รัฐบาลออสฯ ยืดโครงการวีซ่าไฮเทคเหตุคนยื่นขอน้อย

NEWS: รัฐบาลออสเตรเลียยืดโครงการวีซ่าซึงออกแบบไว้ให้บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ว่าจ้างผู้มีความสามารถพิเศษทางเทคโนโลยีได้ง่ายดายขึ้นเนื่องจากมีจำนวนผู้ยื่นขอน้อย

Image of Gilmour Space Technologies employees in front of one of their rockets

บริษัทกิลมอร์สเปซเทคโนโลยีส์ ได้ว่าจ้างลูกจ้างทักษะสูงจากต่างประเทศสี่คนผ่านโครงการเสาะหาผู้มีความสามารถพิเศษจากทั่วโลก Source: Image source: Supplied: Gilmour Space Technologies

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can read the full version of this story in English on SBS News .

รัฐบาลออสเตรเลียยืดโครงการวีซ่าซึงออกแบบไว้ให้บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ว่าจ้างชาวต่างชาติผู้มีทักษะสูงได้ง่ายดายขึ้นเนื่องจากมีจำนวนผู้ยื่นขอน้อยในช่วงปีแรก

รัฐมนตรีตรวจคนเข้าเมือง นายเดวิด โคลแมน ประกาศในวันนี้ว่าโครงการนำร่องเพื่อเสาะหาผู้มีความสามารถพิเศษจากทั่วโลกนั้นจะกลายเป็นโครงการถาวรส่วนหนึ่งของโปรแกรมการย้ายถิ่นฐานสู่ประเทศออสเตรเลีย

ลูกจ้างทักษะสูงจากต่างประเทศนั้นนำทักษะที่ไม่เหมือนใครตลอดจนความรู้สู่ธุรกิจต่างๆ ของออสเตรเลีย ทำให้เกิดการสร้างงานเพิ่มมากขึ้นสำหรับชาวออสเตรเลีย

ในจำนวนธุรกิจ 23 รายซึ่งเข้าร่วม มีเพียงห้ารายเท่านั้นที่เป็นธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจซึ่งก่อตั้งมานานแล้วไม่ว่าจะเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตโคลส์ หรือ(บริษัทเหมืองแร่)ริโอตินโต
دیوید کلمن وزیر مهاجرت استرالیا
Source: AAP
ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง นายจอร์แดน ทิว หุ้นส่วน ณ สำนักงานกฎหมาย ฮันนานทิวลอว์เยอส์ กล่าวว่า มีความเข้าใจผิดอยู่เป็นอย่างมากเกี่ยวกับโครงการใหม่ดังกล่าว

“มีคนถามผมตลอดเวลาว่า ‘คุณเล่าให้ฟังเกี่ยวกับวีซ่าสตาร์ทอัพได้หรือไม่?’” เขากล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“มันถูกคิดว่าเป็นเช่นนั้น ว่ามันเป็นวีซ่าวิเศษสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ และมันก็ไม่ใช่เช่นนั้นเลยแม้แต่น้อย”

ในเกือบทุกกรณี โครงการดังกล่าวไม่เหมาะสมกับลูกค้าในกลุ่มสตาร์ทอัพของเขาแต่อย่างใด

“มันเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาก และมีกระบวนการบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้นมาที่คุณจำเป็นต้องทำ” คุณทิว กล่าว

สำนักงานรัฐมนตรีตรวจคนเข้าเมืองไม่สามารถระบุได้ว่ามีผู้เข้าใช้วีซ่าดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าไร แต่ก็เป็นที่เข้าใจว่าตัวเลขนั้นอยู่ในระดับต่ำ

เสียงเรียกร้องให้ลดค่าธรรมเนียม

แม้ว่าจะมีปัญหามาตั้งแต่แรก คุณทิวกล่าวว่าเขาสนับสนุนให้โครงการดังกล่าวนั้นดำเนินต่อไป แต่เรียกร้องให้มีการลดค่าธรรมเนียมการสมัครที่อาจถึง $10,000 ดอลลาร์ ให้ต่ำลง

“ธุรกิจสตาร์ทอัพนั้นอาจไม่มีเงินมากขนาดนั้น และก็ต้องการที่จะใช้มันเพื่อพัฒนาธุรกิจของพวกเขา การจ่ายเงินก้อนโตเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมนั้นเป็นปราการอย่างหนึ่ง” เขากล่าว

ประธานของกลุ่มที่ปรึกษาสตาร์ทอัพ (Startup Advisory Panel) คุณอเล็กซ์ แมคคอลีย์ กล่าวว่าการตัดสินใจของรัฐบาลที่จะดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไปนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทเทคโนโลยีรายใหม่ๆ

“เรามีความคาดหวังสูงสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพต่างๆ ในออสเตรเลีย และก็เห็นกับตาว่าโครงการดังกล่าวนั้นมีคุณค่าเพียงใด เราต้องการจะประสบความสำเร็จในระดับโลกอย่างรวดเร็ว แต่ในการที่จะทำเช่นนั้นเราจะเป็นจะต้องเข้าถึงผู้มีความสามารถพิเศษในโลกนี้” คุณแมคคอลีย์ กล่าว

“เราทราบจากช่วงนำร่อง ว่าวีซ่าเหล่านี้อาจสามารถช่วยให้ธุรกิจต่างๆ เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ซึ่งความเติบโตนี้ก็จะกลับมาช่วยให้บริษัทสามารถว่าจ้างและฝึกฝนผู้คนในท้องที่เพื่อทำตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นได้”

โครงการดังกล่าวทำให้วิศวกรจรวดพุ่งมายังออสเตรเลีย

บริษัทจรวดสตาร์ทอัพในนครบริสเบน กิลมอร์สเปซเทคโนโลยีส์ (Gilmore Space Technologies) ได้ว่าจ้างวิศวกรจรวดจำนวนสี่คนผ่านโครงการดังกล่าว และยังวางแผนที่จะจ้างเพิ่มเติมอีก

“เราไม่มีกลุ่มทักษะในเรื่องการสร้างจรวดในประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นเราจึงต้องนำคนเหล่านี้เข้ามา ปรัชญาของเราก็คือเรานำพวกเขาเข้ามาเพื่อสอนชาวออสเตรเลีย” เจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด คุณอดัม กิลมอร์ กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

กลุ่มลูกจ้างอาวุโสดังกล่าวกำลังช่วยอบรมบัณฑิตจบใหม่จำนวน 25 คนของธุรกิจสตาร์ทอัพแห่งดังกล่าว เกี่ยวกับแง่มุมต่างๆ ของการสร้างจรวด
Gilmour Space Technologies says it would not be possible to build its rockets without overseas rocket engineers.
Gilmour Space Technologies says it would not be possible to build its rockets without overseas rocket engineers. Source: Supplied: Gilmour Space Technologies
แม้ว่าจะใช้เวลาหกเดือนเพื่อให้งานเอกสารนั้นเสร็จสมบูรณ์และได้รับการอนุมัติให้เข้าร่วม การเข้าโครงการนี้จะส่งผลให้ผู้ขอวีซ่าได้รับการพิจารณาก่อนผู้อื่น (fast-tracked)

“เหตุผลที่เรื่องนี้มีความสำคัญก็คือ บุคคลชาวต่างชาติผู้มีความสามารถพิเศษขั้นสูงนั้นจะไม่มานั่งรอสองหรือสามเดือนเพื่อให้วีซ่าได้รับการอนุมัติ ในการจะตัดสินใจว่าพวกเขาจะมาทำงานกับคุณหรือไม่” คุณกิลมอร์กล่าว

“ไม่มีใครที่จะอดทนขนาดนั้น”
เรื่องราวเกี่ยวกับวีซ่าออสเตรเลียโดย เอสบีเอส ไทย

ผู้อพยพนับหมื่นเสี่ยงถูกเนรเทศจากแผนเปลี่ยนกฎวีซ่า

เขาแนะว่าการลดจำนวนเอกสารที่จำเป็นในการเข้าร่วมโครงการจะช่วยสนับสนุนให้เจ้าของธุรกิจรายใหม่ๆ มาเข้าร่วมมากขึ้น โดยอ้างอิงจากขั้นตอนของประเทศสิงคโปร์ที่ทำทางออนไลน์

“นั่นเป็นมาตรฐานที่ออสเตรเลียควรจะทำตาม”

 


Share
Published 8 August 2019 1:17pm
Updated 8 August 2019 1:20pm
By Rosemary Bolger
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News


Share this with family and friends