ทำไมประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียจึงขายหนังสือเดินทางในราคา 200,000 ดอลลาร์

การประกาศขายหนังสือเดินทางแก่ผู้สนใจของเกาะแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการระดมทุนเพื่อเพิ่มงบประมาณในการเคลื่อนย้ายประชาชนของประเทศออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Graphic showing the Nauru coastline and some passports

รัฐบาลนาอูรูประกาศขายหนังสือเดินทางซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือโครงการการจัดการกับผลกระทบเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Source: SBS

ประเทศนาอูรูเป็นเพื่อนบ้านในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกของออสเตรเลีย และกำลังริเริ่มมีโครงการประกาศขายหนังสือเดินทางของประเทศ

เพื่อสบทบงบประมาณช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายผู้อยู่อาศัยหลายพันคนออกจากบ้านเรือนที่อยู่ในระดับต่ำที่มีแนวโน้มจะถูกน้ำท่วมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น

หนังสือเดินทางของประเทศนาอูรูจะมีราคาขั้นต่ำตั้งแต่ 130,000 ดอลลาร์สหรัฐ (204,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย) สำหรับผู้สมัครคนเดียวหรือค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 2-4 คนจะประมาณ 137,500 ดอลลาร์สหรัฐ (216,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย)

และสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปมีค่าใช้จ่ายประมาณ 145,000 ดอลลาร์สหรัฐ (227,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย)

ซึ่งผู้สมัครที่ประสบความสำเร็จได้รับสัญชาติและมีสิทธิ์ถือหนังสือเดินทางของนาอูรู

เหตุใดนาอูรูจึงขายหนังสือเดินทาง

โครงการให้สัญชาตินี้มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการย้ายถิ่น และช่วยให้ผู้ถือหนังสือเดินทางสามารถไปเยี่ยมเยือนหลายๆ ประเทศได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า

แม้ว่าผู้คนจำนวนมากที่ซื้อหนังสือเดินทางของนาอูรูอาจไม่เคยไปเยือนประเทศแปซิฟิกเลย

แต่ข้อดีคือหากคุณถือหนังสือเดินทางของนาอูรูคุณจะสามารถเดินทางไปยังหลายๆ ประเทศได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า เช่น ฮ่องกง ไอร์แลนด์ สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหราชอาณาจักร


เช่นเดียวกับเกาะเล็กๆ อื่นๆ ในแปซิฟิกใต้ นาอูรูมีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากกการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีการประเมินว่าพื้นที่มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของนาอูรูไม่สามารถอยู่อาศัยได้

นอกจากนั้นประเทศนี้กำลังเผชิญกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งคุกคามพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่อยู่ต่ำ

เพื่อเป็นการสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถในการอยู่รอดของนาอูรู รัฐบาลได้จัดตั้งโครงการ Higher Ground Initiative (HGI) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะย้ายที่อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐานที่มีตกอยู่ในความเสี่ยงไปยังพื้นที่ที่สูงขึ้น
หมู่เกาะแปซิฟิกเป็นพื้นที่รับความเสี่ยงจากของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อนพื้นที่อื่นๆ ซึ่งทำให้อนาคตของผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวเริ่มมีความไม่แน่นอนมากขึ้น

นอกจากนี้ประเทศในแถบนี้ยังมีแผนงานขยายการผลิตอาหารในท้องถิ่น ฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติที่เสื่อมโทรม และบุกเบิกวิถีชีวิตแบบใหม่บนเกาะแปซิฟิก

ตามที่กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความสามารถในการฟื้นตัวของชาติของประเทศนาอูรูระบุว่า HGI เป็น "การดำเนินงานจากรุ่นสู่รุ่น" และ "มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดในระยะยาวและความอยู่รอดของนาอูรูในฐานะรัฐชาติที่มีอธิปไตย"

โครงการนี้ได้ชื่อว่าเป็น "การดำเนินการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศที่สำคัญที่สุดประการเดียวของนาอูรู"

ความสัมพันธ์ของออสเตรเลียกับนาอูรูเป็นอย่างไร?

ในฐานะเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิด ออสเตรเลียและนาอูรูมีความสัมพันธ์ที่ต่อกันมายาวนาน โดยที่ออสเตรเลียเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ความมั่นคง และการพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดของนาอูรู

ในเดือนธันวาคม 2024 นายกรัฐมนตรีแอนโทนี อัลบานีซี และประธานาธิบดีเดวิด ไวเอารานีบก อาเดียง ของนาอูรูได้ลงนามในสนธิสัญญานาอูรู-ออสเตรเลีย

ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยส่งเสริมความปลอดภัยและความมั่นคงทางเศรษฐกิจระหว่างกัน

นอกจากนั้นประเทศนาอูรูยังเป็นที่ตั้งของสถานกักกันผู้อพยพนอกชายฝั่งของออสเตรเลีย ซึ่งผู้ขอลี้ภัยที่เดินทางมาทางเรือจะถูกส่งไปกักตัวที่นั่น

ในทศวรรษ 1960 รัฐบาลออสเตรเลียเสนอให้อพยพชาวนาอูรูทั้งหมดไปอาศัยยังเกาะเคอร์ติสนอกชายฝั่งควีนส์แลนด์

สาเหตุจากความเสียหายเป็นวงกว้างจากการขุดฟอสเฟตโดยบริษัทของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอังกฤษในนาอูรู

นอกจากสร้างความเสียหายกับบริษัทต่างๆ นอกเหนือไปจากนั้นผลกระทบที่ตามมาทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าประเทศแห่งนี้อาจจะจะไม่เหมาะสมในการอยู่อาศัย

ในเวลานั้นออสเตรเลียไม่ได้ให้อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะเคอร์ติสกับนาอูรู แต่จะมอบสถานะพลเมืองออสเตรเลียแก่ชาวนาอูรูแทน

อย่างไรก็ตาม ในตอนนั้นชาวนาอูรูปฏิเสธที่จะย้ายไปเกาะเคอร์ติสตามข้อเสนอของออสเตรเลีย

และทำให้นาอูรูก็กลายเป็นประเทศเอกราชในปี 1968 และเริ่มดำเนินกิจการเหมืองของตนเองตั้งแต่นั้นมา

ออสเตรเลียช่วยเหลือประเทศในแปซิฟิกที่เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร

นาอูรูเป็นหนึ่งในหลายประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เผชิญกับผลกระทบร้ายแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และออสเตรเลียสนับสนุนการดำเนินการด้านสภาพอากาศในพื้นที่เหล่านี้ผ่านโครงการริเริ่มและข้อตกลงด้านเงินทุนต่างๆ

ซึ่งรวมถึงโครงการสนับสนุนสภาพภูมิอากาศและมหาสมุทรในแปซิฟิกระยะที่ 3 ในชื่อโครงการ Australian Humanitarian Partnership Disaster READY และ Pacific Resilience Facility

ในปี 2023 ออสเตรเลียและประเทศตูวาลูได้ประกาศข้อตกลงทั้งสองฝ่าย โดยแต่ละปีออสเตรเลียจะรับชาวตูวาลูจำนวน 280 คนที่ต้องเผชิญกับการพลัดถิ่นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

หลังการประกาศดังกล่าว เพนนี หว่อง รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคยินดีที่จะลงนามในข้อตกลงที่คล้ายคลึงกันกับออสเตรเลีย

A beach with a palm tree in the foreground
ประเทศนาอูรูประกาศขายหนังสือเดินทางเพื่อระดมทุนเพื่อช่วยบรรเทาความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Source: AAP / Ben McKay
หลังจากทำข้อตกลงถิ่นที่อยู่กับตูวาลูออสเตรเลียกล่าวว่าประตูยังเปิดกว้างสำหรับการทำข้อตกลงกับชาติแปซิฟิกอื่นๆ

ในขณะนั้น รองนายกรัฐมนตรี ริชาร์ด มาร์ลส์ กล่าวว่าออสเตรเลียต้องมีหน้าที่รับผิดชอบเพื่อให้แน่ใจว่าประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกจะไม่กลายเป็นพื้นที่ที่ด้อยพัฒนาที่สุดในโลก

“นี่เป็นขั้นตอนที่ฉันหวังว่าประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกจะยินดีให้ความร่วมมือ เพราะมันแสดงถึงก้าวสำคัญในการมีส่วนร่วมที่สำคัญของออสเตรเลียในมหาสมุทรแปซิฟิก” เขากล่าว

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

สามารถติดตามเราได้ในช่องทางใหม่ทาง Instagram ที่

Share
Published 21 February 2025 11:09am
By Jessica Bahr
Source: SBS


Share this with family and friends