บัญชีทวิตเตอร์ของลูเจน อัล-ฮัตห์ลุล ไม่ขยับเขยื้อนตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 2018
ก่อนหน้านี้ สตรีนักรณรงค์ชาวซาอุฯ คนดังกล่าวเป็นผู้ใช้ทวิตเตอร์ตัวยง โดยมีผู้ติดตามเธอ 307,000 คน และมีรายงานว่าเธอนั้นเป็นเพื่อนกับดัตเชสแห่งซัสเซกซ์
กระดานเนื้อหาของเธอเป็นการบันทึกเรื่องราวที่เธอนั้นทุ่มเทใจให้ ซึ่งที่ชัดเจนที่สุดก็คือความพยายามของเธอที่จะยุติคำสั่งห้ามของราชอาณาจักรไม่ให้ผู้หญิงขับรถสตรีวัย 29 ปีคนดังกล่าวเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในปี 2014 เมื่อเธอถ่ายคลิปตัวของเธอเองขณะพยายามขับรถเข้าประเทศซาอุดิอาระเบียจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยเธอถูกจับและถูกขังคุกเป็นเวลา 70 วัน
Loujain Al Hathloul, 29. Source: Supplied
สามวันหลังจากที่เธอทวีตเป็นครั้งสุดท้าย นางสาวอัล-ฮัตห์ลุล ก็ถูกจับอีกครั้งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และถูกนำตัวขึ้นเครื่องบินกลับมายังซาอุดิอาระเบีย และในเดือนพฤษภาคน เธอก็ถูกจับอีกในการล้อมจับสตรีนักรณรงค์ที่ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีเป้าหมายเป็นผู้หญิงระหว่างจำนวน 10 ถึง 12 คน หากอ้างอิงจากองค์กรเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch)
เกือบทุกคนเป็นผู้ซึ่งต่อสู้อย่างเปิดเผยเพื่อสิทธิในการขับรถและเพื่อยุติระบบการให้มีผู้คุ้มกันชายของราชอาณาจักร
พวกเธอนั้นขณะนี้อยู่ในเรือนจำ ดห์บาน มาบาฮิตห์ ทางเหนือของนครเจดดาห์ โดยครอบครัวของนางสาวอัล-ฮัตห์ลุล กล่าวว่าเธอถูกทำทารุณที่นั่น
“น้องสาวของฉันเองเป็นคนบอกว่าเธอนั้นถูกเฆี่ยนตี ถูกทุบตี ถูกช็อตด้วยไฟฟ้าและถูกระรานอย่างสม่ำเสมอ” วาลีด พี่ชายของเธอเขียนใน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
“เมื่อไรก็ตามที่ลูเจนพูดกับพ่อแม่เกี่ยวกับช่วงที่เธอถูกทำทารุณ มือของเธอก็สั่นโดยไม่สามารถควบคุมได้” ผมหวาดกลัวว่าความเจ็บปวดนั้นจะอยู่กับเธอตลอดไป
"น้องสาวของผมเองกล่าวว่าเธอถูกเฆี่ยน ถูกทุบตี ถูกช็อตด้วยไฟฟ้าและถูกระราน"—วาลีด อัล-ฮัตห์ลุล
อาเลีย พี่สาวของนางสาวอัล-ฮัตห์ลุล ได้กล่าวกับทาง ก่อนหน้านี้ว่า: “เธอเล่าว่าเธอถูกควบคุมตัวอยู่ในห้องขังเดี่ยว ถูกทุบตี ถูกวอเตอร์บอร์ด ถูกช็อคด้วยไฟฟ้า ถูกระรานทางเพศและโดนขู่ว่าจะถูกข่มขืนและฆาตกรรม ... พ่อแม่ของฉันเห็นว่าต้นขาของเธอนั้นเป็นสีดำคล้ำจากการฟกช้ำ”
และก็ไม่ได้มีเพียงเธอคนเดียวองค์กรนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) กล่าวในเดือนพฤศจิกายนว่า ทางองค์กรได้เห็นคำให้การจำนวนสามรายจากนักรณรงค์ที่ถูกกุมขังซึ่งถูกช็อคด้วยไฟฟ้าและถูกเฆี่ยน โดยทำให้บางรายนั้นไม่สามารถจะเดินเหินได้
Detained: Aziza Al Yousef, Eman Al Nafjan and Samar Badawi. Source: Supplied
หนึ่งในผู้ที่ถูกจองจำได้แก่อาจารย์และแม่ลูกห้าวัย 60 ปี อะซิซา อัล-ยูเซฟ ผู้นำการรณรงค์ให้เกิดความตื่นตัวกรณีนักบวชสอนศาสนาคนหนึ่งถูกกล่าวหาว่าข่มขืนเด็กหญิงอายุห้าปีซึ่งเป็นบล็อกเกอร์ชื่อ อีมาน อัล-นาฟจาน และนักข่าวชื่อ นูฟ อับเดลอาซิส
มายา อัล-ซาห์รานี ซามาร์บาดาวี นาสสิมา อัล-ซาดา และ ฮะทูน อัล-ฟาซซี ยังคงถูกกุมขังโดยไม่มีการตั้งข้อหา
นักวิจัยภูมิภาคตะวันออกกลางขององค์กรเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชน นายอดัม คูเกิล ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศจอร์แดนกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่า การปฏิบัติต่อผู้หญิงตามที่ได้มีการกล่าวอ้างนั้น “น่าตกใจอย่างที่สุด” และไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรแห่งดังกล่าว
“แน่นอนว่าเราได้ยินเกี่ยวกับเหตุการณ์มากมายหลายครั้งที่มีการทุบตีและทำทารุณผู้ชายในเวลาหลายปีที่ผ่านมา แต่การปฏิบัติต่อผู้หญิงในลักษณะเช่นนี้เป็นสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อนอย่างแท้จริง ... ผมเองยังแทบจะไม่เชื่อด้วยซ้ำ”
"การปฏิบัติต่อผู้หญิงในลักษณะเช่นนี้เป็นสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อนอย่างแท้จริง"—อดัม คูเกิล จากองค์กรเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชน
เขาอ้างว่ามกุฎราชกุมารซึ่งมีพระราชอำนาจสูง เจ้าชายโมฮัมเม็ด บิน ซาลมาน และเหล่าที่ปรึกษาของพระองค์ ต้องการจะแสดงว่า “พวกเขาจะทำทุกอย่างเพื่อกำจัดเสียงวิพากษ์วิจารณ์”ทั่วโลกได้ติดตามจับตามองอย่างทุกฝีก้าวต่อบิน ซาลมาน และระบอบการปกครองของพระองค์ หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ซึ่งกระฉ่อนไปทั่วจำนวนหนึ่งในช่วงเวลาไม่นานมานี้
Detained: Nassima Al Saada and Hatoon Al Fassi. Source: Supplied
โดยมกุฎราชกุมารพระองค์ดังกล่าวทรงถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลัง ที่สถานกงสุลซาอุดิอาระเบียในกรุงอิสตันบุลเมื่อเดือนตุลาคม – ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาซึ่งพระองค์ทรงปฏิเสธ และทรงมีพระราชกระแสว่าเรื่องดังกล่าวเป็น “อาชญากรรมที่น่าชังและไม่มีข้ออ้างใดๆ”
เมื่อเดือนมกราคม วัยรุ่นชาวซาอุฯ ราฮาฟ อัล-คุนูน ตกเป็นข่าวเมื่อเธอนั้นต่อต้านระบบการมีผู้คุ้มครองเป็นผู้ชายของราชอาณาจักร และพยายามขอลี้ภัยมายังประเทศออสเตรเลีย
ในสัปดาห์นี้มีกลุ่มสส. อังกฤษกลุ่มหนึ่งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวเหล่านักรณรงค์สตรี และเตือนว่าความรับผิดชอบต่อการทำทารุณกรรมที่มีการกล่าวอ้างว่าเกิดขึ้นนั้นจะสาวไปถึงได้ทุกระดับ รวมถึงบิน ซาลมานด้วย หากพระองค์เป็นผู้ทรงรับสั่ง หรือทรงมีพระราชานุญาตให้เรื่องดังกล่าวดำเนินต่อไป
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่มีการกล่าวอ้างว่าผู้ช่วยของพระองค์คนหนึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการทำทารุณต่อนางสาวอัล-ฮัตห์ลุล
เจ้าหน้าที่ทางการของซาอุฯ ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาว่ามีการทำทารุณกรรม โดยกล่าวว่า “ไม่มีหลักฐาน”
กระทรวงสื่อมวลชนของซาอุฯ กล่าวเมื่อเดือนพฤศจิกายนว่า รัฐบาลนั้น “ปฏิเสธอย่างแน่วแน่และแข็งขันต่อข้อกล่าวหาของพวกเขา คำกล่าวอ้างต่างๆ ที่หวือหวา และมีการอ้างอิง ‘คำให้การ’ หรือ ‘สายผู้มีข้อมูล’ นั้นเป็นเรื่องที่ผิด”
ทางกระทรวงยังอ้างว่า สตรีที่ถูกจับนั้น เนื่องมาจาก “การติดต่อที่น่าสงสัยกับต่างชาติ” และ “การสนับสนุนทางการเงินให้กับฝ่ายตรงข้ามในต่างประเทศ”
นายคูเกิลกล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับซาอุดิอาระเบียที่จะใช้กฎหมายสำหรับต่อต้านการก่อการร้ายต่อนักรณรงค์สิทธิมนุษยชน โดยภายใต้กฎหมายดังกล่าว เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้คนไว้ได้นานถึงหนึ่งปีโดยไม่มีการตั้งข้อหา และได้โดยไม่มีกำหนดหากมีคำสั่งจากศาลศิลปินนักประท้วงซึ่งอยู่อาศัยในนครซิดนีย์ นางสาวซาฟฟา เป็นเพื่อนกับนักกิจกรรมบางรายซึ่งถูกกุมขัง และได้สร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อประท้วง โดยท้าทายกฎหมายการมีผู้ควบคุมผู้ชาย เธอยังได้แสดงให้เห็นถึงนักรณรงค์ซึ่งถูกควบคุมตัวผ่านงานศิลปะของเธออีกด้วย
Sydney-based Saudi artist Ms Saffaa has featured detained activist Loujain al-Hathloul in her work. Source: Ms Saffaa/Allie Ballesteros/Instagram
แม้ว่าเธอจะย้ายมาอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียแล้วก็ตาม เธอกล่าวว่าเธอนั้น “คอยเหลียวหลังอยู่เสมอ” และมักจะเห็นเจ้าหน้าที่ซาอุฯ ที่งานแสดงศิลปะของเธอ
เธอเล่าให้เอสบีเอสนิวส์ฟังถึงครั้งที่มีครอบครัวหนึ่งมาพูดคุยกับเธอที่นิทรรศการแห่งหนึ่งและขอถ่ายรูปงานศิลปะของเธอ - ซึ่งต่อมาก็มีการเปิดเผยว่าพวกเขานั้นทำงานให้กับ “สำนักงานวัฒนธรรมซาอุดิอาระเบีย”
“พวกเขาถามฉันเสมอๆ ว่าฉันอยากจะมีส่วนร่วมกับงานทางวัฒนธรรมของพวกเขาหรือไม่ - มันเป็นวิธีที่จะทำให้ฉันนั้นอ่อนข้อลง” เธอกล่าว
“ฉันปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของฉันเพราะความหวาดกลัว ... หากว่ามีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นกับฉัน มันก็จะเป็นไปเพื่อเหตุผลที่ดี”นางสาวซาฟฟา มายังประเทศออสเตรเลียโดยได้รับทุนการศึกษาศิลปะ แต่กล่าวว่าเธอนั้น “ไม่สามารถจะกลับไปได้อีก”
Ms Saffaa. Source: Ms Saffaa/Instagram
จากข้อมูลของธนาคารโลก มีชาวซาอุฯ จำนวน 1169 คนที่หลบหนีในฐานะผู้ลี้ภัยในปี 2017 – ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และก็เกิดขึ้นหลังจากปี 2015 เมื่อบิน ซาลมานนั้นทรงขึ้นเป็นผู้นำประเทศ ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดซึ่งสามารถเห็นได้ไดอานา ซาเยด นักรณรงค์สิทธิสตรีจากองค์กรนิรโทษกรรมสากลกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่า เธอเชื่อว่าซาอุดิอาระเบียและบิน ซาลมาน “ต้องการจะได้รับเครดิตอย่างเต็มๆ ต่อการยกเลิกการห้ามผู้หญิงขับรถ แทนที่จะเป็นเหล่านักปกป้องสิทธิสตรีผู้ซึ่งตกระกำลำบากมาเป็นเวลาหลายทศวรรษและยังคงต่อเนื่องอยู่ ซึ่งได้ทำการรณรงค์ต่อสิทธิในการขับรถ”
Saudi Arabia's refugee population has shot up since Mr bin Salman came to power. (Graphs shows per thousand) Source: World Bank
เธอยังเสริมว่า “พวกเขาป่าวประกาศเรื่องนี้ว่าเป็นความเปลี่ยนแปลง และจุดผกผันของประเทศ ... แต่หน้ากากก็คอยๆ หลุดออก ... มันไม่มีพื้นที่ใดๆ ทั้งสิ้น สำหรับการวิพากษ์วิจารณ์เจ้าชายพระองค์ปัจจุบัน”
"มันไม่มีพื้นที่ใดๆ ทั้งสิ้น สำหรับการวิพากษ์วิจารณ์เจ้าชายพระองค์ปัจจุบัน"—ไดอานา ซาเยด
ทั้งนางสาวซาเยดและนายคูเกิลเชื่อว่า การจับกุมนักกิจกรรมสตรีนั้นส่งผลให้ประชาชนชาวซาอุฯ เงียบเชียบไม่ปริปาก
“ผู้คนที่ซาอุฯ นั้นหวาดกลัวที่จะพูด ไม่มีใครเลยที่จะพูดจาวิพากษ์วิจารณ์เอ็มบีเอส [โมฮัมเม็ด บิน ซาลมาน] เพราะพวกเขารู้ว่าพวกเขาอาจถูกจับและทรมานได้จากเรื่องนี้” นายคูเกิลกล่าว
แต่เขาก็เสริมว่า ผู้ที่หลบหนีออกมาได้ เช่นนายคาช็อกกีก่อนเขาจะถูกสังหาร จะเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อระบอบ
“[พวกเขา]เรียกร้องให้เกิดความสนใจต่อสภาพความเป็นจริงในซาอุดิอาระเบีย ด้วยวิธีซึ่งมีเสียงดังและมองเห็นได้ชัดกว่าที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้”
นางสาวซาเยดกล่าวว่า ขณะนี้นั้นไม่เหมือนในอดีต โดยมี “ความจำเป็นทางคุณธรรม” สำหรับประเทศต่างๆ เช่นออสเตรเลียที่จะ “แสดงจุดยืนทางคุณธรรม” และใช้แรงกดดันระดับนานาชาติต่อราชอาณาจักรแห่งดังกล่าวเพื่อท้าท้าย “ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน”
สำหรับเหล่าสตรีทื่ถูกกุมขัง นายคูเกิลกล่าวว่า การตัดสินใจปล่อยตัวพวกเขานั้นขึ้นอยู่กับพระองค์เท่านั้น
“เอ็มบีเอสจะทรงต้องการที่จะไปต่อในเรื่องนี้แล้วตั้งข้อหากับพวกเขา หรือว่าพระองค์จะทรงตัดสินพระทัยว่าพระองค์ไม่มีพระราชประสงค์ที่จะทรงถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างร้อนแรงในเรื่องนี้” เขากล่าว “เราไม่รู้ว่าเรื่องนี้จะไปในหนทางใด”
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
นครโตรอนโตต้อนรับสาวซาอุฯ ราฮาฟ อัล-คูนุน
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
เตือนนักศึกษาในออสเตรเลียระวังพฤติกรรมช่วงปฐมนิเทศ “โอ วีค”