ธนาคาร The National Australia Bank (NAB) ได้แก้ไขการคาดการณ์สำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินสดของธนาคารกลาง ซึ่งเลื่อนจากเดือนกุมภาพันธ์เป็นพฤษภาคม 2025
ข้อมูลอัปเดตล่าสุดของ NAB ชี้ว่าแม้ว่าจะมีสัญญาณของการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อ แต่ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) มีแนวโน้มที่จะใช้แนวทางทางเศรษฐกิจอย่างระมัดระวัง เนื่องจากความเปราะบางในด้านต่างๆ เช่น การเพิ่มอัตราของค่าจ้าง ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และการใช้จ่ายของผู้บริโภค
ธนาคาร NAB ระบุว่า
“ในขณะที่ข้อมูลล่าสุดบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่มันควรจะเป็น แต่ RBA จะต้องการรักษาความมั่นคงก่อนที่จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย”
ส่วนธนาคาร 'บิ๊กโฟร์' อีกสามแห่ง Westpac, Commonwealth และ ANZ ยังคงคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่ธนาคารอื่นๆ คาดการณ์ว่าในปี 2025 จะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา RBA ได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.35 ซึ่งเป็นอัตราคงที่นานกว่า 12 เดือน
จากแถลงการณ์ของ RBA ที่แสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเงินสดไว้ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2011 เป็นต้นมา ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงสูงเกินไปที่ร้อยละ 3.5 ในไตรมาสเดือนกันยายน
'ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ'
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าจุดยืนของ NAB เน้นย้ำถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินอยู่ ในขณะที่ RBA ยังคงมุ่งมั่นในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลเชิงลึกของเว็บไซต์เปรียบเทียบทางการเงิน Canstar แซลลี่ ทินดอลล์ กล่าวว่า ช่วงเวลาของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินสดยังคงเป็น "ยังไม่มีความแน่นอน"
ไม่ว่า RBA จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกุมภาพันธ์หรือพฤษภาคม อาจดูเป็นเรื่องเล็กสำหรับโครงการใหญ่ๆ แต่มันมีความหมายสำหรับผู้ที่มีสินเชื่อบ้านผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลเชิงลึกของเว็บไซต์เปรียบเทียบทางการเงิน Canstar แซลลี่ ทินดอลล์
“การวิจัยของ Canstar ชี้ว่าเจ้าของบ้านและผู้ครอบครองบ้านโดยเฉลี่ยที่มีหนี้ 600,000 ดอลลาร์และเหลือเวลาจ่ายหนี้อีก 25 ปี อาจลงเอยด้วยการจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเกือบ 2,000 ดอลลาร์ในช่วงสองปีข้างหน้า หากมีการลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนพฤษภาคม แทนที่จะเป็นเดือนกุมภาพันธ์
“การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเครื่องเตือนใจอย่างดี เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังมีความผันผวนในระยะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธนาคารกลางที่การตดสินใจจะขึ้นอยู่กับข้อมูลในด้านต่างๆ ”
RBA ถูกกดดันให้ลดอัตราดอกเบี้ย
ในแถลงการณ์ที่เผยแพร่เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน RBA เน้นย้ำว่ายังคงมีการปรับตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีอัตราผลผลิตและการบริโภคภาคครัวเรือนลดลง เนื่องจากรายได้ประชากร(ที่แท้จริง)ลดลงในอดีตและเงื่อนไขทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ผู้ว่าการธนาคารกลาง มิเชล บูลอก ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของ "การปรับเทียบอย่างระมัดระวัง" ในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นสัญญาณว่า RBA จะไม่เร่งรีบในการลดอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าจะมีแรงกดดันให้มีการช่วยเหลือผู้กู้และภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็ตาม
อ่านเพิ่มเติม
คนไทยต้องดิ้นรนแค่ไหนในวิกฤตเศรษฐกิจออสเตรเลีย
เลขาธิการสภาสหภาพการค้าแห่งออสเตรเลีย แซลลี่ แมคมานัส กล่าวเมื่อปลายเดือนตุลาคมว่า "ชาวออสเตรเลียมีสิทธิที่จะคาดหวังว่าอัตราดอกเบี้ยควรลดลงก่อนสิ้นปีนี้" โดยอ้างอิงถึงประเทศเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ ทั่วโลกที่ได้ปรับลดอัตราแล้ว .
“ชาวออสเตรเลียแบกรับความยากลำบากทางการเงินที่มาพร้อมกับมาตรการปรับลดอัตราเงินเฟ้อมาสามปีครึ่งแล้ว”
_____________________________________________________________________________________________________________
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่