเช่นนั้น Source: Supplied
กระบวนการการผ่าตัดใช้เวลาสูงสุดแปดชั่วโมงและมีการดมยาสลบ การถอนกราฟต์ การกรีด และการปลูกถ่าย โดยทั่วไปจะใช้เวลา 10 วันในการฟื้นตัว และหลังจากผ่านไป 6 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเห็นการงอกใหม่ของเส้นผม สำหรับผู้ชายบางคนอาจใช้เวลาถึงหกเดือนกว่าจะมีผมเต็มศีรษะ

มีจำนวนผู้ที่สนใจในการปลูกผมเพิ่มมากขึ้น

แม้ว่าจะไม่มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนชาวออสเตรเลียที่ไปปลูกผมในต่างประเทศ แต่ Smile Hair Clinic ในอิสตันบูล ประเทศตุรกี บอกกับ The Feed ว่าทางคลินิกให้การรักษาผู้ป่วยชาวออสเตรเลียประมาณ 15-20 รายต่อเดือน ซึ่งเพิ่มขึ้น 35 เปอร์เซ็นต์นับตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา

ส่วน นพ. ศรานนท์ ไพศาลพันธ์ ศัลยแพทย์ตกแต่งผมจาก Max Hair ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย กล่าวว่า มีชาวออสเตรเลีย โดยเฉพาะคนที่อายุ 30 -40 ปี ที่ต้องการรับบริการปลูกผมจากคลินิกของเขามากขึ้น นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นพ. ศรานนท์ เปิดเผยว่า

เรามีผู้ป่วยต่างชาติจำนวนมากที่ติดต่อขอข้อมูล จองคิว หรือขอคำปรึกษาออนไลน์ และชาวออสเตรเลียก็เป็นหนึ่งในลูกค้าสำคัญของเรา
นพ. ศรานนท์ ไพศาลพันธ์ ศัลยแพทย์ตกแต่งผมจาก Max Hair ประเทศไทย

คลินิกของ นพ. ศรานนท์ เปิดดำเนินการมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว และเขาประเมินว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เข้ารับการรักษาเป็นชาวต่างชาติ

กลับมาพร้อมกับผมที่ร่วงหล่น

นพ. ศรานนท์ ไพศาลพันธ์ กล่าวว่ามีคลินิกที่ไม่มีใบอนุญาตหลายแห่งเปิดดำเนินการในกรุงเทพฯ โดยมีบุคคลากรที่ขาดคุณสมบัติ ซึ่งอาจส่งผลให้กระบวนการรักษาไม่มีประสิทธิภาพได้ นพ. ศรานนท์ เตือนว่า

“ถ้าคุณถอน[ผมมากเกินไป] ก็อาจทำให้เกิดแผลเป็นที่ด้านหลังได้”

 “หรือถ้าคุณปลุกถ่ายรูขุมขนผิดวิธี คุณอาจมีเส้นผมที่ไม่เป็นระเบียบหรือผิดธรรมชาติ ซึ่งบ่อยครั้งเกิดจากการที่ [แพทย์] ที่ไม่ใช่มืออาชีพหรือไม่มีประสบการณ์”
A bald man with two scars is being operated on by a surgeon with a glove and a needle.
กระบวนการการผ่าตัดใช้เวลาสูงสุดแปดชั่วโมงและมีการดมยาสลบ Source: Getty / /
นอกจากได้ผลงานที่แย่แล้ว ชาวออสเตรเลียจำนวนมากยังได้รับใบเสนอราคาจากคลินิกแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แต่เมื่อมาถึงก็พบว่าพวกเขาต้องจ่ายเงินมากขึ้น นพ. ศรานนท์ แนะนำว่า

"ขอแน่ใจว่าคุณเลือกโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียง และพนักงานที่มีประสบการณ์และมีฟีดแบคดี"

จะแก้ไขกฎระเบียบที่หละหลวมอย่างไร

คลินิกในไทยไม่ใช่เพียงแห่งเดียวที่ใช้ประโยชน์จากความไม่มั่นใจของผู้ชายในเรื่องปัญหาผมร่วง

นายแพทย์ คนุดเซน ศัลยแพทย์เส้นผมของออสเตรเลีย ชี้ว่า

ประทศตุรกีก็ยังเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอีกประเทศหนึ่งสำหรับคนที่ต้องการปลูกผม เพราะว่ามีข้อจำกัดที่เข้มงวดน้อยกว่า ก่อนที่รัฐบาลจะนำกฎระเบียบใหม่มาใช้ในปี 2023

“ตุรกีอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย และก่อนที่รัฐจะนำข้อบังคับใหม่มาใช้ มันก็เหมือนทำอะไรก็ได้ที่นั่น”
นพ. คนุดเซนกล่าวว่ากฎหมายที่หละหลวมหมายความว่าคลินิกสามารถดำเนินการโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ใช่แพทย์ได้

แต่เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ที่มีการออกกฎหมายใหม่ที่เข้มงวดมากขึ้น ส่งผลให้คลินิกต้องลงทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุขของตุรกี ต้องมีศัลยแพทย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และส่งรายละเอียดของผู้ป่วยแต่ละราย รวมถึงรูปถ่าย จึงจะมีการอนุญาตให้ดำเนินการ ส่วนคลินิกใดที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับใหม่นี้ จะถูกปรับ 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ (11,600 ดอลลาร์)

“เราพบว่าตลาดซบเซาลงอย่างรวดเร็วในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา แต่ไม่ใช่เพราะกฎใหม่ แต่เป็นเพราะผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ดี ในผู้รับการรักษาจำนวนมาก ทำให้พวกเขาเสียชื่อเสียงในระดับหนึ่ง”
ดร.นิค ซวาร์ ประธานกลุ่มความสนใจเฉพาะด้านเวชศาสตร์การเดินทางแห่ง Royal Australian College of General Practitioners กล่าวว่าความเสี่ยงที่สำคัญในการเดินทางไปต่างประเทศคือการขาดการดูแลหลังทำหัตถการ

“การบริการที่ต่างจากออสเตรเลีย เพราะว่าบางครั้งผู้คนก็อยู่ได้ไม่นานหลังจากทำหัตถการ”

เขายังกล่าวว่ายังมีความเสี่ยงสูงที่จะติดไวรัสทางเลือด และการเข้าถึงประกันการเดินทางที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลในต่างประเทศเป็นเรื่องยาก

“ไม่มีกรอบกฎหมายระหว่างประเทศที่จะชี้ว่าการขึ้นศาลในประเทศที่คุณไปปลูกผมเป็นเรื่องง่าย”

 ดังนั้นสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ (International Society of Hair Restoration Surgery) จึงเปิดตัวแคมเปญเพื่อสร้างความตระหนักรู้ ที่เรียกว่า Fight The Fight เพื่อต่อสู้กับ "ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น" ของผู้ดำเนินการที่ไม่มีใบอนุญาตทำการผ่าตัดปลูกผม

ดีกว่าหัวล้าน

หนึ่งปีหลังจากการปลูกถ่าย คุณทอมเปิดเผยว่านี่เป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่เขาทำเพื่อตัวเอง แต่ก็ยังต้องใช้ยาตามใบสั่งแพทย์เพื่อจัดการกับปัญหาผมร่วงเพิ่มเติม

"ฉันเปลี่ยนจากคนที่มีหัวล้าน มามีผมและไรผม ทำให้ผมมีความมั่นใจในการออกไปข้างนอกมากขึ้น ไม่ต้องสวมหมวกหรือมันจะเป็นวันที่ลมแรงจนหมวกปลิวไหม มันทำให้ผมโล่งใจมาก”

“ผมไม่ต้องกังวลเรื่องผมของตัวเองบ่อยๆ อีกแล้ว” คุณ ทอม รอบ สรุป

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 4 October 2024 12:28pm
By Matt Gazy
Presented by Chayada Powell
Source: SBS


Share this with family and friends


Recommended for you