"วันนี้พวกเธอทุกคนได้รับสัญชาติไทย" นายสมศักดิ์ คณาคำ นายอำเภอแม่สายกล่าวในพิธีมอบสัญชาติไทย เมื่อวานนี้ (8 ส.ค.) ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย จ.เชียงราย ขณะที่เด็กๆ ซึ่งเดิมเป็นบุคคลไร้สัญชาติได้รับบัตรประชาชนของตนเป็นครั้งแรก
นอกจากนี้ นายสมศักดิ์ยังได้บอกกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า เรื่องราวของ "ทีมหมูป่า" ไม่เกี่ยวข้องกับการได้รับสัญชาติ โดยระบุว่าพวกเขาเหล่านั้น "แค่มีคุณสมบัติเหมาะควร"
แต่ทั้งนี้ พิธีมอบสัญชาติดังกล่าวได้มีการประชาสัมพันธ์อย่างภาคภูมิใจบนเพจเฟซบุ๊กของหน่วยงานบริหารท้องถิ่นว่า "ทีมหมูป่าปลื้ม! ได้สัญชาติไทยแล้ว"
ข้อมูลจากหน่วนงานด้านการลี้ภัยขององค์การสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า ประเทศไทยมีบุคคลไร้สัญชาติประมาณ 480,000 คน โดยปัญหาที่ได้รับการเพิกเฉยมาอย่างยาวนานนี้ ได้รับความสนใจหลังจากปฏิบัติการช่วยเหลือทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าได้เกิดขึ้น และมีการเปิดเผยว่าเด็กๆ ในทีมจำนวน 4 คน เป็นบุคคลไร้สัญชาติ ซึ่งเป็นการส่งเสียงไปยังรัฐบาลให้มีการจัดการอย่างเร่งด่วน
ทั้งนี้ ยังมีบุคคลไร้สัญชาติในประเทศไทยอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งมาจากชนเผ่าในพื้นที่ราบสูง และชนเผ่าอื่นๆ ซึ่งอยู่บริเวณชายแดนระหว่างประเทศไทย เมียนมา ลาว และจีน มาเป็นเวลาหลายร้อยปี หนึ่งในครอบครัวของสมาชิกทีมหมูป่าที่ได้รับสัญชาติไทย ครอบครัวของ ด.ช.อดุลย์ สามอ่อน ก็มาจากรัฐว้าของเมียนมาร์ ซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองเรื่องราวของทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าเริ่มครองพื้นที่สื่อ หลังเด็กๆ ในทีม 12 คนและโค้ชอายุ 25 ปี เข้าไปในวนอุทยานถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา และติดอยู่ในถ้ำลึกที่มีน้ำท่วมขังปิดทางเข้าออก ทำให้มีการระดมทีมช่วยเหลือจากนานาชาติ ที่บางคนถึงกับเรียกันกว่า Mission Impossible
The Wild Boar soccer team coach-turned-Buddhist monk Ekapol Chantawong as he receives his Thai citizen ID card Source: CHIANG RAI PUBLIC RELATIONS OFFI
ทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าติดอยู่ในถ้ำเป็นเวลา 9 วัน โดยอาศัยน้ำฝนที่หยดลงมาจากเพดานถ้ำเพื่อประทังชีวิต ก่อนที่ทีมค้นหาจะพบตัว จากนั้นอีกสองสามวันต่อมา ก็ได้รับการนำตัวออกมาจากถ้ำในปฏิบัติการที่มีความซับซ้อน โดยพวกเขาได้รับการฉีดยากล่อมประสาท และถูกลำเลียงออกมาผ่านเส้นทางที่เต็มไปด้วยน้ำท่วมขัง
หลายสัปดาห์หลังปฏิบัติการช่วยเหลือทีมหมูป่าสำเร็จ ความสนใจในเหตุการณ์นี้ยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง บรรดาผู้สร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวูดต่างแข่งขันกันเพื่อนำเรื่องราวไปสร้างเป็นหนังของตนเอง แต่ทว่าทางการไทยได้ขอให้สื่อเว้นระยะห่างขณะที่สมาชิกทีมหมูป่ากำลังปรับตัวเข้าสู่การใช้ชีวิตแบบปกติ และหลีกเลี่ยงการแตะต้องกับประสบการณ์เลวร้ายที่พวกเขาเคยเผชิญ
ปฏิบัตการช่วยเหลือทีมหมูป่าที่อันตรายสามารถช่วยทั้ง 13 คนออกมาได้ทั้งหมด แต่ก็มีการสูญเสียเกิดขึ้น โดยนายสมาน กุนัน อดีตนักดำน้ำหน่วยซีลของไทย ได้เสียชีวิตในขณะติดตั้งระบบออกซิเจนเพื่อเตรียมช่วยเหลือทีมหมูป่าออกมา
หลังจากได้รับกาช่วยเหลือและรักษาตัวแล้ว เด็กๆ 11 คนและโค้ชได้อุปสมบทเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับนายสมาน อดีตนักดำน้ำหน่วยซีลผู้ล่วงลับ หนึ่งในสมาชิกทีมช่วยเหลือพวกเขาออกจากวนอุทยานถ้ำหลวง
เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ
อนาคตของคนไร้สัญชาติในไทยจะเป็นอย่างไร