การุณยฆาตโดยสมัครใจถูกกฎหมายแล้วที่รัฐวิกตอเรีย

NEWS: ผู้ป่วยระยะสุดท้ายชาววิกตอเรียขณะนี้สารมารถขอยาเพื่อจบชีวิตลงได้จากแพทย์ของพวกเขา ภายใต้กฎหมายการุณยฒาตที่เดียวในประเทศออสเตรเลีย

Image of a health worker's hand wearing a glove holding a patient's hand

Source: Image obtained by SBS News

รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can read the full version of this story in English on SBS News .

ผู้ป่วยระยะสุดท้ายชาววิกตอเรียขณะนี้สารมารถขอยาเพื่อจบชีวิตลงได้จากแพทย์ของพวกเขา ภายใต้กฎหมายการุณยฒาตที่เดียวในประเทศออสเตรเลีย

โครงการให้การช่วยเหลือการจบชีวิตด้วยความสมัครใจ (voluntary assisted dying scheme) จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันนี้ (19 มิ.ย.)
ภายใต้โครงการดังกล่าว ผู้ป่วยระยะสุดท้ายชาววิกตอเรียวัยผู้ใหญ่ซึ่งมีภาวะความเจ็บปวดเกินกว่าจะทนได้ และมีเวลาน้อยกว่าหกเดือนที่จะมีชีวิตอยู่ หรือ 12 เดือนสำหรับโรคเกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาท และผ่านการประเมินเพื่อป้องกันความผิดพลาด 68 ขั้นตอนแล้ว สามารถร้องขอแพทย์ของพวเขาให้ช่วยเหลือเพื่อจบชีวิตลงได้

เพื่อจะมีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปี โดยมีโรคระยะหลังๆ ซึ่งน่าจะทำให้เสียชีวิตภายในหกเดือน หรือ 12 เดือนสำหรับโรคเกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาท

พวกเขาจะต้องสามารถที่จะสื่อสารการตัดสินใจเกี่ยวกับความสมัครใจที่จะจบชีวิตลงได้ โดยผ่านกระบวนการร้องขออย่างเป็นทางการ จะต้องอยู่อาศัยในรัฐวิกตอเรียมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งปี และเป็นพลเมืองชาวออสเตรเลียหรือเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร

ถึงแม้ว่าขณะนี้กฎหมายจะเริ่มมีผลบังคับใช้แล้วก็ตาม แม้ว่า หากมีผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งเริ่มต้นกระบวนการในวันนี้ ก็จะใช้เวลาอย่างน้อย 10 วันจึงจะเสร็จสมบูรณ์

โดยเป็นเวลา 18 เดือนมาแล้ว หลังจากที่รัฐสภา(วิกตอเรีย)ผ่านกฎหมายดังกล่าวในการอภิปราย ‘มาราธอน’ เมื่อปี ค.ศ. 2017

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็ได้มีการก่อตั้งทีมงานขึ้นเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่าระบบควรจะมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร

มีคณะกรรมการอิสระที่จะคอยทบทวน และเจ้าหน้าที่ชันสูตร (coroner) ที่จะคอยบันทึกและเฝ้าระวังการเสียชีวิตในทุกๆ กรณีภายใต้โครงการดังกล่าว

แม้ว่ากฎหมายนี้จะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังคงมีผู้วิพากษ์วิจารณ์ โดยเมื่อเช้าวานนี้ (18 มิ.ย.) มีนักกิจกรรมเพื่อชีวิต (pro-life) จำนวนประมาณ 50 คนรวมทั้งเด็กๆ จำนวนหนึ่ง ได้ออกมาประท้วงที่บริเวณขั้นบันไดของอาคารรัฐสภา ด้วยการจุดเทียนเพื่อกระตุ้นความตื่นตัว

รัฐบาล(วิกตอเรีย) คาดว่าอาจมีผู้เข้าใช้โครงการดังกล่าวถึง 150 คน

Share
Published 19 June 2019 8:51am
By AAP-SBS
Presented by Tanu Attajarusit
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends