'เมื่อลูกเงินไม่พอซื้อบ้าน' เสียงสะท้อนจากผู้เลือกตั้งในวิกฤตที่อยู่อาศัย

ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอย่างจุน เฟิง กำลังเผชิญผลกระทบในชีวิตประจำวันจากวิกฤตที่อยู่อาศัย

A woman in a colourful shirt stands in front of some plants.

จุน เฟิง อาศัยอยู่ในบ้านหลังเล็กสองห้องนอนร่วมกับลูกชายวัย 32 ปี ซึ่งยังไม่สามารถย้ายออกไปอยู่เองได้เพราะค่าใช้จ่ายสูงเกินไป Source: SBS / Cameron Carr

จุน เฟิง อาศัยอยู่ทางเขตตะวันตกของนครซิดนีย์มากว่า 25 ปีแล้ว เมื่อลูก ๆ เติบโตขึ้น เธอก็สังเกตได้ถึงความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง

“ตอนลูกยังเล็ก ไม่มีปัญหาอะไร แต่ตอนนี้พวกเขาทำงานแล้ว ก็ยังซื้อบ้านไม่ได้ มหาวิทยาลัยก็แพงมาก” เธอบอกกับ SBS News

ตั้งแต่ย้ายมาออสเตรเลียจากประเทศจีนในช่วงทศวรรษ 1990 เธอเห็นว่าค่าครองชีพที่นี่ค่อย ๆ แพงขึ้นเรื่อย ๆ และในฐานะแม่เลี้ยงเดี่ยว ชีวิตหลังเกษียณของเธอก็ไม่ง่ายเลย

ปัจจุบันเฟิงซึ่งบอกว่า

“อายุใกล้จะ 70 แล้ว ก็ยังต้องอาศัยอยู่ร่วมกับลูกชายวัย 32 ปีในบ้านหลังเล็กสองห้องนอน

LISTEN TO
SME interview  image

เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กคนไทยเผย ปรับตัวให้รอดอย่างไรในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจออสเตรเลีย

SBS Thai

24:51

เฟิงเข้าร่วมงานเวทีเสวนาการเมืองที่จัดโดย SBS ในย่านพารามัตตาทางตะวันตกของซิดนีย์เมื่อวันพฤหัสบดี

ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้สมัครจากเขตเลือกตั้งพารามัตตา,โฟลเลอร์, รี้ดและแบล็กส์แลนด์ ได้พบและพูดคุยกับประชาชนโดยตรง

แม้คนส่วนใหญ่จะเลือกติดสติกเกอร์ไว้ที่ป้าย “ค่าครองชีพ” ในฐานะประเด็นที่สำคัญที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่เฟิงเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่เลือก “ที่อยู่อาศัย”

เธอมองว่า ปัญหาหลักในตอนนี้คือราคาบ้านที่ไม่เอื้อต่อคนรุ่นใหม่ และเธอตั้งใจจะเลือกผู้สมัครที่สามารถทำให้ชีวิตของลูกชายและลูกสาวดีขึ้นได้

“มันเป็นปัญหาใหญ่ ลูกชายฉันอยากย้ายออกไปอยู่เอง แต่เงินไม่พอ เขาคิดว่าอาจจะอีกสักปีถึงจะเก็บเงินได้มากกว่านี้” เธอกล่าว

เฟิงยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกใครในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่เมื่อปี 2022 เธอเคยลงคะแนนให้พรรคแรงงาน (Labor)

เขตเลือกตั้งของเธอคือ ฟาวเลอร์ (Fowler) ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดในออสเตรเลีย

จากข้อมูลสำมะโนประชากรปี 2021 พบว่าผู้อยู่อาศัยอย่างน้อย 19% มีเชื้อสายเวียดนาม และอีกกว่า 14% มีพื้นเพมาจากจีน

ในอดีต เขตฟาวเลอร์เป็นฐานเสียงมั่นคงของพรรคแรงงานมาโดยตลอด แต่เกิดการพลิกล็อกครั้งใหญ่ในปี 2022

เมื่อ ได เล (Dai Le) ผู้สมัครอิสระ เอาชนะอดีตมุขมนตรีของรัฐนิวเซาท์เวลส์ คริสตินา คีนีลลี (Kristina Keneally) ซึ่งเป็นตัวแทนจากพรรคแรงงาน

คีนีลลีไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่หรือมีความเกี่ยวข้องกับชุมชน แต่ถูก “ส่งตัวลงสนาม” โดยพรรค ทำให้เกิดกระแสต่อต้านในท้องถิ่น นายกรัฐมนตรีแอนโทนี อัลบานีซี ถึงกับยอมรับว่า พรรคแรงงาน "ตัดสินใจผิดพลาด" ที่เลือกเธอลงสมัครในเขตนี้

สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคแรงงานเสนอชื่อ ทู เล (Tu Le) นักกฎหมายจากศูนย์ช่วยเหลือทางกฎหมายชุมชน และเป็นคนในพื้นที่โดยตรง เป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต ฟาวเลอร์
A woman in a red shirt and black jacket smiles to camera
ทู เล เป็นลูกสาวของผู้ลี้ภัยชาวเวียดนาม และเคยทำงานให้กับคริส เฮย์ส อดีต ส.ส. เขต Fowler4o Source: SBS / Cameron Carr
ก่อนการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว อดีต ส.ส. พรรคแรงงานเขต ฟาวเลอร์ อย่าง คริส เฮย์ส ซึ่งขณะนั้นเตรียมวางมือจากการเมือง ได้เสนอชื่อ ทู เล เป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง แต่พรรคกลับตัดสินใจเลือก คริสตินา คีนีลลี แทน

เมื่อถูกถามว่าพรรคแรงงานได้เรียนรู้จากบทเรียนการเลือกคีนีลลีแทนเธอหรือไม่ ทู เล ตอบกับ SBS News ในงานเวทีเสวนาว่า เธอเข้าใจดีถึง “ความยากลำบากที่ชุมชนกำลังเผชิญ”

“ฉันเป็นคนในพื้นที่ เป็นแม่ด้วย ฉันทุ่มเทกับการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะได้ผู้แทนที่อยู่ในรัฐบาล และสามารถส่งมอบสิ่งที่ชุมชนของเราต้องการจริง ๆ”
ผู้สมัครจากพรรคแรงงาน ทู เล (Tu Le) ระบุว่า การมี ส.ส. จากพรรคการเมืองหลัก จะช่วยให้สามารถผลักดันเรื่องต่าง ๆ ต่อรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีได้โดยตรง เพื่อประโยชน์ของชุมชน

“ฉันคิดว่านี่คือความแตกต่างสำคัญระหว่างผู้แทนที่อยู่ในรัฐบาล กับคนที่อยู่นอกวงอำนาจ”

ในการจะคว้าชัยในเขต ฟาวเลอร์ ทู เล จำเป็นต้องโน้มน้าวให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งกลับมาเทคะแนนให้พรรคแรงงาน แทนที่จะเลือกผู้สมัครอิสระ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ ได เล (Dai Le) ยังคงได้รับความนิยมสูงในพื้นที่

ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งยังไม่ตัดสินใจ

คณะกรรมการการเลือกตั้งออสเตรเลีย (AEC) คาดว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในออสเตรเลียราว ครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด 18 ล้านคน จะไปใช้สิทธิก่อนวันเลือกตั้ง 3 พฤษภาคม

อย่างไรก็ตาม มาร์ลีน เอซิอูซอร์ คือหนึ่งในผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจว่าเธอจะเลือกใคร เธอบอกกับ เอสบีเอส นิวส์ ว่า รู้สึกเหมือนนักการเมืองเพิกเฉยต่อคนอย่างเธอมานานหลายสิบปี

มาร์ลีนอาศัยอยู่ในบ้านสวัสดิการ (social housing) และอยากเห็นพรรคการเมืองที่ช่วยให้ผู้พิการมีโอกาสได้เป็นเจ้าของบ้านเช่นกัน
A woman in a grey sweater in a mobility scooter in a public square.
มาร์ลีน เอซิอูซอร์ มีพังผืดในปอด ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำงานของเธอ Source: SBS / Cameron Carr
“ฉันหวังว่าจะมีการช่วยเหลือคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์แบบฉันมากกว่านี้ โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยเดียวกัน ฉันไม่ใช่คนหนุ่มสาว และก็พิการ” มาร์ลีนกล่าว

“มันคงจะดีมาก ถ้ารัฐบาลสามารถช่วยให้คนที่พึ่งพาเงินช่วยเหลือด้านความพิการมีโอกาสได้เป็นเจ้าของบ้านของตัวเองบ้าง”

แม้เธอยังไม่ได้ตัดสินใจแน่ชัดว่าจะเลือกใคร แต่มาร์ลีนเริ่มเอนเอียงไปทางสนับสนุน ปีเตอร์ ดัตตัน ผู้นำฝ่ายค้านในปัจจุบัน

ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเทใจให้พรรคเล็กมากขึ้น

ทั้งพรรคแรงงานและพรรคร่วมฝ่ายค้าน (Coalition) อาจเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่ในการช่วงชิงคะแนนเสียงจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง เนื่องจากประชาชนเริ่มเบนความสนใจไปยังพรรคเล็กและผู้สมัครอิสระมากขึ้น

ในการเลือกตั้งระดับประเทศครั้งก่อน เกือบ หนึ่งในสามของผู้ลงคะแนนเสียง เลือกพรรคเล็กหรือผู้สมัครอิสระ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนสูงที่สุดในรอบเกือบ 100 ปี


ฌอน แรตคลิฟฟ์ นักรัฐศาสตร์จากบริษัทวิจัย Accent Research ระบุว่า ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนมากกำลังเบนความสนใจออกจากสองพรรคใหญ่ โดยการสนับสนุนรัฐบาลเสียงข้างมากกำลัง “ถดถอย” อย่างเห็นได้ชัด

เขาชี้ว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ อาจมีคนหันไปสนับสนุน พรรคกรีนส์ (Greens) และผู้สมัครอิสระมากขึ้น

“มีเพียง 56% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเท่านั้นที่คิดว่ารัฐบาลเสียงข้างมากจากพรรคแรงงานหรือพรรคร่วม (Coalition) เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับออสเตรเลีย”

แรตคลิฟฟ์กล่าวระหว่างการแถลงต่อสโมสรผู้สื่อข่าวแห่งชาติเมื่อวันอังคาร

เสียงจากกลุ่มชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม

วิลเลียม ซึง ประธานองค์กร Korean Australian Community Support กล่าวว่า กลุ่มชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมบางกลุ่มยังคงมีแนวโน้มจะสนับสนุนพรรคการเมืองใหญ่ เขากล่าวกับ เอสบีเอส นิวส์ ว่า

“เสียงของชุมชนต่างๆ บางครั้งก็ถูกมองข้าม หลายคนในชุมชนเกาหลีสนับสนุนพรรคใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นพรรคแรงงานหรือบางส่วนก็เลือกสนับสนุนพรรคลิเบอรัล”

และหนึ่งในความกังวลหลักของชาวเกาหลีในเขต ฟาวเลอร์ และบริเวณใกล้เคียง คือการมี พื้นที่ปลอดภัยสำหรับการรวมตัวของชุมชน
A man in a grey check suit smiles for a picture outside
วิลเลียม ซึง ผู้นำชุมชนเกาหลี กล่าวว่า ชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมให้ความสำคัญกับการมีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการรวมตัวและรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป Source: SBS / Cameron Carr
ซึงกล่าวว่า เขาอยากเห็นพรรคการเมืองใหญ่ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนกองทุนเพื่อความปลอดภัยของชุมชน ซึ่งจะสามารถนำมาใช้พัฒนาสถานที่และกิจกรรมของชุมชนได้

“เราต้องการหอประชุมชุมชนที่ได้รับการปรับปรุง และระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัยขึ้น” เขากล่าว

“หอประชุมมีความสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ สำหรับเด็ก ๆ และเพื่อการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมเกาหลี”


 ติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่  หรือ และ

Share

Published

By Cameron Carr
Presented by Chayada Powell
Source: SBS


Share this with family and friends