จีนเตือนนักศึกษาประเมินความเสี่ยงก่อนมาเรียนออสฯ

เสี่ยงติดโควิด-ถูกเหยียดเชื้อชาติ กระทรวงศึกษาธิการจีนเตือนนักศึกษาจีนคิดให้ดีก่อนมาเรียนต่อที่ออสฯ ท่ามกลางความสัมพันธ์ตึงเครียดระหว่างสองประเทศ ปมเสนอเวทีโลกสอบสวนที่มาไวรัสโควิด-19

budget - university

Students enter the University of New South Wales (UNSW) in Sydney. Source: AAP

ประเด็นสำคัญ

  • รัฐบาลจีนประกาศเตือนนักศึกษาของตนให้พิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนมาศึกษาต่อ หรือเดินทางกลับมาศึกษาที่ออสเตรเลีย
  • ความรุนแรงจากการเหยียดเชื้อชาติในออสเตรเลียเพิ่มสูงขึ้น จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
  • ความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียและจีนตึงเครียด กรณีออสเตรเลียเสนอต่อองค์การอนามัยโลกให้มีการสอบสวนที่มาของไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มต้นการแพร่ระบาดขึ้นที่แรกในประเทศจีน


เมื่อวานนี้ (9 มิ.ย.) รัฐบาลจีนได้ขอให้นักศึกษาที่ต้องการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ พิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะมาศึกษาในประเทศออสเตรเลีย หลังเกิดเหตุการณ์เหยียดชาติพันธุ์ที่มุ่งเป้าไปที่ชาวเอเชียเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 

“การระบาดใหญ่ของโรคปอดบวมชนิดใหม่ที่เกิดขึ้นทั่วโลกยังไม่ได้รับการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ จึงมีความเสี่ยงในการเดินทางระหว่างประเทศ และการสถานศึกษาระบบเปิด” ส่วนหนึ่งของคำเตือนของรัฐบาลจีน

“ระหว่างการระบาดใหญ่นี้ มีเหตุการณ์การเลือกปฏิบัติต่อชาวเอเชียเกิดขึ้นหลายครั้ง กระทรวงศึกษาธิการจึงขอเตือนนักศึกษาให้ประเมินความเสี่ยง และมันเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง สำหรับการศึกษาและการเดินทางกลับไปยังออสเตรเลีย”
Students attend a Japanese language class at the University of Melbourne (AAP)
Students attend class at the University of Melbourne (AAP) Source: AAP
คำเตือนจากกระทรวงศึกษาธิการของจีนนั้น ได้มีขึ้นหลังจากกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีน ได้เตือนประชาชนของตนให้หลีกเลี่ยงการเดินทางมายังออสเตรเลีย จากสถานการณ์เหยียดชาติพันธุ์ และความรุนแรงที่เกิดจากการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา

ในแถลงการณ์ดังกล่าว รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของจีนได้ย้ำว่า "ขอให้นักศึกษาในต่างประเทศประเมินความเสี่ยงให้ดี และใช้ความระมัดระวังในการเลือกเดินทางกลับมายังออสเตรเลียเพื่อศึกษาต่อ"
คำเตือนดังกล่าวเป็นครั้งที่สองของคำเตือนในลักษณะเดียวกัน ไม่กี่วันหลังจากรัฐบาลออสเตรเลียโต้แย้งคำเตือนจากกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจีน ที่แนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเดินทางมายังออสเตรเลีย เนื่องจากความรุนแรงจากการเหยียดชาติพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ชาวจีน รวมถึงชาวเอเชีย

"เราปฏิเสธคำกล่าวจากแถลงการณ์ของรัฐบาลจีน ซึ่งไม่ได้อยู่ในพื้นฐานของความเป็นจริง" วุฒิสมาชิกเบอร์มิงแฮม แถลงต่อเอเอพี เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (6 มิ.ย.)

"การปฏิเสธของเราต่อข้อกล่าวอ้างเหล่านี้ ซึ่งทำขึ้นอย่างเป็นเท็จโดยรัฐบาลจีนนั้น เป็นเรื่องที่พวกเขาทราบกันดี"
ความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียและจีนตึงเครียด หลังออสเตรเลียเสนอให้มีการพิจารณาสอบสวนระหว่างประเทศ ถึงกรณีที่มาของการระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศจีน ก่อนที่จะกลายเป็นการระบาดใหญ่ไปทั่วโลก ซึ่งรัฐบาลจีนได้ตอบโต้ ด้วยการเรียกเก็บภาษีนำเข้าข้าวบาเลย์จากออสเตรเลีย และจำกัดการนำเข้าเนื้อวัวจากแหล่งผลิตในออสเตรเลียบางแห่ง

ขณะที่ทางการจีนในกรุงปักกิ่งได้ปฏิเสธว่า นโยบายดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งกรณีไวรัสโคโรนาระหว่างจีนและออสเตรเลีย 
The University of Sydney says its research is dependent on the money international students bring in.
The University of Sydney says its research is dependent on the money international students bring in. Source: AAP
อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่า มหาวิทยาลัยในออสเตรเลียอาจสูญเสียรายได้มากถึง $16,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาอีก 4 ปีข้างหน้า หลังมาตรการจำกัดห้ามการเดินทางระหว่างประเทศ ส่งผลให้เกิดความยากลำบากกับนักศึกษาต่างชาติเป็นจำนวนมาก

จากแบบจำลองด้านการเงินโดย Universities Australia เปิดเผยว่า เพียงปีนี้ปีเดียว สถาบันอุดมศึกษาในออสเตรเลียอาจสูญเสียรายได้มากถึง $4,800 ล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ รายได้จากนักศึกษาต่างชาติคิดเป็นร้อยละ 30 ของรายได้ทั้งหมดในมหาวิทยาลัยของออสเตรเลียหลายแห่ง ขณะที่สถานศึกษาจำนวนมากต้องเผชิญกับการลดพนักงาน เพื่อชดเชยกับรายได้ที่สูญเสียไปในช่วงวิกฤตไวรัสครั้งนี้

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 10 June 2020 12:09pm
Updated 10 June 2020 12:44pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: Reuters, SBS


Share this with family and friends