ประเด็นสำคัญ
- ธนาคารสำรองแห่งออสเตรเลีย (RBA) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานอีกครั้งเป็นรอบที่ 10 ติดต่อกัน เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ
- ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจระบุว่า การเพิ่มอัตราจัดเก็บภาษีอาจช่วยควบคุมอุปสงค์และลดอัตราเงินเฟ้อได้ แต่เป็นไปได้ยากที่จะเกิดขึ้น
- ผู้ว่าการธนาคารสำรอง ฯ และรัฐมนตรีการคลังเชื่อว่า ภาวะเงินเฟ้ออาจถึงจุดสูงสุดแล้ว
ผู้ถือสินเชื่อกู้ยืมเพื่อซื้อที่พักอาศัยต้องเผชิญกับความเจ็บปวดในการชำระค่างวดมากขึ้น หลังธนาคารสำรองแห่งออสเตรเลีย (RBA) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานเป็นครั้งที่ 10 ติดต่อกัน ขณะที่กำลังต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง
ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนเห็นด้วยกับธนาคารสำรอง ฯ ในเรื่องความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อ พวกเขากล่าวว่า รัฐบาลสามารถทำอะไรได้มากกว่านี้เพื่อช่วยเหลือ ซึ่งรวมถึงการตัดสินใจอย่างการเพิ่มอัตราจัดเก็บภาษีซึ่งไม่เป็นที่นิยมและไม่น่าเป็นไปได้
แต่ถึงแม้จะไม่มีสิ่งนี้ ก็มีสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อได้ถึงจุดสูงสุดแล้ว และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจถูกหยุดลงในไม่ช้า
ยุทธศาสตร์ขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารสำรอง ฯ ได้ผลหรือไม่
กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อของออสเตรเลียในระดับสูง ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 7.8 สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยที่ชี้ว่า
แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ แต่ธนาคารสำรอง ฯ ยังคงยืนยันว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นมีความจำเป็น เพื่อควบคุมอุปสงค์ (ความต้องการ) และลดภาวะเงินเฟ้อลงมาเพื่อให้นำกลับสู่ระยะเป้าหมายที่ร้อยละ 2-3 ได้ โดยแถลงการณ์นโยบายการเงินเดือนกุมภาพันธ์ของธนาคารสำรอง ฯ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงมาถึงจุดสูงสุดของระยะเป้าหมายภายในกลางปี ค.ศ.2025
การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานติดต่อกันถึง 10 ครั้ง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในปัจจุบันเพิ่มขึ้นจากอัตราต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 0.1 เป็นร้อยละ 3.6 แต่ถึงแม้ว่าสิ่งนี้จะสร้างความเจ็บปวดให้กับการจ่ายค่างวดของผู้ถือสินเชื่อกู้ยืมเพื่อที่พักอาศัย เชน โอลิเวอร์ (Shane Oliver) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก AMP Capital กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวดูเหมือนว่าจะได้ผล
เขากล่าวว่า สิ่งนี้ถูกเน้นย้ำโดยอัตราความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่หล่นร่วง ตลาดที่พักอาศัยที่เย็นตัวลง และ
ในขณะที่สิ่งเหล่านี้เป็นชุดข้อมูลที่ “เปลี่ยนแปลงได้ง่าย” แต่ก็ยังมี “สัญญาณเบื้องต้น” บางอย่างจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อรายเดือนที่ได้เผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยเฉพาะการเติบโตที่ลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ของตกแต่งบ้าน และเสื้อผ้า
“สำหรับผม สิ่งเหล่านี้ชี้ว่านโยบายของธนาคารสำรอง ฯ กำลังเริ่มได้ผล ในขณะเดียวกัน เราได้พบว่าปัญหาในห่วงโซ่อุปทานระดับโลกกำลังลดลง และค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าที่ลดลง ทั้งสองสิ่งนี้ควรที่จะช่วยปรับปรุงในด้านอุปทานของระบบเศรษฐกิจ” คุณโอลิเวอร์ จาก AMP Capital กล่าว
จะทำอะไรได้อีกบ้างเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
คุณโอลิเวอร์ กล่าวว่า รัฐบาลสหพันธรัฐสามารถทำอะไรได้มากกว่านี้เพื่อลดอุปสงค์ (ความต้องการ) และรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ แต่แนวทางนี้เป็นไปได้ยากที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ได้รับความนิยม
เขากล่าวว่า ทางเลือกหนึ่งคือการเสนอการจัดเก็บภาษีที่จะ "กระจายภาระให้เท่าเทียมกันมากขึ้นทั่วทั้งชุมชน" แทนที่จะพยายามชะลอการใช้จ่ายภาคครัวเรือนด้วยค่างวดสินเชื้อกู้ยืมเพื่อที่พักอาศัยผ่านอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ส่วนอีกทางเลือกหนึ่งก็คือ รัฐบาลสามารถตัดลดการใช้จ่ายของรัฐลงทั่วทั้งโครงสร้าง
“ไม่ว่าคุณ ภาคธุรกิจ หรือรัฐบาลจะใช้จ่าย มันก็ยังคงเป็นอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจ ทฤษฎีก็คือ หากรัฐบาลลดอุปสงค์ของรัฐลง ... นั่นจะสามารถลดแรงกดดันในระบบเศรษฐกิจลงได้” คุณโอลิเวอร์ กล่าว
อัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียได้เพิ่มสูงขึ้นในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา Credit: SBS News
“รัฐบาลสามารถริเริ่มมาตรการที่มุ่งเป้าไปที่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับค่าครองชีพจากอัตราเงินเฟ้อ เช่น การช่วยเหลือราคาพลังงานหรือค่าเช่า” รศ.เซียพลิอัส กล่าว
“สิ่งเหล่านั้นจะช่วยได้ แต่มันจะไม่ชดเชยความจำเป็นในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแม้แรงกดดันด้านค่าครองชีพจะผ่อนคลายลง อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงเกินไป”
นอกจากนี้ คุณโอลิเวอร์ยังต้องการให้ธนาคารสำรองฯ หยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยชั่วคราวเพื่อประเมินผลกระทบที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องมีต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างครอบคลุม และนี่คือสิ่งที่บางคนบอกว่าเราอาจจะได้เห็นในเร็ว ๆ นี้
ธนาคารสำรอง ฯ มีแผนจะหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยไหม
ในแถลงการณ์ที่มาพร้อมกับการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (7 มี.ค.) ฟิลิป โลว์ (Philip Lowe) ผู้ว่าการธนาคารสำรอง ฯ ได้ส่งสัญญาณถึงการเคลื่อนไหวเพิ่มเติมเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ แต่ได้ปรับถ้อยคำของเขาเล็กน้อย
“คณะกรรมการหวังว่า การรัดกุมนโยบายการเงินให้มากขึ้นจะจำเป็นต่อการทำให้แน่ใจว่าภาวะเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมาย และช่วงเวลาที่ภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น” คุณโลว์ กล่าว
แมตต์ ซิมป์สัน (Matt Simpson) นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสจาก City Index กล่าวว่า สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจากการใช้ภาษาเมื่อเดือนก่อน เมื่อคุณโลว์กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะจำเป็นในช่วงอีก 2-3 เดือนข้างหน้า และอาจเป็นสัญญาณว่าการสิ้นสุดวงจรของการรัดกุมมาตรการนั้นกำลังใกล้เข้ามาแล้ว
“แน่นอนว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ครั้งสุดท้ายนั้นยังห่างไกลจากความแน่นอน ณ จุดนี้ แต่ประเด็นสำคัญสำหรับผมก็คือการที่ RBA ได้ลบประโยคสำคัญๆ ในแนวทางที่ทำให้ดอกเบี้ยสูง ออกไปจากแถลงการณ์เดือนกุมภาพันธ์” คุณซิมป์สัน กล่าว
แผนภูมิเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยคงที่ (fixed rate) แลtอัตราดอกเบี้ยผันแปร (variable rate) เมื่อเวลาผ่านไป Credit: SBS News
นอกจากนี้ ผู้ว่าการธนาคารสำรอง ฯ ยังกล่าวด้วยว่า อัตราเงินเฟ้อน่าจะถึงจุดสูงสุดแล้ว ซึ่งชี้ให้เห็นโดยดัชนีราคาผู้บริโภครายเดือน (CPI) ซึ่งเติบโตขึ้นร้อยละ 7.4 ในช่วง 12 เดือนจนถึงเดือนมกราคม
จิม ชาลเมอส์ (Jim Chalmers) รัฐมนตรีการคลังออสเตรเลีย เห็นพ้องว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะผ่านจุดสูงสุดแล้ว และกล่าวว่ารัฐบาลจะรับผิดชอบในส่วนที่เงินเฟ้อสามารถควบคุมได้
“ชาวออสเตรเลียเข้าใจว่าภาวะเงินเฟ้อจำนวนมากนี้กำลังเข้ามาถึงเราจากรอบโลก และพวกเขาเข้าใจว่าห่วงโซ่อุปทานที่ชำรุดในออสเตรเลียได้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานี้เช่นกัน” คุณชาลเมอส์ กล่าว
“และอย่างที่เราเคยบอกไปก่อนหน้านี้ ยุทธศาสตร์ 3 จุดของเราเป็นเรื่องของการเยียวยาค่าครองชีพ ซ่อมแซมห่วงโซ่อุปทาน และการจำกัดงบประมาณ”
มีรายงานเพิ่มเติมจากเอเอพี
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
แคนาดาแบนต่างชาติซื้อบ้าน หวังแก้ปัญหาบ้านราคาแพง ออสเตรเลียควรทำตามหรือไม่?