รั้วกันแมวที่ยาวที่สุดในโลกสร้างเสร็จแล้วกลางประเทศออสเตรเลีย เพื่อให้เกิด “เขตปลอดแมว” สำหรับสัตว์ป่าท้องถิ่น
หน่วยงานอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งออสเตรเลีย (Australian Wildlife Conservatory) เป็นผู้อยู่เบื้องหลังรั้วซึ่งยาว 44 กิโลเมตรดังกล่าว ซึ่งทางหน่วยงานกล่าวว่ามันเป็น “โครงการขนาดมหึมา”
“มันรวมไปถึงการติดตั้งเสารั้วเป็นจำนวน 8,500 ต้น ขึงลวดเป็นระยะทาง 400 กิโลเมตร และติดตั้งตาข่ายเป็นระยะทาง 130 กิโลเมตร และยังต้องติดตั้งคลิปหนีบรั้วอีกกว่าหนึ่งล้านชิ้น” เอกสารจากทาง AWC ระบุทางหน่วยงานกล่าวว่า เขตสงวนดังกล่าวนั้น จะเพิ่มจำนวนประชากรของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งกำลังถูกคุกคามทั่วทั้งประเทศเนื่องจากโดนแมวจรจัดสังหาร ได้อย่างน้อย 11 ชนิด
การปรับพื้นดินเพื่อติดตั้งรั้ว (ภาพ: Australian Wildlife Conservatory) Source: Australian Wildlife Conservatory
“ทั่วทั้งประเทศออสเตรเลีย แมวจรจัดสังหารสัตว์ท้องถิ่นเป็นจำนวนหลายล้านตัวทุกๆ คืน”
“ทั่วทั้งประเทศออสเตรเลีย แมวจรจัดสังหารสัตว์ท้องถิ่นเป็นจำนวนหลายล้านตัวทุกๆ คืน แมวและสุนัขจิ้งจอกเป็นเหตุผลหลักที่ออสเตรเลียมีอัตราการสูญพันธ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ย่ำแย่ที่สุดในโลก” เอกสารของ AWC ระบุ
พื้นที่ 9,390 เฮคตาร์ดังกล่าวอยู่ในอาณาบริเวณของเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่านิวเฮเวน ซึ่งอยู่ห่างไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอลิซสปริงส์เป็นระยะทาง 350 กิโลเมตร
ตามรายงาน พื้นที่ดังกล่าวนั้นได้กลายเป็นเขตปลอดแมวที่ใหญ่ที่สุดของภาคพื้นทวีปออสเตรเลียแล้ว
ขั้นตอนที่จะเกิดขึ้นต่อไปที่นิวเฮเวนก็คือ การกำจัดแมวจากภายในพื้นที่ซึ่งได้ล้อมรั้วไว้ ได้มีแมวจรจัดถูกกำจัดแล้วกว่า 60 ตัว
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งกำลังถูกคุกคามและได้สูญพันธ์ไปแล้วในหลายท้องที่ จะถูกนำเข้ามาปล่อยในบริเวณนี้อีกครั้ง ซึ่งก็รวมถึงตัวมาลา สัตว์ขนาดเล็กคล้ายกระต่ายและคล้ายจิงโจ้ ที่มีความสูง 30 เซนติเมตรก่อนหน้านี้ ทาง AWC ได้เคยกล่าวว่า ออสเตรเลียนั้นมี “วิกฤตการณ์แมวจรจัด”
ตัวมาลาจะมีชีวิตรอดได้เฉพาะในบริเวณที่ไม่มีแมวจรจัด (ภาพ: Australian Wildlife Conservatory) Source: Australian Wildlife Conservatory
งานวิจัยหนึ่งในปีค.ศ. 2017 พบว่า แมวจรจัดนั้นอยู่ในอาณาบริเวณกว่า 99.8 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่บนบกของประเทศประเทศออสเตรเลีย
“จำนวนประชากรแมวจรจัดทั้งหมดของออสเตรเลียนั้น เปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 2.1 ล้านตัวเมื่อมีจำนวนน้อย ไปจนถึง 6.3 ล้านตัวเมื่อมีฝนตกอย่างกว้างขวางทำให้มีเหยื่อเป็นจำนวนมาก” ดร. ซาราห์ เลกเก จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์กล่าว
“ในขณะนี้ แมวจรจัดกำลังบั่นทอนความพยายามของเหล่าผู้จัดการด้านการอนุรักษ์ และเป็นัยคุกคามต่อทีมงานอนุบาลพันธุ์สัตว์ทั่วประเทศออสเตรเลีย”
จนถึงปัจจุบันแมวจรจัดได้ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมของประเทศออสเตรเลียสูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 20 ชนิด
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอสไทย
ผู้เช่าบ้านลำบากสุดที่โฮบาร์ต