ฉลอง 20 ปีโรงเรียนภาษาไทยแห่งนครเมลเบิร์น

Thai Language School of Melbourne 5.jpg

นักเรียนของโรงเรียนภาษาไทยแห่งนครเมลเบิร์น Source: SBS / Parisuth Sodsai

ชุมชนไทยในเมลเบิร์นร่วมฉลองครบรอบ 20 ปีโรงเรียนภาษาไทยแห่งนครเมลเบิร์นอย่างคึกคัก คุยกับครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน ครูใหญ่คนปัจจุบัน ท่านทูตไทย และฟังเด็ก ๆ ร้องเพลงไทยปิดท้าย


คลิก ▶ ด้านบน เพื่อฟังสัมภาษ์ฉบับเต็ม

ฉลอง 20 ปีโรงเรียนภาษาไทยแห่งนครเมลเบิร์น

ชุมชนไทยในเมลเบิร์นร่วมฉลองครบรอบ 20 ปีโรงเรียนภาษาไทยแห่งนครเมลเบิร์นอย่างคึกคัก คุณมะลิวัลย์ มังกลา ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนเล่าถึงการก่อตั้งโรงเรียนอย่างล้มลุกคลุกคลาน คุณน้ำทิพย์ มอร์ ครูใหญ่คนปัจจุบันกล่าวถึงความท้าทายในการดำเนินงานและความหวังอยากเห็นการใช้หลักสูตรการสอนภาษาไทยแบบเดียวกันทั่วออสเตรเลีย และท่านเอกอัครราชทูตไทย กรุงแคนเบอร์รา อาจารี ศรีรัตนบัลล์ กล่าวถึงบทบาทที่สำคัญของโรงเรียนสอนภาษาไทย ที่มีต่อชุมชนออสเตรเลีย ปิดท้ายด้วยเสียงร้องเพลงของเด็กนักเรียน
Thai Language School of Melbourne 4.jpg
ครูใหญ่โรงเรียนภาษาไทยแห่งนครเมลเบิร์น (ซ้าย) และท่านเอกอัครราชทูตไทย กรุงแคนเบอร์รา อาจารี ศรีรัตนบัลล์ (ขวา) ร่วมกันตัดเค้กฉลอง 20 ปีการก่อตั้งโรงเรียนภาษาไทยแห่งนี้ Source: SBS / Parisuth Sodsai
Thai Language School of Melbourne 1.jpg
คุณมะลิวัลย์ มังกลา ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนภาษาไทยแห่งนครเมลเบิร์น Source: SBS / Parisuth Sodsai
คุณมะลิวัลย์ มังกลา ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนภาษาไทยแห่งนครเมลเบิร์น (Thai Language School of Melbourne) เล่าถึงช่วงเริ่มก่อตั้งโรงเรียนว่า

“ในปี 2001 เราเปิดห้องเรียนแรกอยู่ที่วัดธรรมรังษี เปิดอยู่ 3 เทอม จากนั้นก็ย้ายไปที่แบล็กเบิร์น ตอนระยะแรก ๆ มีนักเรียนอยู่เกือบร้อยคน ผู้ใหญ่เยอะกว่าเด็ก เราตั้งใจจะเปิดโรงเรียนสำหรับสอนเด็ก แต่พวกพ่อ ๆ ก็สนใจเรียนภาษาไทยมากกว่าลูก ลูกมาเพราะว่าแม่บังคับ แต่พ่อมาด้วยใจ ก็เลยมีพ่อ ๆ เยอะกว่าเด็กในช่วงแรก ๆ”

“ภูมิใจนะที่โรงเรียนเปิดมาในความดูแลของรัฐบาลมา 20 ปีแล้ว ภูมิใจมากที่โรงเรียนเติบโต และขอเป็นกำลังใจหนุนให้เอาภาษาไทยไปถึง VCE เหมือนภาษาอย่างอิตาเลียน เยอรมัน จีน หรือเวียดนาม”
Thai Language School of Melbourne 7 (2).png
คุณน้ำทิพย์ มอร์ ครูใหญ่คนปัจจุบันของโรงเรียนภาษาไทยแห่งนครเมลเบิร์น Source: SBS / Parisuth Sodsai
ด้าน คุณน้ำทิพย์ มอร์ ครูใหญ่คนปัจจุบันของโรงเรียนภาษาไทยแห่งนครเมลเบิร์น กล่าวว่าความท้าทายหลัก ๆ ในการดำเนินการของโรงเรียนนอกจากเรื่องงบประมาณแล้ว ยังเป็นเรื่องการขาดแคลนครู

“คุณครูถือเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของเรา เราจะมีการเปลี่ยนแปลงครูอยู่ตลอดเวลา เพราะส่วนใหญ่แล้ว ครูของเราจะเป็นนักเรียนไทยที่มาเรียนต่อในออสเตรเลีย พอวีซ่าเขาหมด เขาก็ต้องกลับบ้าน เพราะฉะนั้นเรามองว่าการแก้ไขปัญหาในระยะยาวคือการสร้าง Curriculum ที่สามารถใช้ได้ทั่วประเทศออสเตรเลีย ทุกรัฐควรจะใช้ Curriculum การสอนภาษาไทยฉบับเดียวกัน ก็จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในการสอน มีการหารือกันระหว่างโรงเรียนภาษาไทยในแต่ละรัฐ โครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ ซึ่งเรากำลังดูอยู่ว่าเราจะเริ่มอย่างไรก่อน”
Thai Language School of Melbourne 2 (2).jpg
เอกอัครราชทูตไทย กรุงแคนเบอร์รา อาจารี ศรีรัตนบัลล์ Source: SBS / Parisuth Sodsai
ท่านเอกอัครราชทูตไทย กรุงแคนเบอร์รา อาจารี ศรีรัตนบัลล์ อธิบายถึงบทบาทสำคัญของโรงเรียนสอนภาษาในชุมชนว่า

“การมีโรงเรียนภาษาชุมชน โดยเฉพาะภาษาไทย เป็นการให้โอกาสกับเด็ก ๆ ของครอบครัวคนไทยในออสเตรเลียได้เรียนรู้ภาษาที่เป็นของตนเองนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ และเรียนรู้วัฒนธรรมไทยที่สอดแทรกมากับการเรียนภาษา รวมทั้งเป็นโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย ซึ่งช่วยส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในออสเตรเลีย ที่เราเห็นทั่วไปที่นี่”

ฟังบทสัมภาษณ์ ฟังเสียงบรรยากาศในงาน และฟังการร้องเพลงของเด็ก ๆ ได้ในพอดคาสต์ฉบับเต็มที่นี่
คลิก ▶ เพื่อฟังพอดคาสต์
thai_300823_Thai Language School Mlebourne 20 Anniversary.mp3 image

ฉลอง 20 ปีโรงเรียนภาษาไทยแห่งนครเมลเบิร์น

SBS Thai

14:08
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share