ผู้หญิงใน NSW ที่รับบริการไอวีเอฟจะได้รับเงินช่วยเหลือ

จะมีการจ่ายเงินช่วยค่ารักษาให้สำหรับผู้หญิงที่ใช้บริการทำเด็กหลอดแก้วหรือการรักษาภาวะมีบุตรยาก ภายใต้โครงการช่วยเหลือใหม่ของรัฐบาลนิวเซาท์เวลส์

ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2023 ผู้หญิงในรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่รับบริการไอวีเอฟหรือรักษาภาวะมีบุตรยาก จะได้เงินค่ารักษาคืน 2,000 ดอลลาร์

ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2023 ผู้หญิงในรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่รับบริการไอวีเอฟหรือรักษาภาวะมีบุตรยาก จะได้เงินค่ารักษาคืน 2,000 ดอลลาร์ Source: Shutterstock

ผู้หญิงในรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่รับบริการไอวีเอฟ (IVF หรือการทำเด็กหลอดแก้ว) หรือรับการรักษาภาวะมีบุตรยาก จะได้รับเงินช่วยค่ารักษา สูงสุด 2,000 ดอลลาร์ภายใต้โครงการช่วยเหลือใหม่ของรัฐบาลรัฐนิวเซาท์เวลส์

เงินทุนที่จัดไว้ในงบประมาณปี 2022/23 จะช่วยเหลือผู้หญิงราว12,000 คนที่ใช้บริการจากคลินิกเอกชนด้านการเจริญพันธุ์ นายแมตต์ คีน รัฐมนตรีคลังของนิวเซาท์เวลส์ ระบุ

ผู้หญิงอีก 6,180 คนจะได้รับการเข้าถึงวิธีรักษาแบบปฏิสนธิภายนอกร่างกาย หรือการทำเด็กหลอดแก้ว หรือไอวีเอฟ (IVF) จากคลินิกที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ภายใต้โครงการด้วยงบประมาณ 80 ล้านดอลลาร์

“เราทราบดีว่าค่าบริการสำหรับการรักษาเหล่านี้อาจมีราคาแพงมากจนผู้คนไม่อาจเข้าถึงได้” นายคีน กล่าวในคำแถลงเมื่อวันอาทิตย์ (29 พ.ค.)

"ไม่มีใครควรต้องเผชิญกับการเลือกที่เป็นไปไม่ได้ ระหว่างการดูแลงบประมาณของครอบครัว กับการเริ่มต้นสร้างครอบครัว"

การทำเด็กหลอดแก้วในหนึ่งรอบการปฏิสนธิอาจทำให้พ่อแม่แต่ละคู่ที่ใช้บริการต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึง 10,000 ดอลลาร์

Adora Fertility ซึ่งรับบัลค์ บิล (Bulk Billing หรือการเรียกเก็บเงินจากรัฐบาลสำหรับผู้ที่ถือบัตรเมดิแคร์) สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับไอวีเอฟนั้น สามารถทำให้ค่าบริการลดลงเหลือราว 1,500 ดอลลาร์

"จากการประกาศในวันนี้ ผู้รับบริการของ Adora Fertility อาจไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเองใดๆ เลยสำหรับการรักษาภาวะมีบุตรยาก" นายพอล แอตคินสัน ผู้อำนวยการด้านการแพทย์แห่งชาติของ Adora กล่าว

"ค่าใช้จ่ายเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับคู่ครองในการเข้าถึงการรักษาภาวะมีบุตรยาก เราเชื่อว่าคู่ครองชาวออสเตรเลียทุกคนควรสามารถเข้าถึงการรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีคุณภาพสูงได้"

นอกจากนี้ โครงการด้วยงบประมาณ 80 ล้านดอลลาร์นี้ จะขยายการให้เงินค่ารักษาคืนสำหรับการทดสอบภาวะเจริญพันธุ์ก่อนทำเด็กหลอดแก้ว การเพิ่มจำนวนไข่ที่แช่แข็ง และให้ลางานได้ 5 วันโดยได้รับค่าจ้างเพื่อไปการรับการรักษาภาวะเจริญพันธุ์ สำหรับครู พยาบาล และข้าราชการอื่นๆ

โครงการให้เงินค่ารักษาคืนสูงสุด 2,000 ดอลลาร์จะเริ่มขึ้นในวันที่ 1 มกราคม แต่ผู้หญิงที่รับการรักษาที่มีสิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ก็สามารถยื่นขอรับเงินค่ารักษาคืนได้เช่นกัน


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

คุณแม่คนไทยเปิดใจคุยเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตร


Share
Published 31 May 2022 1:07pm
Updated 31 May 2022 2:13pm
By SBS News
Presented by Parisuth Sodsai
Source: AAP, SBS

Share this with family and friends