Man stands in front of tree.
Man stands in front of tree.
This article is more than 1 year old

Feature

นักศึกษาโหมทำงานหารายได้ก่อนกฎจำกัดชั่วโมงทำงานจะกลับมา

ขณะที่นักศึกษามหาวิทยาลัยเตรียมตัวรับการเปิดภาคเรียนใหม่ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่านักศึกษาหลายคนกำลังโหมทำงานหลายงาน เพื่อหารายได้ให้พอกับค่าใช้จ่ายที่พุ่งขึ้นและจุนเจือครอบครัว ก่อนกฎการจำกัดชั่วโมงทำงานของนักเรียนที่ถือวีซ่าจะกลับมาใช้บังคับอีกครั้ง

Published 21 February 2023 2:06pm
By Rayane Tamer, Sandra Fulloon
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS
Image: ซัดมาน อาราฟัต นักเรียนต่างชาติ ทำงาน 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอในช่วงวิกฤติค่าครองชีพในออสเตรเลียพุ่ง (Supplied / Sadman Arafat)
ซัดมาน อาราฟัต ใช้เวลาทั้งกลางวันและกลางคืนโหมทำงานหารายได้อย่างหนักในช่วงที่มหาวิทยาลัยปิดภาคเรียน เพื่อให้มีรายได้พอจ่ายค่าที่พัก

นักศึกษาต่างชาติวัย 21 ปีรายนี้ทำงานเฉลี่ย 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยทำงานจนแทบหมดแรงจากการรับออเดอร์และเสิร์ฟอาหารที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมลเบิร์น

"สถิติสูงสุดของผมคือ ทำงานเกือบ 75 ชั่วโมงในหนึ่งสัปดาห์" ซัดมาน กล่าว

ซัดมานมายังออสเตรเลียในเดือนธันวาคม 2021 จากประเทศบังกลาเทศ หลังการเปิดพรมแดนให้นักศึกษาต่างชาติเนื่องจากข้อจำกัดด้านโควิด-19 ได้ผ่อนคลายลง

ข้อจำกัดชั่วโมงทำงานของผู้ถือวีซ่านักเรียนถูกยกเลิกชั่วคราว เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังแรงงานในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เมื่อปลายปีที่แล้วรัฐบาลสหพันธรัฐได้ประกาศจะ โดยก่อนหน้านี้ผู้ถือวีซ่านักเรียนสามารถทำงานได้ไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อ 2 สัปดาห์
ในคำแถลงถึงเอสบีเอส นิวส์ กระทรวงกิจการภายใน (Department of Home Affairs) ยืนยันว่าการจำกัดชั่วโมงทำงานจะกลับมาใช้บังคับอีกครั้ง แต่จะทบทวนจำนวนชั่วโมงที่จำกัดสำหรับสองสัปดาห์ หลังการปรึกษาหารือกับตัวแทนองค์กรที่เกี่ยวข้องว่ากี่ชั่วโมงจึงจะเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ถือวีซ่านักเรียน

"จำนวนชั่วโมงจะถูกกำหนดหลังจากการปรึกษาหารือกับตัวแทนองค์กรต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา เพื่อสร้างสมดุลที่เหมาะสมระหว่างการทำงานและการเรียน และจะแจ้งให้นักศึกษาทราบก่อนที่การเปลี่ยนแปลงจะมีผลบังคับใช้" โฆษกกระทรวงกล่าว

สำหรับตอนนี้ เหลือเวลาไม่มากแล้วที่นักศึกษาอย่างซัดมานจะเก็บออมเงินให้ได้มากที่สุดก่อนที่ภาคเรียนแรกของมหาวิทยาลัยจะเริ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า

ซัดมานไม่ทราบมาก่อนว่าเขาจะถูกบังคับให้ลดชั่วโมงทำงานลง จนกระทั่งเอสบีเอส นิวส์ แจ้งเรื่องนี้ให้เขารู้ และเขารู้สึกว่าไม่มีการแจ้งข่าวนี้ไปยังนักศึกษาต่างชาติอย่างเพียงพอ

เขาบอกว่าข่าวนี้ "ทำให้ผมตกอยู่ในภาวะตื่นตระหนก"

“จุดประสงค์หลักของผมที่นี่คือการเรียน แต่ผมสามารถตัดชั่วโมงการทำงานได้เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เพราะท้ายที่สุดแล้ว ผมจำเป็นต้องหารายเงินให้ถึงจำนวนขั้นต่ำที่ผมต้องมีเพื่อความอยู่รอด” ซัดมานกล่าว

ความอ่อนล้าส่งผลให้เขาไม่ค่อยอยากอาหาร สุขภาพจิตของเขาได้รับผลกระทบ และกังวลอยู่ตลอดเวลาว่าเขาพยายามรักษาผลการเรียนให้ดีต่อไปได้อย่างไร
ผมจำเป็นต้องหารายเงินให้ถึงจำนวนขั้นต่ำที่ผมต้องมีเพื่อความอยู่รอด
ซัดมาน อาราฟัต
โฆษกกระทรวงกิจการภายในกล่าวว่า ข้อจำกัดชั่วโมงการทำงานดังกล่าวจะช่วย "ปกป้องคุณภาพและชื่อเสียงของภาคการศึกษาและการฝึกอบรมสำหรับนักเรียนต่างชาติของออสเตรเลีย" และเพื่อให้ได้รับการศึกษาที่ "มีคุณภาพ"

'มันเหนื่อยล้า แต่เราไม่มีทางเลือกอื่น'

ต่างจากซัดมานตรงที่ มาดูห์ ดาโมดาราซามี รู้มาก่อนแล้วถึงการจะกลับมาจำกัดชั่วโมงทำงานของนักศึกษาต่างชาติที่กำลังจะเกิดขึ้น และเธอรู้สึกหวาดหวั่นเมื่อการจำกัดชั่วโมงการทำงานจะกลับมาอีกครั้ง

มาดูห์ เป็นนักศึกษาต่างชาติจากอินเดีย ซึ่งกำลังเรียนปริญญาโทด้านการจัดการวิศวกรรมในปีสุดท้าย และเธอทำงาน 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในช่วงปิดภาคเรียน

เธอจะบอกว่าแม้ชั่วโมงทำงานของเธอจะส่งผลให้เธอ "ค่อนข้างเหนื่อยล้า" แต่มันเป็นทางออกเดียวที่เธอจะมีเงินจ่ายค่าเช่าที่พัก ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 700 ดอลลาร์ต่อเดือนเป็นเกือบ 1,000 ดอลลาร์ภายในหนึ่งปี อีกสิ่งที่เธอวิตกอยู่ในใจด้วยก็คือใบสมัครขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร ซึ่งเธอบอกว่าเป็นเงิน 3,500 ดอลลาร์ที่เธอจะต้องหามาจ่าย

“หลังจากทำงานสองกะอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 11 โมงถึง 5 ทุ่ม ฉันกลับไปที่มหาวิทยาลัยและต้องอ่านหนังสือจนถึงตี 1 เป็นอย่างต่ำเพื่อทำการบ้านหรือทำรายงาน” มาดูห์ กล่าว

อีกไม่ถึง 6 เดือน เธอจะถูกบังคับให้ลดรายได้ที่มีลงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์เพื่อให้ปฏิบัติตามกฎของรัฐบาล ขณะเดียวกันก็ต้องรับมือให้ได้กับวิกฤตค่าครองชีพในออสเตรเลีย

"มันเหนื่อยล้า แต่เราไม่มีทางเลือกอื่นเพราะค่าใช้จ่ายสูงไปเสียทุกอย่าง" มาดูห์ กล่าว

เนานิฮาล ซิงห์ นักเรียนต่างชาติชาวอินเดียอีกคนหนึ่ง ทำงาน 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยจัดวางสินค้าบนชั้นวางขายในร้านซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในเมลเบิร์น
Naunihal Singh standing in a Melbourne supermarket.
เนานิฮาล ซิงห์ นักเรียนต่างชาติชาวอินเดียอีกคนหนึ่ง ที่ทำงานจัดวางสินค้าบนชั้นวางขายในร้านซูเปอร์มาร์เก็ต Credit: SBS / Scott Cardwell
“ตั้งแต่ผมทำงานในซุปเปอร์มาร์เก็ต ผมก็ได้เห็นราคาสิ่งต่างๆ ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง” เนานิฮาล กล่าว

“และเงินเดือนก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น 8 เปอร์เซ็นต์ เพียงเพราะอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ดังนั้นการบริหารรายได้จึงยากขึ้น"

เช่นเดียวกับ มาดูห์ เนานิฮาล และนักเรียนต่างชาติหลายคนหวังว่าจะอยู่ต่อในออสเตรเลียและกลายเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

“ตอนนี้ผมทำงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อเก็บออมเงิน เพราะผมรู้ว่าข้อจำกัดต่างๆ จะกลับมาในเร็วๆ นี้แล้ว” เนานิฮาล กล่าว

ในขณะที่บางภาคส่วนจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่มูลค่าที่แท้จริงของค่าจ้าง (real wage) เพิ่มขึ้นเพียง 3.1 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลาหนึ่งปีที่สิ้นสุดในเดือนกันยายน 2022 ตามรายงานของสำนักสถิติแห่งออสเตรเลีย แต่ก็ถูกแซงหน้าอย่างง่ายดายจากอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งสูงแตะ 7.8 เปอร์เซ็นต์ในช่วงหนึ่งปีจนถึงเดือนธันวาคม โดยเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา

“อัตราค่าจ้างของผมเกือบจะเท่าเดิมเหมือนกับตอนที่ผมเริ่มทำงาน (ในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว) แต่ค่าเช่าของผมสูงขึ้น ค่าน้ำมันของผมสูงขึ้น และค่าครองชีพของผมก็สูงขึ้น นอกเหนือไปจากค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัย ซึ่งก็สูงขึ้นเช่นกัน "ซัดมาน กล่าว

เยกาเนห์ ซอลแทนพูร์ ซึ่งเป็นประธานระดับชาติของสภานักศึกษานานาชาติแห่งออสเตรเลียกล่าวว่า นักศึกษาต่างชาติบางคนประสบปัญหาในการใส่ใจเรื่องการเรียนที่มหาวิทยาลัย เพราะพวกเขากำลังทำงานหลายงาน

"ฉันรู้จักนักศึกษาหลายคนที่กำลังทำงานหลายชั่วโมงอย่างหามรุ่งหามค่ำ เพื่อให้มีเงินพอใช้" เยกาเนห์ กล่าว

"บางคนทำงานฟูลไทม์ระหว่างเรียน และบางคนทำกะพิเศษในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ปั๊มน้ำมัน หรือขับรถรับส่งผู้โดยสารในตอนกลางคืนและเรียนหนังสือไปด้วย”

"ด้วยวิกฤตค่าเช่าและค่าครองชีพในปัจจุบัน นี่คือความเป็นจริงสำหรับนักศึกษาจำนวนมาก"
A graph showing the top 10 countries of origin for international students in Australia in 2022
กราฟแสดงประเทศต้นทาง 10 อันดับแรกสำหรับนักเรียนต่างชาติในออสเตรเลียในปี 2022 Source: SBS
Ms Soltanpour, who migrated from the United Arab Emirates, believes overwork is one reason many students turn to .

"ฉันคิดว่ามันยากลำบากขึ้นสำหรับนักศึกษาส่วนใหญ่ และเรื่องนี้อาจทำให้เกิดความทุกข์ใจได้ หากพวกเขาไม่สามารถรักษาผลการเรียนที่ดีไว้ได้"

เมื่อภาคเรียนใหม่เริ่มต้นขึ้น ซัดมาน มาดูห์ และเนานิฮาล ต่างกล่าวว่าพวกเขาจะลดชั่วโมงทำงานลงเหลือประมาณ 25-35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพื่อพุ่งความสนใจไปที่การเรียน
Naunhial packing fruit into a display case.
“ตอนนี้ผมทำงานให้มากที่สุดเพื่อเก็บออมเงิน เพราะผมรู้ว่าข้อจำกัดจะกลับมาในเร็วๆ นี้แล้ว” เนานิฮาล กล่าว Credit: SBS / Scott Cardwell
นักเรียนต่างชาติคนอื่นๆ ต้องเผชิญกับแรงกดดันที่สูงขึ้น บางครอบครัวขายบ้านของครอบครัวเพื่อจ่ายค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัย และคาดหวังให้นักศึกษาเหล่านี้ส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวในประเทศบ้านเกิด

คุณฟิล ฮันนีย์วูด ซีอีโอของสมาคมการศึกษานานาชาติแห่งออสเตรเลีย กล่าวว่านักเรียนต่างชาติบางคนทำงานหนักจนเกินไป

“ออสเตรเลียมีนักเรียนจำนวนมากจากแถบเอเชียใต้ คือ อินเดีย เนปาล และศรีลังกา บางคนทำงานหลายงานและทำงานมากถึง 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์" คุณฮันนีย์วูด กล่าว

“อย่างไรก็ตาม เราทราบดีว่าหลายคนประสบปัญหาสุขภาพจิตจากครอบครัวทางบ้านที่บอกว่า 'ถ้าลูกสามารถหาเงินได้มากมายขนาดนั้นโดยทำงานอย่างไม่จำกัดชั่วโมงขณะที่ลูกควรจะเรียนเต็มเวลา ถ้าเช่นนั้นลูกก็สามารถส่งเงินกลับมาให้บ้านได้”

'ความคาดหวังที่สูง': นักเรียนเผชิญกับแรงกดดันให้ส่งเงินกลับบ้าน

คุณฮันนีวูดกล่าวว่า ในการขอวีซ่านักเรียนนั้นผู้สมัครต้องพิสูจน์ว่าสามารถจ่ายค่าเล่าเรียนและช่วยเหลือตนเองได้ แต่บางครอบครัวคาดหวังให้นักเรียนทำงานหารายได้ต่อไป และการแบ่งเวลาเพื่อเรียนเต็มเวลาและทำงานไปด้วยก็สามารถสร้างความเครียดแก่นักเรียนได้

“ถ้าเราทำงานพาร์ทไทม์สองหรือสามงานตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน แรงกดดันที่มีต่อตนเองนั้นมหาศาลอย่างยิ่ง” คุณฮันนีวูด กล่าว

ดร. มาธวี โมฮินดรา มีคลินิกส่วนตัวให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตแห่งหนึ่งในซิดนีย์ และให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิตแก่นักศึกษามหาวิทยาลัย 3-4 คนในแต่ละสัปดาห์

ดร. โมฮินดรา ย้ายถิ่นฐานจากอินเดียตอนเหนือมายังออสเตรเลียในปี 2009

“ในฐานะผู้อพยพจากอินเดีย ฉันเข้าใจวัฒนธรรมและพิธีกรรมของอินเดีย ฉันรู้จักคนหนุ่มสาวบางคนที่กำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งครอบครัวของพวกเขาคาดหวังว่าตั้งแต่วันแรกเลยว่าพวกเขาจะส่งเงินกลับบ้าน" ดร. โมฮินดรา กล่าว
Dr Madhvi Mohindra photo.
ดร. มาธวี โมฮินดรา Credit: Dr Madhvi Mohindra
"ญาติๆ ของพวกเขารู้ว่าค่าจ้างของออสเตรเลียนั้นสูงกว่ามาก และค่าของเงินดอลลาร์แข็งค่ากว่ารูปีของอินเดียมาก ... ครอบครัวชาวอินเดียบางครอบครัวได้เสียสละมากมายเพื่อส่งลูกไปออสเตรเลีย บางทีก็ขายบ้านของครอบครัวเพื่อจ่าย ค่าเล่าเรียน ดังนั้นความคาดหวังจึงสูง”

เมื่อข้อจำกัดด้านการแพร่ระบาดของโควิดคลี่คลายลง นักเรียนต่างชาติกำลังหลั่งไหลกลับมายังออสเตรเลีย โดยภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษามีจำนวนการลงทะเบียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมามีการอนุมัติวีซ่าให้นักเรียน 334,262 คน ซึ่งเพิ่มขึ้น 23 เปอร์เซ็นต์จากระดับช่วงก่อนเกิดโควิด

“การอนุญาตให้นักศึกษาต่างชาติทำงานเป็นการเพิ่มพูนทักษะที่มีค่าให้แก่กำลังแรงงานออสเตรเลีย ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มประสบการณ์ทางสังคมและการศึกษาของนักศึกษาในระหว่างที่พำนักในออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม การทำงานควรเป็นส่วนเสริมในการศึกษาเสมอ” โฆษกกระทรวง กล่าว

เมื่อเร็วๆ นี้ จีนห้ามพลเมืองไม่ให้เรียนออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศ จึงส่งผลให้นักศึกษาจีนมากถึง 40,000 คนเดินทางกลับออสเตรเลียเพื่อเรียนต่อให้จบ

ในปี 2022 จีนเป็นประเทศต้นทางชั้นนำสำหรับนักศึกษาต่างชาติในออสเตรเลีย โดยมีนักศึกษาจีน 155,348 คน ตามมาด้วยอินเดีย (99,739 คน) และเนปาล (56,847 คน)

บทความนี้จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างเอสบีเอส นิวส์ และเอสบีเอส ปัญจาบี


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share