เจ้าหน้าที่เตือนประชาชนให้ระมัดระวังข้อมูลข่าวสารปลอมเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
นางเคอร์รี แชนท์ (Kerry Chant) หัวหน้าหน่วยงานด้านสาธารณสุขรัฐนิวเซาท์เวลส์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ชาวออสเตรเลียควรใช้ความระมัดระวังในการมีปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย
“ดิฉันได้รับโพสต์บนโซเชียลมีเดียจำนวนมากที่มีข้อมูลผิด ๆ เช่น กินอาหารบางชนิดแล้วจะติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือแม้กระทั่งไปบางสถานที่ สิ่งนี้มีแต่จะสร้างความวิตกกังวลกับชุมชน ในช่วงเวลาเดียวกับที่เรากำลังทำให้แน่ใจว่าเราดำเนินการอย่างระมัดระวังในทุกขั้นตอน” นางแชนท์กล่าว
“เราต้องการให้ผู้ที่เพิ่งเดินทางมาจากจีน โดยเฉพาะในมณฑลหูเป่ย์รู้สึกสบายใจที่จะมารับการตรวจเชื้อ พร้อมกับให้ความมั่นใจกับบุคคลเหล่านั้นว่าระบบสาธารณสุขของเราจะดูแลอย่างดี ทั้งการกักแยกดูอาการ รวมถึงปกป้องคนทำงานด้านสุขภาพ และปกป้องชุนชนในวงกว้าง”
ทั้งนี้ การแถลงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังมีการแชร์ข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนา ทั้งในออสเตรเลีย และทั่วโลก เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลผิดพลาดที่มีการแชร์บนโซเชียลมีเดีย
![Dr Kerry Chant talks to reporters.](https://images.sbs.com.au/drupal/yourlanguage/public/414bf824-5e90-44e0-95f9-e42c9bd4d36d_1580347302.jpeg?imwidth=1280)
Dr Kerry Chant talks to reporters. Source: AAP
โพสต์อาหารปนเปื้อนโคโรนา-ย่านอันตรายในซิดนีย์
ในออสเตรเลีย มีโพสต์บนเฟซบุ๊กที่ได้รับการแชร์นับร้อยครั้งที่อ้างว่า มีอาหารบางประเภทและสถานที่บางแห่งในนครซิดนีย์ที่มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งมีการค้นพบการแพร่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ของจีน เมื่อปลายเดือนธันวาคมปีก่อน
โพสต์หนึ่งที่เผยแพร่มาตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ระบุข้าวชนิดต่าง ๆ ขนมคุกกี้ และหัวหอมชุบแป้งทอด เป็นอาหารที่มีไวรัสปนเปื้อนอยู่ภายใน นอกจากนี้ ยังมีการอ้างว่า สำนักโรคติดต่อ หรือ Bureau of Diseasology (ชื่อปลอม) ได้ทำการตรวจสอบ และพบเชื้อไวรัสในเมืองต่าง ๆ ในนครซิดนีย์
ด้านหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่นรัฐนิวเซาท์เวลส์กล่าวยืนยันว่า สถานที่ซึ่งมีการระบุไว่ในโพสนั้นไม่พบอันตรายใด ๆ ต่อผู้เยี่ยมเยือน และรายชื่ออาหารที่กล่าวอ้างก็ไม่ได้ปรากฎในคำแนะนำและรายการอาหารเรียกคืนของรัฐนิวเซาท์เวลส์
คลิปตลาดอู่ฮั่น
มีคลิปวิดีโอบนเฟซบุ๊กที่ได้รับการเข้าชมมากถึง 88,000 ครั้ง บันทึกภาพที่ระบุว่าเป็นตลาดในเมืองอู่ฮั่น โดยอ้างว่า โคโรนาไวรัสได้แปรสภาพกลายเป็นรูปทรง แต่ความจริงแล้ว คลิปดังกล่าวถูกถ่ายที่ตลาดในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งแสดงให้เห็นสัตว์ที่ตายแล้ว เช่น หนู งู และค้างคาว ถูกนำมาวางขายในตลาด
โพสต์เฟซบุ๊กที่สร้างความเข้าใจผิดนี้ เผยแพร่โดยผู้ใช้งานเฟซบุ๊กในประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม จากการค้นหาย้อนกลับโดยเทียบเคียงจากภาพนิ่งช่วงหนึ่งในวิดีโอ พบว่า มาจากคลิปวิดีโอบนเว็บไซต์ยูทูป ที่มีการอัพโหลดไว้เมื่อ 20 ก.ค.2019 ที่ตลาดลังโกวัน ในจังหวัดซูลาเวซีตอนเหนือ ในประเทศอินโดนีเซีย
![Dead bats in the video.](https://images.sbs.com.au/drupal/yourlanguage/public/eb603605-de44-42f3-95f5-cde857d41ac8_1580347302.png?imwidth=1280)
Dead bats in the video. Source: Facebook
คาดการณ์ตัวเลขผู้เสียชีวิตปลอม
ในประเทศศรีลังกา มีโพสต์เฟซบุ๊กที่ได้รับการแชร์ไปนับพันครั้งที่อ้างว่า แพทย์ได้คาดคะเนการเสียชีวนในเมืองอู่ฮั่นว่า ประชากรทั้งหมด 11 ล้านคนจะเสียชีวิตทั้งเมืองจากไวรัสโคโรนา โดยข้อมูลดังกล่าวเป็นของปลอม โดยรัฐบาลจีนยังไม่เคยคาดการณ์ตัวเลขผู้เสียชีวิตมาก่อน นอกจากนี้ยังมีการอ้างว่า การรับประทานเนื้องูจงอางจีนสามารถทำให้ได้รับเชื้อไวรัสโคโรนาได้ ซึ่งในส่วนนี้ยังไม่มีพบความเชื่อมโยง
ถึงแม้จะยังไม่มีวัคซีนในการรักษา ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) ระบุว่า ผู้ป่วยส่วนมากจะสามารถฟื้นฟูอาการให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง
น้ำเกลือกลั้วปาก (ไม่) ฆ่าไวรัสโคโรนา
มีโพสต์เป็นจำนวนมากในเหวยโบ๋ โซเชียลมีเดียของจีน รวมถึงในทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก ที่มีผู้คนแชร์ในช่วงเดือนมกราคม ที่อ้างว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจชาวจีนได้บอกให้ผู้คนกลั้วปากด้วยน้ำเกลือเพื่อป้องกันการระบาดของไวรันสโคโรนา แต่เรื่องดังกล่าวเป็นการหลอกลวง ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า น้ำเกลือจะไม่ฆ่าเชื้อไวรัส และขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อและหยุดแชร์ข้อมูลทางการแพทย์ผิด ๆ ที่มีการเผยแพร่ในโลกออนไลน์
นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกได้กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า ไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า น้ำเกลือนั้นสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้
![1.png](https://images.sbs.com.au/drupal/yourlanguage/public/48e5b8e9-e2e2-419d-ae9b-6f3adc1658f8_1580347303.png?imwidth=1280)
ทฤษฎีสมคบคิด
มีโพสต์จำนวนมากบนโซเชียลมีเดีย ทั้งในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ที่อ้างว่าเชื้อไวรัสโคโรนาถูกสร้างขึ้นอย่างมีจุดประสงค์ บางแนวคิดอ้างว่า ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) เป็นผู้สร้างไวรัสชนิดนี้ขึ้นมา
ในบางโพสต์ พบว่ามีชุดข้อมูลด้านสิทธิบัตรมาสนับสนุน แต่ทั้งนี้ชุดข้อมูลเหล่านั้นมาจากการต่อสู้กับไวรัสโคโรนาต่างสายพันธุ์ เช่น สิทธิบัตรเกี่ยวกับการผลิตวัคซีน
![A post shared last week.](https://images.sbs.com.au/drupal/yourlanguage/public/f1bb66b4-4f68-4f7e-9776-c07705510725_1580347303.png?imwidth=1280)
A post shared last week. Source: Facebook
ภาพตัดต่อสถานการณ์โคโรนาในฝรั่งเศส
ในประเทศฝรั่งเศส มีหลายโพสต์ในโซเชียลมีเดียที่กระจายอย่างแพร่หลาย โดยอ้างว่า มีผู้ได้รับเชื้อไวรัสโคโรนาในเขต วาล โดอิส (Val D’Oise), ซาวา (Savoie), โล ออง กาโรน (Lot-en-Garonne) และเขตปีเรเน-โอริองตัล (Pyrenees-Orientales) โดยข้อมูลดังกล่าวมีภาพประกอบเพื่อทำให้เหมือนมาจากแหล่งข่าวในฝรั่งเศส
Image
แต่อย่างไรก็ตาม ภาพดังกล่าเป็นภาพตัดต่อ และยังไม่มีการยืนยันผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาจากฝรั่งเศสจนถึงขณะนี้
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
![Image for read more article 'เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย'](https://images.sbs.com.au/dims4/default/07e585c/2147483647/strip/true/crop/4535x2551+0+0/resize/1280x720!/quality/90/?url=http%3A%2F%2Fsbs-au-brightspot.s3.amazonaws.com%2Fdrupal%2Fyourlanguage%2Fpublic%2Fpodcast_images%2Fromance_scam_with_sbs_thai_logo_copy.jpg&imwidth=1280)
รู้ทันกลโกงแก๊งพิศวาสออนไลน์