"ถึงเวลาที่จะยอมรับว่าที่จริงแล้วผมเป็นเกย์"

Settlement Guide: ประเทศออสเตรเลียถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ใจกว้างมากประเทศหนึ่ง จากการสำรวจของ pew research พบว่าชาวออสเตรเลียเกือบจะ 8 ใน 10 คน คิดว่าการรักเพศเดียวกันควรจะได้รับการยอมรับในสังคม อย่างไรก็ตาม นักเคลื่อนไหวประเด็น LGBTI ยังคงเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิ์เพิ่มมากขึ้นแม้ว่าการแต่งงานกับคู่รักเพศเดียวกันจะเป็นเรื่องถูกกฎหมายตั้งแต่ปี 2017 แล้วก็ตาม

Gay conversion therapies will be made illegal in the state.

Gay conversion therapies will be made illegal in the state. Source: AAP

LGBTI เป็นคำโดยรวมที่ใช้สื่อถึง ชาวเลสเบียน (lesbian) เกย์ (gay) ผู้ที่รักทั้งสองเพศ (bisexual) ผู้หญิงและผู้ชายข้ามเพศ (transgender) และผู้ที่มีเพศสภาพกำกวม (intersex) อย่างไรก็ตามในบางวัฒนธรรมไม่ได้มีคำจำกัดความเฉพาะสำหรับผู้คนที่มีรสนิยมแบบเพศทางเลือก หรือบุคคลที่ระบุเพศสภาวะแบบอื่น นายกัสสาน แคสซิสิห์ (Ghassan Kassisieh) ผู้อำนวยการด้านกฎหมายขององค์กรความเท่าเทียมประเทศออสเตรเลียกล่าว

“เรากำลังพูดถึงคนที่มีความรักหรือมีความสนใจทางเพศกับคนที่มีเพศเดียวกันกับตน และเรากำลังพูดถึงคนที่มีเพศแบบนั้น เพราะฉะนั้นการเป็นเพศชาย เพศหญิง หรือเพศใดก็ตาม ไม่จำเป็นจะต้องสอดคล้องกับเพศสภาพที่คนอื่นรู้จักพวกเขาในตอนเกิด” นายแคสซิสิช์ กล่าว
การรักเพศเดียวกันเป็นความผิดทางอาญาในออสเตรเลียภายใต้อิทธิพลของ กฎหมายจักรวรรดิอังกฤษ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ชายผู้ใดที่มีเพศสัมพันธ์กับคนเพศเดียวกัน จะถูกพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต ซึ่งกฎหมายนี้มีใช้จนถึงปี 1924 ในขณะที่รัฐวิกตอเรียกำหนดให้การรักเพศเดียวกันมีโทษสูงสุดคือคือประหารชีวิต กฎหมายนี้ได้บังคับใช้จนถึงปี 1949

แม้ว่ารัฐต่างๆ จะเริ่มลดทอนโทษของผู้ที่รักเพศเดียวกันลง หลังจากรัฐเซาท์ออสเตรเลียได้เปลี่ยนกฎหมายนี้ในปี 1975 และรัฐแทสมาเนียเป็นรัฐสุดท้ายของออสเตรเลียที่กำหนดให้การรักเพศเดียวกันเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมายในปี 1997
LGBT rights group Stonewall defines conversion therapy as "any form of treatment or psychotherapy which aims to reduce or stop same-sex attraction
LGBTQI+ rights group Stonewall defines conversion therapy as "any form of treatment or psychotherapy which aims to reduce. Source: Getty
จากรายงานร่วมของศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชน จากมหาวิทยาลัยลาโทรบและศูนย์สุขภาพเกย์และเลสเบียนแห่งรัฐวิกตอเรีย ประมาณการว่ายังคงมีชาวออสเตรเลียที่เป็น LGBTIQ  ถูกส่งเข้ารับการบำบัด ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวดสำหรับหลายคน ร่วมไปถึงบาทหลวงอันเดร อฟามาซากา (Andre Afamasaga) ผู้ที่ใช้เวลาหลายปีที่ได้ทำลองทุกอย่างที่เขาสามารถจะทำได้เพื่อเปลี่ยนรสนิยมทางเพศของตน

“มันก็แค่มายาคติที่ว่าการเป็นเกย์คือไอ้ขี้แพ้และมีบางอย่างผิดปกติในตัวคุณ การเป็นเกย์หมายความว่าคุณคือความผิดพลาด และคุณคือสินค้ามีตำหนิและพระเจ้าจำเป็นต้องซ่อมแซมคุณ” บาทหลวงอันเดร อฟามาซากากล่าว

“ผมจำได้ สมัยที่ผมยังเด็กมาก สัก 8 ขวบได้ ผมก็รู้ตัวแล้วว่าผมเป็นเกย์ จากจุดนั้นนั่นเองที่ผมจะบอกว่า พระเจ้า ช่วยเอาความรู้สึกเหล่านั้นออกไปจากตัวผมที ผมรู้สึกเหมือนเป็นสิ่งอัปยศของสังคมและนี่เป็นการถูกแบ่งแยกที่เลวร้ายมาก เพราะแม้แต่เด็กที่เป็นเกย์จากครอบครัวที่ไม่ใช่ชาวคริสเตียนและไม่นับถือศาสนายังต้องสวดอ้อนวอน”

ข้อมูลจาก National LGBTI Health Alliance พบว่าชาว LGBTI ที่อายุยังน้อย ตั้งแต่ 16 – 27 ปี มีความเสี่ยงที่จะพยายามฆ่าตัวตายในช่วงชีวิตของพวกเขามากกว่าคู่รักต่างเพศถึง 5 เท่า
Stock photo
Source: Getty Images
ในกรณีของบาทหลวงอฟามาซากา  แม้จะเป็นคนเคร่งศาสนาและยังเป็นอดีตบาทหลวง แต่การที่เขาไม่สามารถที่หาจุดประณีประนอมระหว่างความมีคุณค่าทางศาสนากับการเป็นคนรักเพศเดียวกันของตน นั่นทำให้เขาคิดว่าเขาอาจจะบอกลาชีวิตตัวเองในวันหนึ่ง 

“หลังจาก 15 ปี ของการพยายามที่จะเป็นชายแท้ ผมรู้สึกเศร้า และผมรู้สึกดิ่งมาก ผมเพิ่งจะอายุถึง 40 ปี และผมเริ่มตระหนักว่าความพยายามทั้งหมดที่จะเป็นชายแท้ และความพยายามที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องโดยพระเจ้านั้นมันไม่ได้ส่งผลถึงความเปลี่ยนแปลงที่ผมอยากจะเห็น ผมรู้สึกเต็มไปด้วยความรู้สึกว้าเหว่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมรู้สึกมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหลายปี มันกำลังจะกลายมมาเป็นชั่วชีวิตของผม และจุดนั้นแหละที่ความคิดอยากฆ่าตัวตายเริ่มจะมาให้เห็นอย่างเด่นชัด” บาทหลวงอฟามาซากา กล่าว

“และผมคิดว่าถ้าผมไม่เปลี่ยนแปลงมัน ถ้าผมยังคงมีความคิดเช่นนี้เกี่ยวกับตัวเองและยังคงพยายามที่จะเป็นชายแท้ต่อไปโดยที่ไม่เห็นผลของการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ถ้าอย่างนั้นนี่ก็ไม่ใช่ชีวิตที่ดี ผมไม่อยากให้ตัวเองมีชีวิตแบบนี้ ตอนนี้ผมคิดว่ามันถึงเวลาที่จะยอมรับว่าที่จริงแล้วผมเป็นเกย์”

ในปี 2008 รัฐบาลนำโดยนายเควิน รัดด์ (Kevin Rudd) จากพรรคแรงงาน ได้ยกเลิกกฎหมายสหพันธรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับเลือกปฎิบัติต่อคู่รักเพศเดียวกัน เช่น ระบบเงินซูเปอร์แรนนูเอชัน ประกันสังคม เงินค่าแรง ระบบภาษี การตรวจคนเข้าเมือง การเป็นพลเมือง การดูแลผู้สูงอายุและสุขภาพ
นายกัสสาน แคสซิสิห์ (Ghassan Kassisieh) กล่าวว่าการปฎิรูปเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงยุค 80 เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นทำให้ความสัมพันธ์ของคนเพศเดียวกันในปัจจุบันเป็นเรื่องถูกต้องตามกฎหมายในออสเตรเลีย

“ให้พวกเขาได้รับสิทธิแบบเดียวกับที่คู่แต่งงานคู่อื่นๆ ควรได้รับ ให้สิทธิพวกเขาเช่นการรับบุตรบุญธรรม การรับมรดก สิทธิในการเข้าพบคู่ครองในโรงพยาบาลและการตัดสินใจจัดพิธีศพหรือการรับมรดกตกทอดจากคู่ครองของพวกเขา” นายแคสซิสิห์กล่าว
Supporters of marriage equality are seen at the Post Your Yes Vote Street Party at Taylor Square in Darlinghurst, Sydney on October 8.
Supporters of marriage equality are seen at the Post Your Yes Vote Street Party at Taylor Square in Darlinghurst, Sydney on October 8. Source: AAP
ตั้งแต่เดือนธนวาคม ปี 2017 ตามการลงประชามติทั่วประเทศ ประชาชน 61.6 % สนับสนุนการแต่งงานอย่างเท่าเทียม ทำให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถสมรสได้ตามกฎหมายในประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบันคู่รักยังสามารถรับบุตรบุญธรรมในทุกรัฐและมณฑลของออสเตรเลีย ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2018 อีกด้วย

ถ้าคุณรู้สึกมีปัญหาและต้องการคุยกับใครสักคน สามารถติดต่อที่เบอร์โทรศัพท์ด้านล่างนี้

  • Lifeline crisis support โทร 13 11 14
  • Suicide Call Back Service โทร 1300 659 467
  • 1800RESPECT โทร 1800 737 732 
  • Kids Helpline (สำหรับเยาวชนอายุระหว่าง 5 – 25 ปี) โทร 1800 55 1800
  • บริการรล่ามภาษาไทย โทร 131 450 แล้วแจ้งภาษาและบริการที่คุณต้องการ
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ and .


รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 6 March 2020 9:28am
Updated 6 March 2020 9:38am
By Amy Chien-Yu Wang
Presented by Narissara Kaewvilai

Share this with family and friends