งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการตั้งรกรากของชาวอะบอริจินในออสเตรเลียนั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นผลลัพธ์จากการอพยพย้ายถิ่นฐานของเหล่านักสำรวจทางทะเลเป็นจำนวนมาก
ผู้เชี่ยวชาญค้นพบเรื่องดังกล่าวโดยอาศัยการสร้างแบบจำลองกระแสน้ำในมหาสมุทร ซึ่งคล้ายกับแบบจำลองซึ่งใช้ในการค้นหาเครื่องบินของสายการบินมาเลียเซียแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ MH370
กระบวนการดังกล่าวถูกออกแบบให้มีการจำลองเส้นทางต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างเกาะติมอร์และเกาะโรติ รวมถึงเกาะใต้น้ำต่างๆ นอกบริเวณชายฝั่งคิมเบอร์ลีของออสเตรเลีย
“มีการคาดเดากันอย่างมากมายตลอดมา ว่าชาวอะบอริจินนั้นเดินทางมายังออสเตรเลียได้อย่างไร และหลายๆ คนก็ถกเถียงว่า พวกเขาอาจเดินทางมาถึงที่นี่โดยบังเอิญ” ศาสตราจารย์ชอน อัล์ม ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยดังกล่าวและนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยเจมส์คุก กล่าวกับเอเอพี“สิ่งที่งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นก็คือ ... มันไม่น่าจะเป็นไปได้โดยสิ้นเชิงเลย ที่คุณจะสามารถอธิบายเส้นทางตามหลักฐานที่มีอยู่เหล่านี้ ว่าเป็นการเดินทางอย่างบังเอิญ”
ภาพแสดงให้เห็นการเรียงตัวของเกาะต่างๆ ซึ่งขณะนี้จมอยู่ใต้น้ำ ระหว่างออสเตรเลียกับเกาะติมอร์และเกาะโรติ เส้นสีดำคือแนวชายฝั่งปัจจุบัน (ภาพ:ARCCE for ABH via AAP) Source: ARCCE for ABH via AAP
“มันจะต้องมีเป้าหมาย มันจะต้องมีการประสานงานกัน และจะต้องมีคนเป็นจำนวนมาก จึงจะอธิบายรูปแบบตามที่เราเห็นได้”
วารสาร The Quarternary Science Review ได้ตีพิมพ์งานวิจัยดังกล่าว ซึ่งคาดคะเนว่าการอพยพย้ายถิ่นฐานข้ามสะพานเชื่อมโดยอาศัยเกาะต่างๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลียนั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 50,000 ถึง 65,000 ปีที่แล้ว
ศาสตราจารย์อัล์มกล่าวว่า ระดับท้องทะเลนั้นอยู่ต่ำลงไป 75 เมตร และเกาะต่างๆ นั้นก็สามารถมองเห็นได้จากหลายๆ บริเวณของติมอร์และเกาะโรติ
เส้นทางนับร้อยๆ เส้นทางในแบบจำลองนั้น อาจใช้เวลาเดินทางระหว่างสี่ถึงเจ็ดวัน และอาจกินระยะทางถึง 150 กิโลเมตรได้
“หากคุณมีเทคโนโลยีที่สามารถไปถึงจุดนั้นได้ มันก็จะง่ายมากที่จะเดินทางสู่ออสเตรเลีย” ศาสตราจารย์อัล์มกล่าว
“ในเรื่องนี้ เรากำลังพูดถึงเมื่อ 60,000 ที่แล้ว ซึ่งก็เป็นช่วงหนึ่งของกาลเวลาที่แสดงให้เห็นว่า ชาวออสเตรเลียกลุ่มแรกนั้นมีความสลับซับซ้อน เมื่อครั้งที่พวกเขาเห็นออสเตรเลียเป็นหนแรก”
งานวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรการวิจัยทางวิทยาศาตร์และอุตสาหกรรมแห่งคอมมอนเวลธ์ (CSIRO) ซึ่งร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ดังกล่าว ยังได้ใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมเพื่อแสดงให้เห็นว่าน่าจะมีผู้คนจำนวนหลายร้อยคนทำการเดินทางดังกล่าว ไม่ใช่เพียงแค่ไม่กี่คน
“เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะว่ามันเป็นช่วงระยะแรกของการกระจายตัวของมนุษย์ยุคปัจจุบันไปยังทั่วโลก” ศาสตราจารย์อัล์มกล่าว
“เรากำลังพูดถึงเรือเป็นจำนวนหลายลำ ไม่ใช่แค่ลำเดียวที่หลงออกนอกเส้นทาง ซึ่งมันก็สะท้อนให้เห็นถึงประชากรในบริเวณภาคพื้นทวีปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
เรื่องราวน่าสนใจที่เกี่ยวข้องจากเอสบีเอสไทย
"เจสสิกา มัลบอย" นำวัฒนธรรมพื้นเมืองออสเตรเลียสู่ยูโรวิชั่น