โพลสำรวจความคิดเห็นล่าสุดพบว่า วัยรุ่นเชื่อว่าโซเชียลมีเดียมีผลในทางบวกต่อชีวิตของพวกเขา ช่วยให้พวกเขารู้สึกมั่นใจมากขึ้น รู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง และซึมเศร้าน้อยลง
โพลดังกล่าวได้รับการเผยแพร่เมื่อวันจันทร์โดยคอมมอนเซ็นส์มีเดีย (Common Sense Media) ซึ่งพบว่า 89 เปอร์เซ็นต์ของวัยรุ่นมีโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเป็นของตัวเอง เพิ่มขึ้นจาก 41 เปอร์เซ็นต์เมื่อปี 2012 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้มีการทำการสำรวจดังกล่าว
ในปีคริสตศักราช 2012 นั้น วัยรุ่นใช้เฟซบุ๊กกันอย่างดาษดื่น แต่ทว่าในช่วงหกปีที่ผ่านมา จำนวนกลุ่มอายุดังกล่าวที่อยู่บนเฟซบุ๊กนั้นลดต่ำลงอย่างมาก
เพียง 15 เปอร์เซ็นต์ของวัยรุ่นในขณะนี้ที่กล่าววว่าเฟซบุ๊กเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กหลักของพวกเขา เมื่อเทียบกับ 68 เปอร์เซ็นต์ในปี 2012
ในปัจจุบัน 44 เปอร์เซ็นต์ของวัยรุ่นกล่าวว่า โซเชียลเน็ตเวิร์กหลักๆ ของพวกเขาคือสแน็ปแชต (Snapchat) ทำให้แอพดังกล่าวกลายเป็นแอพโซเชียบมีเดียที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด ตามมาด้วยอินสตาแกรม (ซึ่งเฟซบุ๊กเป็นเจ้าของ) ที่ 22 เปอร์เซ็นต์
ในการสำรวจความคิดเห็นดังกล่าวยังพบข้อมูลอื่นๆ อีกด้วย:
- วัยรุ่นส่วนใหญ่ - 59 เปอร์เซ็นต์ - กล่าวว่าโซเชียลมีเดียไม่มีผลกระทบต่อระดับความรู้สึกซึมเศร้าของพวกเขา แต่ยี่สิบเก้าเปอร์เซ็นต์กล่าวว่ามันทำให้พวกเขารู้สึกซึมเศร้าน้อยลง และ 11 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่า มันทำให้พวกเขารู้สึกซึมเศร้ามากขึ้น สามสิบเก้าเปอร์เซ็นต์กล่าวว่ามันทำให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง สิบสามเปอร์เซ็นต์โดดเดี่ยวมากขึ้น
- สามสิบห้าเปอร์เซ็นต์ของวัยรุ่นกล่าวว่า การส่งข้อความเป็นวิธีการสื่อสารกับเพื่อนๆ ที่ถูกใจที่สุด เทียบกับ 33 เปอร์เซ็นต์ในปี 2012 และ(ขณะนี้)มีเพียง 32 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่กล่าวว่า การพูดคุยกันตัวต่อตัวเป็นวิธีการสื่อสารที่พวกเขานั้นเลือกใช้ ลดลงจาก 49 เปอร์เซ็นต์ในวัยรุ่นเมื่อปี 2012
- หกสิบสี่เปอร์เซ็นต์ของวัยรุ่นใช้โซเชียลมีเดีย “เกือบตลอดเวลา” ในขณะที่ 19 เปอร์เซ็นต์ไม่เคยใช้เลย
- สิบสามเปอร์เซ็นต์ของวัยรุ่นกล่าวว่าพวกเขาเคยถูกข่มเหงรังแกทางไซเบอร์ ในขณะเดียวกัน เกือบหนึ่งในสี่ได้เคยพยายามช่วยเหลือบุคคลที่ถูกรังแกทางไซเบอร์ด้วยการพูดคุยกับพวกเขาหรือแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบ
- เกินครึ่งกล่าวว่า พ่อแม่นั้นวิตกกังวลมาเกินไปเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย ในขณะเดียวกัน 46 เปอร์เซ็นต์คิดว่าพ่อแม่นั้นจะยิ่งวิตกกังวลมากขึ้นไปอีกหากพวกเขาทราบว่า “จริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง” ทางออนไลน์
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอสไทย
ชาวออสเตรเลียบางส่วนกำลังเผชิญกับภาวะ 'โซเชียลเจ็ทแล็ก'