สิ่งที่ควรรู้ เมื่อต้องพาลูกไปห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาลในออสเตรเลีย

Children's Medical Appointment

ระบบการคัดแยกผู้ป่วยเป็นจุดแรกในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของผู้ป่วยตามความรุนแรงของอาการ Credit: FatCamera/Getty Images

การพาเด็กไปแผนกฉุกเฉินอาจเป็นเรื่องเครียดและสับสนสำหรับผู้ปกครอง ทั้งการรอคอยที่ยาวนานและความไม่แน่นอน เรามีข้อมูลการเตรียมตัวและการทำงานของแผนกฉุกเฉินที่โรงพยาบาลในออสเตรเลีย


ประเด็นสำคัญ
  • หากลูกของคุณป่วยหนัก ควรโทร 000 เพื่อเรียกรถฉุกเฉิน
  • จุดคัดแยกผู้ป่วยเป็นขั้นตอนแรกของการรักษาในแผนกฉุกเฉินที่โรงพยาบาล
  • เจ้าหน้าที่ทางแพทย์ควรให้ข้อมูลกับผู้ปกครองถึงผลการวินิจฉัยและแผนการรักษา
เมื่อใดที่คุณควรพาลูกไป(Emergency Department หรือ ED)? เมื่อใดควรไปพบ (GP) ก่อน? (Urgent clinic) หรือคลินิกดูแลผู้ป่วยเร่งด่วน (Priority care clinic) คืออะไร?

“เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ลูกสาวของฉันป่วยหนักมาก เธอมีไข้สูงประมาณ 4 วันในตอนนั้น เราไปพบแพทย์ และแพทย์จ่ายยาปฏิชีวนะให้ แต่เธอก็ยังไม่ดีขึ้น เธอไม่ยอมดื่มน้ำ ฉันมองดูหน้าอกของเธอ และเห็นว่าเธอหายใจลำบาก ซี่โครงของเธอดูดตัวเข้าไป ฉันเห็นว่าเธอทรมานมาก ตอนนั้นแหละที่ฉันรู้ว่า ต้องพาไปห้องฉุกเฉินแล้ว”

เบธานี เกอร์ลิง อาศัยอยู่ในซิดนีย์ เธอตัดสินใจพาลูกสาวไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล
Dr Matthew O'Meara.jpg
นพ.แมทธิว โอเมียรา แพทย์กุมารเวชที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลเด็กซิดนีย์
นายแพทย์แมทธิว โอเมียรา แพทย์กุมารเวชที่แนะนำว่าผู้ปกครองควรเชื่อมั่นในสัญชาตญาณของตนเอง
สัญชาตญาณนั้นอาจเกิดจากสัญญาณบอกเหตุหลายอย่าง บางครั้งผู้ปกครองอาจสังเกตว่าลูกดูไม่ค่อยตื่นตัว ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ไม่ค่อยเล่น อาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ หรือดูมีสีหน้าที่ซีดกว่าปกติหรือออกสีม่วงคล้ำ พวกเขาอาจไม่ค่อยดื่มน้ำ หรือปัสสาวะออกน้อย บางครั้งมันก็เป็นแค่ความรู้สึกว่าสิ่งนี้ไม่ถูกต้อง และผมอยากสนับสนุนให้ผู้ปกครองเชื่อมั่นในสัญชาตญาณนั้น
นพ.โอเมียรากล่าว
หากคุณกังวลเรื่องอาการของเด็ก นพ.โอเมียรากล่าวว่ามีบริการด้านสุขภาพหลายประเภทที่ออสเตรเลีย

“มีบริการสุขภาพหลายประเภท ประเภทที่เร่งด่วนที่สุดคือการโทร 000 เพื่อเรียกรถพยาบาล หากคุณคิดว่าลูกของคุณต้องการความช่วยเหลือแบบเร่งด่วน เช่น หากพวกเขาหายใจลำบาก สีหน้าผิดปกติ หรือคุณคิดว่าพวกเขาหยุดหายใจ ไม่รู้สึกตัว หรือกำลังชัก”
Doctor and paramedics helping child
If you are worried about your child and need help immediately call Triple Zero for an ambulance. หากคุณคิดว่าลูกต้องการการดูแลทางแพทย์ด่วน ควรโทร 000 เพื่อเรียกรถฉุกเฉิน Credit: kali9/Getty Images
อย่างไรก็ตามแผนกฉุกเฉินที่โรงพยาบาลมีสำหรับกรณีที่เด็กต้องการการดูแลอย่างเร่งด่วน

“หรือคุณอาจลองดูว่าแพทย์จีพีหรือคลินิกฉุกเฉินให้บริการได้หรือไม่ เช่น หากเด็กมีปัญหาการหายใจแต่ไม่รุนแรง สีหน้าอาจดูผิดปกติ ดื่มน้ำน้อยกว่าปกติ หรือดูไม่ค่อยกระฉับกระเฉง หรือเมื่อคุณรู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติ และอยากพาเด็กไปพบแพทย์ภายในวันนี้หรือพรุ่งนี้ ในกรณีนี้ การไปพบแพทย์ทั่วไปหรือคลินิกเร่งด่วนเป็นทางเลือกที่ดี”

 แล้วต้องทำอย่างไร หากคุณต้องพาเด็กไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล?

“ไตรอาจ” (Triage) หรือจุดคัดแยกอาการผู้ป่วยเป็นจุดแรกในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของผู้ป่วยตามความรุนแรงของอาการ

พาเมลา โบลด์ หัวหน้าหน่วยพยาบาลของที่ซิดนีย์อธิบายว่า

“พยาบาลที่จุดคัดกรองจะสามารถตรวจและประเมินอาการของเด็กตามระดับความเร่งด่วนที่ควรได้รับการรักษา จากนั้นจะมีการกำหนดระดับความเร่งด่วนตามอาการ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการหนักที่สุดจะได้รับการดูแลก่อน ส่วนผู้ป่วยที่อาการน้อยกว่าจะได้รับการดูแลในเวลาที่เหมาะสม”
Child having stomach ache
ข้อมูลสุขภาพของเด็ก เช่น อาการแพ้ ยาที่ใช้ และโรคประจำตัว เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่ที่แผนกฉุกเฉิน Credit: ozgurcankaya/Getty Images
การประเมินอาการอิงตามความเร่งด่วนของภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต โดยเคสที่วิกฤตที่สุดจะได้รับลำดับความสำคัญสูงสุด
การประเมินนี้แตกต่างกันไปในแต่ละกรณี เพราะโรคและการบาดเจ็บแต่ละประเภทอาจถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินได้

อย่างไรก็ตาม คุณโบลด์แนะนำให้เตรียมข้อมูลส่วนตัวไว้ให้พร้อม ก่อนเดินทางไปแผนกฉุกเฉิน

“เมื่อคุณมาที่แผนกฉุกเฉินของเรา ผู้ปกครองควรเตรียมบัตรเมดิแคร์ (Medicare) หรือข้อมูลด้านสุขภาพไว้ให้พร้อม รวมถึงที่อยู่กับหมายเลขโทรศัพท์ด้วย เพื่อที่เราจะได้ติดต่อคุณได้”

 ข้อมูลสุขภาพของเด็กได้แก่ อาการแพ้ ยาที่ใช้อยู่ และโรคประจำตัว

อาจรวมถึงอาการที่เกิดขึ้น เวลาที่เริ่มมีอาการ ปัจจัยที่ทำให้อาการแย่ลง และการรักษาที่ได้ลองไปแล้ว

นพ.แมทธิว โอเมียราอธิบายขั้นตอนหลังจากที่ผลการประเมินสรุปว่าเด็กเป็นผู้ป่วยที่ต้องรอการรักษา

“จากนั้น พยาบาล แพทย์ หรือจะประเมินอาการอย่างละเอียด ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และพิจารณาว่าจำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมหรือไม่ เช่น การตรวจเลือดหรือเอกซเรย์ เพื่อวางแผนการรักษา”
Sad mother hugging her young daughter
เจ้าหน้าที่อาจต้องสังเกตอาการเด็กระยะหนึ่ง ก่อนตัดสินใจเกี่ยวกับแผนการรักษา Source: iStockphoto / chameleonseye/Getty Images
ทั้งนี้ เด็กอาจต้องได้รับการสังเกตอาการเป็นระยะหนึ่งก่อนจะตัดสินใจเกี่ยวกับแผนการรักษา
เด็กส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้หลังจากเข้ารับการดูแลที่แผนกฉุกเฉิน แต่บางรายอาจต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลาหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม หากกรณีของลูกคุณไม่เร่งด่วนเท่าผู้ป่วยรายอื่น คุณอาจต้องรอนานกว่าปกติ

อย่างไรก็ตาม เมื่อการวินิจฉัยอาการที่แผนกฉุกเฉินสิ้นสุดลง คุณจะได้รับข้อมูลต่อไปนี้

“คุณควรรู้ว่า เราคิดว่าลูกของคุณเป็นอะไร เราวินิจฉัยว่าอย่างไร ควรทำอะไรเมื่อกลับบ้าน สิ่งใดที่ควรกังวลและควรขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ และวิธีจัดการกับสิ่งง่าย ๆ เช่น อาการปวด การลดไข้ และการให้ของเหลว”

นอกจากนี้ บุคลากรทางการแพทย์ในแผนกฉุกเฉินควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาและการรักษา ผลกระทบและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
พวกเขาจะให้คำแนะนำว่าควรไปที่ไหน หากบุตรหลานต้องการการดูแลเพิ่มเติมด้วย

“คุณควรได้รับข้อมูลเป็นเอกสารหรือแผ่นพับ และควรเป็นภาษาที่คุณถนัดด้วย เพื่ออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น และเราควรติดต่อกับแพทย์ประจำของคุณ ส่งสรุปการรักษาไปให้เขา หรือมอบสรุปให้คุณนำไปมอบให้แพทย์เอง”

คุณสามารถใช้บริการแปลภาษาและล่ามฟรีได้ที่เบอร์ 13 14 50

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หรือเว็บไซต์ของโรงพยาบาลใกล้บ้านคุณ


Australia Explained เป็นพอดคาสต์ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตใหม่ในออสเตรเลีย

คุณสามารถส่งคำถามหรือไอเดียหัวข้อที่น่าสนใจมาได้ที่

ติดตามเอสบีเอส ไทย ได้อีกทาง | |

ฟังพอดคาสต์ของเอสบีเอส ไทยผ่านแอปพลิเคชัน SBS Audio ดาวน์โหลดจาก หรือจาก  

Share