คำมั่นที่จะลดจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นอาจกลายเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ย้อนกลับมาสร้างปัญหาให้พรรคร่วมฝ่ายค้าน (Coalition) หลังพ่ายแพ้อย่างหนักในการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์
หนึ่งในนโยบายหลักของพรรคในการหาเสียง คือการเสนอให้ลดจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นสุทธิลง 100,000 คน (ซึ่งหมายถึงส่วนต่างระหว่างจำนวนผู้เดินทางเข้าและออกจากออสเตรเลีย)
แม้พรรคร่วมจะระบุว่าการลดจำนวนนี้จะเน้นไปที่กลุ่มแรงงานทักษะสูงเป็นหลัก แต่ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดชัดเจนว่าจะลดจากประเภทวีซ่าใดบ้าง ส่งผลให้ถูกวิจารณ์อย่างหนักในช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียง
ไซมอน เวลช์ ผู้อำนวยการกลุ่มเรดบริดจ์ (Redbridge) ให้สัมภาษณ์กับ เอสบีเอส นิวส์ (SBS News) ว่า จุดยืนของพรรคร่วมฝ่ายค้านด้านนโยบายคนเข้าเมืองนั้น “ย้อนศรกลับมาเล่นงานตัวเอง”
“ในขณะที่ประชาชนต้องการความหวังและนโยบายที่สร้างสรรค์ ฝ่ายตรงข้ามกลับเสนอแต่มุมมองด้านลบ” ไซมอน เวลช์ กล่าว
“พวกเขาเลือกสื่อสารในแง่ลบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนโยบายคนเข้าเมือง การทำงานจากที่บ้าน หรือข้าราชการ”
นโยบายของพรรคร่วมฝ่ายค้านกระทบต่อความรู้สึกของชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม
ปีเตอร์ ดัตตัน ผู้นำพรรคเสรีนิยมที่พ้นตำแหน่งไปแล้ว เคยวิเคราะห์การเชื่อมโยงจำนวนผู้อพยพระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2022–23
ซึ่งแตะ 536,000 คน เข้ากับปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยและการเพิ่มขึ้นของราคาบ้าน โดยกระทรวงการคลังคาดว่าจำนวนนี้จะลดลงเหลือประมาณ 260,000 คนในปีหน้า
แม้ดัตตันจะยืนยันว่าจะไม่ลดจำนวนวีซ่าคู่สมรสและวีซ่าทำงานระยะสั้นแบบ Working Holiday
แต่เขาให้คำมั่นว่าจะลดจำนวนนักเรียนต่างชาติ ด้วยการขึ้นค่าวีซ่า และลดจำนวนที่นั่งในมหาวิทยาลัยของรัฐลง 25%
เวลช์ให้ความเห็นว่า สำหรับชุมชนผู้ย้ายถิ่น ท่าทีเหล่านี้กลับผลักผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกห่างจากพรรคร่วมฝ่ายค้าน
เขาอธิบายว่าในกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้ย้ายถิ่น มีอยู่สองกลุ่มคือ กลุ่มที่ตั้งรกรากมานานแล้ว และกลุ่มใหม่ที่อยู่ใน “ระยะกำลังเติบโต”
ซึ่งมีอัตราการอพยพเข้าออสเตรเลียสูงขึ้น เช่น กลุ่มชุมชนเชื้อสายจีนและอินเดีย
สำหรับกลุ่มหลังนี้ เวลช์กล่าวว่า “นโยบายคนเข้าเมืองของพรรคร่วมฝ่ายค้านถือเป็นด้านลบที่ชัดเจน”
ในขณะที่ประชาชนต้องการความหวังและนโยบายที่เป็นบวก พวกเขากลับเสนอแต่มุมมองด้านลบ” เวลช์กล่าว
“ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนโยบายคนเข้าเมือง การทำงานจากที่บ้าน หรือเรื่องข้าราชการ”
เวลช์ให้ความเห็นว่า สำหรับชุมชนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ คำกล่าวและท่าทีเหล่านี้กลับทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งหันหลังให้พรรคร่วม
ในกลุ่มหลังนี้ ซึ่งรวมถึงชุมชนเชื้อสายจีนและอินเดีย เวลช์กล่าวว่า
นโยบายคนเข้าเมืองของพรรคร่วมฝ่ายค้านเป็นจุดที่สร้างผลกระทบในทางลบอย่างแท้จริงไซมอน เวลช์
“สำหรับครอบครัวที่กำลังคิดอยากพาญาติมาอยู่ด้วย เพราะชุมชนเหล่านี้ยังอยู่ในช่วงเติบโต นโยบายของพรรคเสรีนิยมจึงกลายเป็นอุปสรรคชัดเจนสำหรับพวกเขา” เวลช์กล่าว
สิ่งนี้สะท้อนออกมาอย่างชัดเจนจากผลการเลือกตั้งในซิดนีย์และเมลเบิร์น
พรรคแรงงานยังคงสามารถรักษาที่นั่งในเขต Hawke, Gorton และ Chisholm ในรัฐวิกตอเรีย รวมถึง Parramatta และ Reid ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ไว้ได้
แม้ผลสำรวจช่วงต้นจะชี้ว่าเขตเหล่านี้มีการแข่งขันสูง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ
ศูนย์ช่วยเหลือผู้ขอลี้ภัย (Asylum Seeker Resource Centre) ระบุว่า ผลการเลือกตั้งสะท้อนให้เห็นว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งปฏิเสธการเมืองแบบสร้างความกลัวและความแตกแยก
“ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแสดงออกด้วยความเห็นอกเห็นใจ และถึงเวลาที่ผู้แทนราษฎรและผู้นำทางการเมืองควรสะท้อนสิ่งนี้ในรัฐสภาชุดใหม่”
เจน ฟาเวโร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของศูนย์ช่วยเหลือผู้ขอลี้ภัย (Asylum Seeker Resource Centre) กล่าวในแถลงการณ์
ตัวเลขผู้ย้ายถิ่นถูกใช้เป็น ‘อาวุธ’ ทางการเมือง
ในเอกสารวิชาการเมื่อเดือนมีนาคม ศาสตราจารย์กิตติคุณ ปีเตอร์ แมกโดนัลด์ และศาสตราจารย์อลัน แกรมเลน จากศูนย์วิจัยเฉพาะทางด้านการย้ายถิ่นฐานและการเคลื่อนย้ายประชากรของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU Migration Hub)
ระบุว่า ตัวเลขผู้อพยพย้ายถิ่นถูกนำไปใช้เป็น “เครื่องมือทางการเมือง” เพื่อ “กระตุ้นความตื่นตระหนกและชักจูงผู้มีสิทธิเลือกตั้ง”
พวกเขาอธิบายว่า ตัวเลขผู้อพยพระดับสูงในปี 2022–23 มีสาเหตุหลายประการ เช่น
การหลั่งไหลเข้ามาของนักเรียนต่างชาติ นักท่องเที่ยวแบบแบ็กแพ็กเกอร์ และแรงงานชั่วคราวที่ไม่สามารถเดินทางได้ในช่วงการระบาดของโควิด-19
การต่ออายุวีซ่าหลายประเภทภายใต้รัฐบาลมอร์ริสันและรัฐบาลอัลบาเนซี ทั้งนี้ แมกโดนัลด์และแกรมเลนคาดว่าจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นจะลดลงอย่างมากในปีต่อไป
อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนนักเรียนต่างชาติที่ลดลง และการขยายเวลาวีซ่าหลายประเภทที่ใกล้จะหมดอายุ
ศาสตราจารย์ทั้งสองคาดการณ์ว่า ระดับการอพยพย้ายถิ่นจะลดลงอย่างมากในอีก 3 ถึง 4 ปีข้างหน้า
“ตั้งแต่ประมาณปี 2027 เป็นต้นไป เมื่อจำนวนผู้เดินทางออกจากประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การอพยพย้ายถิ่นสุทธิน่าจะลดลงอย่างรวดเร็ว” ทั้งสองระบุ