ประหยัดเงินแถมรักษ์โลกกับกลุ่มพลังงานชุมชน

 Wind Farm and Solar Power Plant

Wind Farm and Solar Power Plant. Source: Getty

ในขณะที่ออสเตรเลียกำลังอยู่ในขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านในการเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน ประชาชนในชุมชนบางแห่งได้รวมตัวกันเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของตนเอง



กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

ชุมชน แบนนิสเตอร์ (Bannister) เป็นตัวอย่างของชุมชนที่ร่วมสร้างโครงการพลังงานเพื่อชุมชน และพวกเขาหวังว่าโครงการเหล่านี้จะสามารถให้ความรู้แก่ผู้อื่นเกี่ยวกับเรื่องพลังงานทดแทนได้

คุณ ดิมิที เทย์เลอร์ เป็นเกษตรกรเลี้ยงแกะในเมืองแบนนิสเตอร์ ซึ่งอยู่ห่างจากนครแคนเบอร์ราไปทางเหนือราว 100 กิโลเมตร

คุณ เทย์เลอร์ กล่าวว่า กังหันลมที่ทอดเงามายังฟาร์มของเธอ เป็นแรงบันดาลใจให้เธอตัดสินใจลงทุนในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน
ชุมชนเป็นเจ้าของโครงการนี้ ไม่ใช่บริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ เราเป็นเจ้าของและเป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการนี้
คุณ ดิมิที เทย์เลอร์

 ส่วนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในเมือง โกลเบิร์นมีคนในชุมชนจำนวน 300 คนเป็นเจ้าของ ซึ่งมีชื่อว่า ชุมชนพลังงานเมืองโกลเบิร์น 'Community Energy 4 Goulburn'

Solar Panel
ปัจจุบันมีกลุ่มพลังงานชุมชน ที่ขับเคลื่อนโดยคนท้องถิ่น 145 กลุ่มทั่วออสเตรเลีย Source: AAP

รองประธานโครงการ เอ็ด ซัตเทิล กล่าวว่า ฟาร์มแห่งนี้จะประกอบด้วยแผงโซลาร์เซลล์มากถึง 4,500 แผง และกลายเป็นโซลาร์ฟาร์มแห่งแรกในออสเตรเลียที่ดำเนินการโดยชุมชนโดยใช้แบตเตอรี่

คุณ ซัตเทิล กล่าวว่ากลุ่มพลังงานชุมชนนี้ ก่อตั้งขึ้นจากความคับข้องใจที่เรื่องนี้ไม่ได้รับการดำเนินงานอย่างจริงจังจากทางการหลังจากมีการวางแผนและหารือกันมา เป็นระยะเวลากว่า 8 ปี คุณ เอ็ด ซัตเทิล กล่าวว่า

"ผู้คนที่เบื่อหน่ายกับการขาดการดำเนินงานในเรื่องการพลังงานหมุนเวียนอย่างจริงจัง ทั้งในระดับรัฐและรัฐบาลกลาง”

กลุ่มพลังงานชุมชนในออสเตรเลีย

ปัจจุบันมีกลุ่มพลังงานชุมชน ที่ขับเคลื่อนโดยคนท้องถิ่น 145 กลุ่มทั่วออสเตรเลีย ซึ่งเพิ่มขึ้นสามเท่าตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา

 และปัจจุบันในออสเตรเลีย มีบ้านราวสามล้านหลังคาเรือน ที่ติดตั้งการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์
 คุณ คาร์ล ทีเดมัน นักวิจัยอาวุโสด้านการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศของ Climate Council of Australia ชี้ว่า

ไม่ว่าจะเป็นโครงการชุมชนขนาดใหญ่ หรือติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไม่กี่อัน บนหลังคาของคุณ และไม่ว่าจะเป็นพลังงานหมุนเวียนใดๆ ก็ตาม ถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ต่อการต่อสู้เรื่องสภาพอากาศ คุณ คาร์ล ทีเดมัน อธิบายว่า

"ในปัจจุบัน พลังงานไฟฟ้าจากกริดส่วนใหญ่ที่เราใช้ ผลิตโดยเชื้อเพลิงฟอสซิล ดังนั้นมันจึงเกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก แต่เมื่อมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงแสงอาทิตย์มากขึ้น ในกระบวนการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องถือว่าเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงฟอสซิล และมันถือเป็นชัยชนะครั้งใหญ่สำหรับการรณรงค์เรื่องสภาพอากาศ"


ส่วน ดร. เกเบรียล เคพา ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรพลังงานกระจายส่วน ของสถาบันเพื่อการวิเคราะห์พลังงาน เศรษฐศาสตร์ และการเงิน วิเคราะห์ว่า พลังงานแสงอาทิตย์สามารถเป็นแหล่งพลังงานราคาถูกและมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ดร. เกเบรียล เคพา เปิดเผยว่า

"ผู้คนได้รับค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อยในการส่งออกไฟฟ้าไปยังโครงข่ายไฟฟ้า แต่แน่นอนว่า การนำเข้าจากโครงข่ายมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นหลายครัวเรือนจึงนำพลังงานแสงอาทิตย์มาไว้บนหลังคา ซึ่งในปัจจุบัน คุณ สามารถระบบพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ที่บ้านได้ และมันจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายภายใน 3 ปี ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ คุณเสียแค่ค่าติดตั้งแผงโซล่า เซลล์ แค่ค่าระบบสุริยะเท่านั้น คุณไม่ต้องใช้เสาท้องถิ่นและเคเบิล ดังนั้นคุณจะประหยัดขึ้นเมื่อมีพลังงานแสงอาทิตย์ใช้"

 รัฐบาลรัฐนิวเซาธ์เวลส์ได้มอบเงินช่วยเหลือให้กับโครงการ ชุมชนพลังงานเมืองโกลเบิร์น มูลค่า 2.3 ล้านดอลลาร์

คุณ ซัทเทิล จากชุมชนพลังงานเมืองโกลเบิร์น กล่าวว่าเงินส่วนหนึ่งถูกใช้เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนอื่นๆ เขาอธิบายว่า

เงินส่วนหนึ่งคือนำไปใช้ในการจัดทำเอกสารการแบ่งปันความรู้เมื่อเราดำเนินการในโครงการนี้เสร็จสิ้น ซึ่งเป็นแผนแม่บทสำหรับชุมชนอื่น ๆ ทั่วประเทศที่คิดอยากจะเริ่มโครงการเหมือนเราได้
 เจ้าของฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ผู้นี้ ยังหวังว่าจะสามารถขายไฟฟ้าให้กับโครงข่ายได้ภายในสิ้นปีนี้ด้วย

 ส่วน คุณ เทย์เลอร์ จากพลังงานไฟฟ้าชุมชน แบนนิสเตอร์ กล่าวว่าเธอตั้งตารอที่จะได้เห็นว่าชุมชนอื่นๆ จะหันมาปรับใช้รูปแบบจำลองพลังงาน เธอเปิดเผยว่า

 "ฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโมเดลนี้จะขยายออกไปได้ และรู้สึกว่าโครงการพลังงานเพื่อชุมชนกำลังนี้กำลังปูทางไปสู่การใช้พลังงานยั่งยืน"

 
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 





 

 

 

Share