ประเด็นสำคัญ
- เมลเบิร์นเป็นเพียงหนึ่งในสองเมืองของโลกที่น้ำประปามาจากอ่างเก็บน้ำที่ดูแลอย่างเข้มงวด
- น้ำประปาในเมลเบิร์นนั้นมีสารฟลูออไรด์ ช่วยลดฟันผุในเด็ก
- ค่าเฉลี่ยชาวออสซี่หมดเงินกับการซื้อน้ำบรรจุขวด 580 ดอลลาร์ฯ คิดเป็น 504 ลิตร/ปี
น้ำประปาเมลเบิร์นมาจากไหน
เมลเบิร์นเป็นเพียงหนึ่งในสองเมืองใหญ่ของโลกที่น้ำประปาราว 65% มาจากอ่างเก็บน้ำที่ถูกดูแลอย่างเข้มงวด โดยอาศัยกระบวนการการฆ่าเชื้อเล็กน้อยเท่านั้นก็สามารถส่งออกเพื่อการบริโภคได้แล้ว ที่น่าสนใจกว่านั้นระบบอ่างเก็บน้ำนี้ถูกวางไว้เมื่อปี ช่วงต้นศตวรรษ 18 หรือราว100 ปีมาแล้ว ซึ่งช่วยให้การกักเก็บน้ำและการบริหารจัดการน้ำนั้นมีประสิทธิภาพสุงสุด ไร้การปนเปื้อน โดยน้ำประปาที่ใช้จะมาจากอ่างเก็บน้ำหลักๆ 10 แห่ง
โดยอ่างเก็บน้ำของเมลเบิร์นมีสองแบบใหญ่ๆ คือ แบบปิด ห้ามมีกิจกรรมของมนุษย์เลย ตั้งอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของเมือง โดยส่วนมากอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติและป่าของรัฐที่มีความเข้มงวดสูงสุดในเข้าไปของสาธารณะ

Source: Getty / Getty Images
ระบุว่า สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องกรองให้น้ำดื่มของชาวเมลเบิร์นคือผืนป่าดั้งเดิมจากเทือกเขายารา ( Yarra Ranges) ดิน รากไม้ที่อุ้มน้ำเอาไว้ แล้วค่อยๆ ปล่อยน้ำผ่านแม่น้ำที่ไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำซึ่งได้รับการป้องกันอย่างดีจากกิจกรรมของมนุษย์ ดังนั้นการมีตัวกรองโดยธรรมชาติ ยิ่งช่วยให้ลดการใช้สารเคมีในการปรับปรุงน้ำ และเมื่อใช้สารเคมี รวมถึงกระบวนการปรับปรุงน้ำที่น้อยลง น้ำดื่มของที่นี่ก็มีต้นทุนลดลง เข้าถึงได้มากขึ้น

Source: Getty / Getty Images/vitapix
น้ำประปาในรัฐวิคเตอเรีย ของออสเตรเลียนั้นจะถูกบังคับใช้ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในน้ำดื่ม ( ) โดยในทุกปีจะมีการตรวจน้ำตัวอย่างจาก 160 แหล่ง เพื่อควบคุมให้คุณภาพน้ำยังคงดีอยู่ โดยจะวัดค่าหลักๆ ดังนี้
ความใส ( clarity ) สี ค่าความเป็นด่าง (pH) แร่ธาตุและสารธรรมชาติเช่นเหล็กและแมงกานีส แบคทีเรีย เช่น อีโคไลน์ ระดับสารคลอรีนและฟลูออไรด์ การปนเปื้อน เช่น น้ำมัน และ พยาธิ
และเมื่อปลายปี 2022 นอกจากนี้ในปี 2019 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่ครั้งนั้นกรรมการทั้ง 10 คนจะทำการชิมน้ำประปาจากทั่วโลก และลงคะแนนในเรื่องรสชาติ ลักษณะความใส กลิ่น ความรู้สึกในปาก และรสชาติที่ค้างอยู่ในคอ
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

เมลเบิร์นติดอันดับ 10 เมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกปีนี้
น้ำประปาเมลเบิร์นมีสารฟลูออไรด์ ช่วยลดฟันผุ
น้ำประปาในเมลเบิร์นนั้นมีสารฟลูออไรด์ประกอบอยู่ตั้งแต่ปี 1977 ขณะที่เมืองอื่นๆ ในออสเตรเลียเริ่มมีการผสมสารนี้ราว 50 ปีก่อน โดยที่ฟลูออไรด์ไม่ทำให้รสชาติหรือกลิ่นของน้ำเปลี่ยนไป
การผสมสารฟลูออไรด์ในน้ำประปานั้นมีจุดประสงค์หลักคือการช่วยป้องกันฟันผุ โดยในรัฐวิคเตอเรียสารฟลูออไรด์ในน้ำมีปริมาณอยู่ที่ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ 1ส่วนต่อล้านส่วน (part per million; ppm คือ น้ำหนักตัวละลายในหนึ่งล้านส่วนน้ำหนักของสารละลาย) ซึ่งเป็นระดับที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) หากเทียบกับยาสีฟันเด็กที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์อยู่ที่ 400-500 ppm และยาสีฟันทั่วไปอยู่ที่ 1,000 ppm

จุดเติมน้ำอัตโนมัติบริเวณจตุรัส Federation นครเมลเบิร์น รัฐวิคเตอเรีย
ขณะที่เด็กอายุ 12 และ 13 ปี ที่เคยอาศัยในเขตพื้นที่ที่มีน้ำผสมฟลูออไรด์เกินครึ่งชีวิต จะมีปัญหาฟันผุในฟันแท้ น้อยกว่าเด็กที่อยู่อาศัยอยู่นอกเขตถึงร้อยละ 38
อย่างไรก็ดี น้ำที่ผสมฟูลออไรด์นั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อเด็กเท่านั้น มีงานวิจัยอีกชุดซึ่งรวบรวมข้อมูลสุขภาพช่องปากระดับชาติปี 2004-2006 จากผู้ใหญ่ 5,505 คนทั่วออสเตรเลีย พบอัตราฟันผุในผู้ใหญ่ที่ดื่มน้ำที่มีสารฟลูออไรด์ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญอีกด้วย
น้ำดีขนาดนี้ แต่ผู้ปริโภคจำนวนหนึ่งยังเลือกซื้อน้ำบรรจุขวด
ในรายงานของ ระบุว่า โดยค่าเฉลี่ยแล้วชาวออสเตรเลียหมดเงินไปกับการซิ้อน้ำดื่มบรรจุขวดราว 580 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 504 ลิตรต่อปี สูงเป็นอันดับ2 ของโลก รองจากสิงคโปร์ ขณะที่ออสเตรเลียยังเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของตลาดน้ำดื่มอันดับ 10 ของโลกเช่นกัน
คำถามที่หลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้คงสงสัยว่า ทำไมคนออสซี่(รวมถึงคนที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลีย) ถึงยังเลือกซื้อน้ำดื่ม คำตอบที่ได้อ้างอิงจาก Australian Beverages Council ก็คือ “ความสะดวก”
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

น้ำขวดออสเตรเลียแพงที่สุดในโลก แต่ทำไมผู้คนที่นี่จึงไม่หยุดซื้อ
จากของหน่วยงานด้านการให้บริการน้ำดื่ม (Services Association of Australia - WSAA) พบว่า ถึงแม้ชาวออสซี่ราว 60 % ดื่มน้ำจากก็อก แต่คนที่อายุน้อยกว่า 40 ปี กลับเลือกที่จะซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดมากกว่า ทั้งยังพบว่า กลุ่มผู้หญิงคือสัดส่วนใหญ่ เหตุเพราะอุตสาหกรรมน้ำดื่มมักทำการตลาดเจาะไปยังกลุ่มผู้หญิงที่สนใจเรื่องสุขภาพ รวมทั้งคำแนะนำด้านสุขภาพที่แพร่หลายที่ระบุว่าผู้หญิงควรดื่มน้ำให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ตลอดทั้งวัน
ทรายนักเรียนไทยในเมลเบิร์น บอกกับเอสบีเอสไทยว่า เธอเลือกที่จะซื้อน้ำบรรจุขวดดื่มมากกว่าที่จะดื่มน้ำประปาจากก็อก เพราะเพื่อนเธอที่ทำงานโรงแรมบอกว่า จริงๆ แล้วน้ำจากก็อกน้ำไม่ได้สะอาดจริงๆ ทว่าหากต้องใช้เพื่อการอุปโภคอื่นๆ เธอก็ยังใช้น้ำประปา
ทรายบอกกับเราอีกว่า เธอเสียค่าน้ำดื่มตกอยู่ที่ 24 ดอลลาร์ออสเตรเลียต่อสัปดาห์
ขณะที่เจน นักเรียนไทยอีกคน กล่าวว่าเอสบีเอสไทยว่า เธอใช้น้ำประปาทั้งดื่ม และอุปโภคอื่นๆ ไม่ได้ซื้อน้ำบรรจุขวดเลย เพราะเห็นคนทั่วไปก็ใช้ดื่มกันปกติ เลยไม่มองว่าน้ำจะไม่สะอาด

กรณ์วิภา แลนด์ เจ้าของร้าน เอเชีย ยูนีค ใน พาราเมาท์ ฟู๊ดคอร์ท Credit: Parisuth Sodsai
ด้านฝั่งผู้ประกอบการร้านอาหาร เอเชีย ยูนีค ใน พาราเมาท์ ฟู๊ดคอร์ท กรณ์วิภา แลนด์ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวเอสบีเอสไทยว่า ปกติที่ร้านเธอใช้น้ำประปาในการประกอบอาหารและเสิร์ฟให้ลูกค้าเป็นปกติอยู่แล้ว เพราะเชื่อมั่นในความสะอาด และไม่ต้องเสียเงินซื้อน้ำบรรจุขวด
นอกจากใช้เป็นปกติในร้าน กรณ์วิภายังบอกกับเราด้วยว่า ที่บ้านเธอก็ใช้น้ำประปาในทุกกิจกรรมทั้งดื่ม ทั้งประกอบอาหาร ซักผ้า
มันก็ปกติ ไปเที่ยวต่างประเทศเราก็ดื่มน้ำก็อกได้ นอกจากเมืองไทย หรือว่าในโซนเอเชีย ถ้าไปฝั่งยุโรป เมลเบิร์น ซิดนีย์ เราก็ดื่มน้ำก็อก
คุณเหน่ง คนไทยซี่งย้ายมาออสเตรเลียเกือบ 30 ปี กล่าวว่ากับเราว่า ตอนย้ายมาใหม่ๆ เธอยังไม่รู้ว่าประเทศนี้พัฒนาไปทางไหนบ้าง หลังจากอยู่มาสักพัก เรารู้สึกเซอร์ไพรส์ที่น้ำประปาของที่นี่สามารถใช้กิน ดื่ม ทำอาหารได้

ลูกค้าในร้านอาหารที่ออสเตรเลีย มักนิยมดื่มน้ำประปาที่ทางร้านให้บริการฟรี
เธอยังบอกด้วยว่า ถ้าบ้านเราเป็นแบบนี้คงจะดีมากๆ
"เรามาจากครอบครัวที่อัตคัตเรื่องน้ำมาก สมัยก่อนต้องซื้อน้ำประปามาใช้ชั่วโมงละ 10 บาท และไหลช้ามาก"
ตามข้อมูลของรัฐวิคเตอเรียระบุว่าในปี 2020 – 2021 อัตราการใช้น้ำทั้งอุปโภคและบริโภคต่อคนต่อวัน ตกอยู่ที่ 164 ลิตร เพิ่มขึ้น 5 ลิตร จากสถิติปี 2020 – 2021 ซึ่งทางรัฐบาลรัฐวิคเตอเรียตั้งเป้าให้การใช้น้ำลดอยู่ที่ 150 ลิตร/คน/วัน
ขณะเดียวกันทางรัฐบาลกลางได้ตั้งเป้าที่จะแบนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ภายในปี 2025
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ไม่เกินคริสต์มาส เงินเหรียญออสเตรเลียจะมีพระบรมรูปกษัตริย์ ชาร์ลส์ อยู่บนเหรียญ