3 หนังผีไทยได้รับเลือกฉายในเทศกาล ‘Spotlight on Thai Horror’ ในออสเตรเลีย

ACMI (Australian Centre for the Moving Image) หรือ พิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลียได้จัดโปรแกรม ‘Spotlight on Thai Horror’ และทำการฉายภาพยนตร์แนวสยองขวัญของไทย 3 เรื่อง เพื่อเปิดตัวต้อนรับฮาโลวีนในช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้ที่ออสเตรเลีย

Nang Nak Tai Entertainment.jpeg

ภาพยนตร์เรื่อง “นางนาก” ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ไทยที่ฉายในโปรแกรม ‘Spotlight on Thai Horror’ ของพิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลีย ACMI Credit: Supplied/ACMI


“หนังผีของไทยไม่เพียงแต่เป็นภาพยนต์ที่มอบความบันเทิง แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย”

นี่เป็นประโยคชวนคิดตาม จากรายงานจากนิตยสารศิลปวัฒนธรรมฉบับ เดือน เมษายน 2566 โดยอ้างอิงมาจากการเสวนาหัวข้อ“ความสำคัญของหนังผีในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย” ณ หอประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 30 31 มีนาคม 2566 (2023)

จากงานเสวนาดังกล่าว โดย ผศ. ดร. สุกัญญา สมไพบูลย์ รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่าระหว่างปี พ.ศ. 2540-2547 ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของภาพยนตร์ไทย เนื่องจากในปี 2542 ภาพยนตร์เรื่อง “นางนาก” กำกับโดยนนทรีย์ นิมิบุตร ประสบความสำเร็จทั้งในและนอกประเทศ ทำให้ภาพยนตร์ผีไทยเริ่มเป็นที่สนใจในแวดวงของเทศกาลหนัง กลุ่มของคนดูหนังระดับนานาชาติ

Nang Nak Tai Entertainment.jpeg
ภาพยนตร์เรื่อง “นางนาก” ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ไทยที่ฉายในโปรแกรม ‘Spotlight on Thai Horror’ ของพิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลีย ACMI Credit: Supplied/ACMI

โดยจุดเด่นของเรื่องนางนากคือเป็นเรื่องที่เต็มไปด้วยความสมจริงโดยการศึกษาบริบทสังคมขณะนั้น เช่น การแต่งตัว ทรงผม คำพูด ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ช่วยหนุนให้เรื่องนางนากประสบความสำเร็จอย่างมาก

จนกระทั่งต่อมาได้มีการพัฒนาพล็อตของเรื่องอื่นๆ ให้ร่วมสมัย โดยที่ “ผี” สามารถอยู่ในบริบทของเมืองและใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมมาเป็นจุดดำเนินเรื่อง ซึ่งหนังผีรูปแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจนอย่างมากในหนังชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ ที่สร้างปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ให้กับวงการภาพยนตร์ผีไทยอีกครั้งหนึ่ง

เผยว่านอกจากตลาดซีรีย์ Y ที่เป็นที่นิยมแล้ว ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดเอเชีย เช่นในประเทศใต้หวันมีการตอบรับหนังผีไทยดีมากไม่ว่าจะเป็นเรื่อง นางนาก ไปจนถึง ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ, แฝด, ลัดดาแลนด์, พี่มากพระโขนง และร่างทรง ต่างก็ทำรายได้สูงจากการเข้าฉายในไต้หวัน

จากผลสำเร็จนี้ทำให้ สคต. มีการต่อยอดในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสินค้าและบริการจากไทยซึ่งเป็นการส่งเสริมและใช้ประโยชน์จากซอฟต์พาวเวอร์ ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง

'หนังผี' ซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่ออสเตรเลีย

หรือ พิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลีย ได้จัดโปรแกรม ‘Spotlight on Thai Horror’ ได้คัดเลือกหนังผีไทยที่ทำเงินมาแล้วทั่วโลก 3 เรื่องคือ นางนาก ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ และ เพื่อน..ที่ระลึก มาฉายในการเปิดตัวต้อนรับฮาโลวีนในต้นเดือนตุลาคมนี้ที่ออสเตรเลีย

ACMI poster 2.jpeg
โปรแกรม ‘Spotlight on Thai Horror’ ของพิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลีย หรือ ACMI Credit: Supplied/Chayada Powell

คุณ ลอรี เฟลตเชอร์ จากทีมคัดเลือกโปรแกรมภาพยนต์ของ ACMI เปิดเผยกับกับเอสบีเอสไทยว่าปัจจุบันผู้ชมเปิดรับมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับชมภาพยนต์ที่มาจากต่างภาษาและวัฒนธรรม และสาเหตุที่ภาพยนตร์สยองขวัญจากประเทศไทยสามารถเข้าไปนั่งในใจคนดูในต่างประเทศได้ก็เพราะว่าภาพยนตร์สยองขวัญไทยนำเสนอ มุมมองและแนวคิดใหม่ๆ แก่ผู้ชม คุณเฟลตเชอร์ กล่าวว่า

“เช่นเรื่องชัตเตอร์ ก็มีการใช้กล้องและการถ่ายภาพ ตลอดจนเรื่องราวผีที่มีลักษณะเฉพาะ (และมีเรื่องราวที่คาดไม่ถึง) ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่และไม่เหมือนใครในขณะนั้นและสามารถดึงดูดผู้ชมได้เป็นจำนวนมาก จนทำให้ฮอลลีวูดพยายามจะเลียนแบบการนำเสนอดังกล่าว”

คุณเฟลตเชอร์ บอกว่าเทรนด์ในปัจจุบัน ผู้ชมจะมองหาเรื่องราวและภาพยนตร์ที่มีความประณีต สมจริง และมีความพินิจพิเคราะห์มากขึ้น เช่น ภาพยนตร์เรื่อง ร่างทรง The Medium ซึ่งมีการถ่ายทำโดยการเล่าเรื่องจากการที่นักแสดงถ่ายทอดเรื่องราวจากวิดีโอซึ่งมีต้นตำรับมาจากภาพยนต์เรื่องดัง The Blair Witch Project
อย่างภาพยนต์เรื่องร่างทรงที่ได้ใส่ความเป็นไทย และยังพาคุณไปสำรวจเรื่องจิตวิญญาณและประเพณีไทย มันทำให้คุณไม่สามารถลุกจากที่นั่งได้เลยทั้งเรื่อง
คุณ ลอรี เฟลตเชอร์ ทีมงานคัดเลือกโปรแกรมภาพยนต์ของ ACMI

จุดเด่นของ หนังผีไทย ในสายตาคนต่างชาติ

ภาพยนตร์สยองขวัญของไทยส่วนใหญ่มีจุดเริ่มต้นมาจากนิทานและตำนานพื้นบ้าน ซึ่งทำให้การดำเนินเรื่องมีรสชาติและเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ยากต่อการลอกเลียนหรือเปรียบเทียบกับภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องอื่นๆ

เรามักจะเห็นภาพยนตร์ไทยที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับผีหรือองค์ประกอบเหนือธรรมชาติที่ถูกนำมาประยุกต์กับบริบททางวัฒนธรรมในช่วงเวลาแตกต่างกัน คุณเฟลตเชอร์ เปิดเผยว่า

“แม้ว่าเราจะเห็นการตีความเรื่องผีที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากบริบทของยุคสมัย แต่หนังผีไทยยังคงมีอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่ชัดเจน เช่น การมีอยู่ของผีที่ผูกพันกับขนบธรรมเนียม จิตวิญญาณ และวัฒนธรรมของไทยอย่างแน่นแฟ้น”

Shutter_GMM Pictures Co.jpeg
ภาพยนตร์ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับการคัดเลือกเข้าฉายในโครงการ ‘Spotlight on Thai Horror’ ที่ พิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลีย ACMI Credit: Supplied/ACMI
นอกจากนี้ คุณเฟลตเชอร์ อธิบายจุดเด่นของภาพยนต์ไทยอีกประการหนึ่งคือ การเล่าเรื่องที่เข้มข้นและสามารถเชื่อมโยงอารมณ์คนดูกับหนัง ซึ่งไม่ใช่แค่แนวสยองขวัญเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงภาพยนตร์ที่เพิ่งออกฉายล่าสุด เช่น How to Make Millions Before Grandma Dies ซึ่งวีธีการเล่าเรื่องดังกล่าวทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมในเรื่องราวและสามารถดึงคุณเข้าสู่โลกของตัวละครและภาพยนต์ที่ผู้กำกับสร้างขึ้นอย่างไม่รู้ตัว
 

นางนาก ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ และ เพื่อน..ที่ระลึก

คุณเฟลตเชอร์ ชี้ว่าเหตุผลที่เลือกภาพยนตร์ไทยสยองขวัญ 3 เรื่องนี้มาฉายในพิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลียเพราะเป็นภาพยนต์ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และบอกเล่าบริบทของเวลาในภูมิภาคเอเชีย

คุณเฟลตเชอร์ ใหเความเห็นว่า

"โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการภาพยนต์ 'Spotlight on Asia Pacific Horror' ที่จะทำให้ผู้ชมได้เห็นภาพรวมของความสยองขวัญจากเอเชียแปซิฟิก โดยทั่วไปจะเน้นที่ภาพยนตร์คลาสสิกหรือภาพยนตร์ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สยองขวัญในภูมิภาค (ในกรณีนี้คือ นางนาค) หรือภาพยนตร์ที่เพิ่งลงจอ (เพื่อน..ที่ระลึก The Promise) และภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก (ชัตเตอร์ Shutter) โดยเฉพาะยังเป็นการฉลองภาพยนต์เรื่องชัตเตอร์ ครบรอบ 20 ปีด้วย"

The Promise_GDH 559.jpeg
ภาพยนตร์ไทยเรื่อง เพื่อน..ที่ระลึก The Promise เป็นภาพยนตร์ไทยแนวสยองขวัญเรื่องใหม่ที่เพิ่งทำการฉายในประเทศไทยเมื่อปี 2017 Credit: Supplied/ACMI

ความระทึกในโรงภาพยนต์แบบ 4 K เป็นอย่างไร

คุณเฟลตเชอร์ ทีมงานคัดเลือกภาพยนต์ของพิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลีย กล่าวว่า ภาพยนต์ทั้ง 3 เรื่องที่ได้รับคัดเลือกมาฉายในออสเตรเลียจะฉายในในโรงภาพยนตร์ในรูปแบบ 4K หรือ ภาพยนตร์ดิจิตอลที่มีความละเอียดของภาพสูง ซึ่งผู้ชมจะได้สัมผัสประสบการณ์เต็มรูปแบบบนหน้าจอขนาดใหญ่

“หวังว่าในอนาคตคุณผู้ชมจะได้รับชมภาพยนต์ไทยเรื่องอื่นๆ อีกรวมถึงภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ที่ ACMI ด้วย” คุณ ลอรี เฟลตเชอร์ จากทีมคัดเลือกโปรแกรมภาพยนต์ของ ACMI ทิ้งท้าย

อ่านรายละเอียดของเทศกาลภาพยนตร์นี้เพิ่มเติมได้ที่ :

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 30 September 2024 3:37pm
Updated 30 September 2024 5:36pm
By Chayada Powell
Presented by Chayada Powell
Source: SBS

Share this with family and friends