ออสเตรเลียจะเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อวิกฤตไวรัสจบลง

ขณะที่การรอคอยวัคซีนเพื่อรักษาโรคโควิด-19 ยังคงอีกยาวไกล นักสังคมศาสตร์ และนักวิเคราะห์พฤติกรรมออสเตรเลียกล่าวว่า ชาวออสเตรเลียควรเตรียมพร้อมกับ 'ความปกติใหม่' มากกว่าการกลับไปสู่สภาวะปกติอย่างที่เคยเป็น

A sign reminding residents and tourists of new social distancing rules at Manly Beach in Sydney.

Source: Getty Images

เป็นเวลา 7 สัปดาห์ หลังรัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศมาตรการจำกัดการรวมกลุ่ม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา ขณะที่ชาวออสเตรเลียกำลังชื่นชมมาตรการจำกัดที่มีความก้าวหน้า และสามารถชะลอการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 คำถามหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นกับใครหลายคน นั่นก็คือ เมื่อใดที่ชีวิตจะกลับไปเป็นปกติเสียที
A lone passenger exits at the deserted Circular Quay Station in the CBD in Sydney.
مسافری تنها در حال خارج شدن از ایستگاه قطار متروک سرکولر کی سیدنی Source: AAP
วันศุกร์นี้ (8 พ.ค.) คณะรัฐบาลแห่งชาติ มีกำหนดวาระในการตัดสินที่จะยกเลิกมาตรการจำกัดการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา ซึ่งจะทำให้ผู้คนจำนวนมากสามารถกลับไปทำงานในสำนักงาน และทำกิจกรรมทางสังคมได้ตามปกติ แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า รูปแบบการใช้ชีวิตบางอย่างในออสเตรเลียจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ความหมายของ ‘ที่ทำงาน’ ที่เราเข้าใจจะเปลี่ยนไปหรือเปล่า

สุขอนามัยและความปลอดภัย เป็นเรื่องสำคัญอย่างแรกที่เราคำนึงถึง และผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ผู้คนจดจำได้นานพอ ๆ กับไวรัสโควิด-19

คุณเรเชล มอร์ริสัน (Rachel Morrison) ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยออคแลนด์ในนิวซีแลนด์ กล่าวว่า สำนักงานที่แออัด และโต๊ะที่ต้องใช้ร่วมกันจะหมดไป ในขณะที่การทำงานแบบยึดหยุ่นจากที่บ้านนั้นจะมีมากขึ้น

“ถ้าคุณสังเกตในประเทศฮ่องกงและสิงคโปร์หลังเกิดวิกฤติโรคซาร์ส (SARS) ตอนนี้มันเป็นเรื่องปกติที่จะใส่หน้ากากอนามัย และถือว่าเป็นเรื่องไม่สุภาพในการออกไปข้างนอกโดยที่ไม่ใส่มัน โดยเฉพาะหากคุณมีอาการของไข้หวัดเพียงเล็กน้อย ดังนั้น เราจะพบเห็นนโยบายของหน่วยงานบางแห่ง ที่กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่หน้ากากอนามัย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรเชล มอร์ริสัน กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์  

“หน่วยงานใดที่ไม่มีข้อกำหนดให้พนักงานต้องอยู่ที่สถานประกอบการ อาจมีการจัดตารางเวรเพื่อให้พนักงานไม่เข้าออกงานพร้อม ๆ กัน และอาจให้พนักงานบางส่วนเข้ามาปฏิบัติงานหลังเวลาทำการปกติ เพื่อให้จำนวนพนักงานที่อยู่ภายในสถานประกอบการเท่ากันตลอด 24 ชั่วโมง”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์มอร์ริสันระบุว่า การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน โดยวิธีปฏิบัติในปัจจุบันอาจถือเป็นเรื่องไม่สุภาพ

“วิธีการปฏิบัติตัวในสถานที่ทำงานจะต้องเปลี่ยนไป ดังนั้น ดิฉันไม่คิดว่าเราจะจับมือหรือหอมแก้มกัน หรือเข้าประชุมร่วมกันอย่างใกล้ชิด ระหว่างที่รับประทานสลัดจากจานเดียวกัน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์มอร์ริสันกล่าว

“อีกสิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ วัฒนธรรมการอดทนมาทำงานทั้งที่ไม่สบายจะหายไป ไม่มีใครต้องการให้คนที่มีอาการเจ็บป่วยมาทำงาน โดยเฉพาะถ้าหากเป็นไปได้ว่ามีอาการของโรคติดต่อที่ร้ายแรงถึงชีวิต”

เราจะรวมหมู่หรือแยกกันอยู่ในอนาคต

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า เรื่องนี้เป็นไปได้สองทาง

คุณมาลี โบเวอร์ (Marlee Bower) จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ซึ่งทำการวิจัยเกี่ยวกับภาวะความเปล่าเปลี่ยว และการเป็นส่วนหนึ่งในสังคม กล่าวว่า พฤติกรรมทางสังคมที่กำลังเป็นปัญหา จะมีผลยาวนานกว่าการระบาดใหญ่ของไวรัส

นี่อาจกลายเป็นการมองผู้อื่นว่าอาจเป็นพาหะนำโรค มากกว่ามองว่าเป็นเพื่อนใหม่ ดังนั้น มันสำคัญที่จะต้องทำให้แน่ใจว่า เราไม่มีพฤติกรรมในการมองคนแบบผิด ๆ” คุณโบเวอร์กล่าว 

“ยิ่งผู้คนรู้สึกเปล่าเปลี่ยวมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอย่างไม่เหมาะสมก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งรวมถึงการกระทำเพื่อปกป้องตัวเอง ซึ่งทำให้มองมองผู้อื่นว่ามีภัยอันตราย และการต่อต้าน มากกว่าการมองเห็นความเมตตาปราณี”
An almost deserted George Street at 9am in Sydney.
An almost deserted George Street at 9am in Sydney. Source: AAP
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คุณโบเวอร์กล่าวว่า ยังมีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า การระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาในครั้งนี้ ทำให้ผู้คนเปิดอกเปิดใจมากขึ้นกับผู้ที่อยู่ใกล้ชิด

“ความเปล่าเปลี่ยวเพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่นี้ เช่นเดียวกับการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวและอัตลักษณ์ร่วม และเมื่อคุณพบกับภัยอันตราย หรือศัตรูที่ทุกคนมีร่วมกัน คุณจะพัฒนาอัตลักษณ์ร่วมที่สามารถเป็นประโยชน์กับสุขภาพจิตของคุณได้” คุณโบเวอร์กล่าว

"ตามปกติแล้ว ความเหงาเป็นเรื่องน่าอับอายที่จะยอมรับ และเป็นเรื่องที่ผู้คนเลี่ยงที่จะพูด เนื่องจากเมื่อคุณรู้สึกเหงา แสดงว่าต้องมีอะไรผิดปกติ แต่ในตอนนี้เราได้เห็นผู้คนจำนวนมากเริ่มพูดถึงความเปล่าเปลี่ยวกันรอบด้าน”

การเข้าสังคมแบบดิจิทัลจะยังคงอยู่หรือไม่

มาตรการจำกัดการรวมกลุ่มกันในหลายรัฐและมณฑลของออสเตรเลีย หมายความว่า ชาวออสเตรเลียส่วนมากจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้กับสมาชิกภายในบ้านเท่านั้น ขณะที่การวิดีโอคอลกำลังกายเป็นเรื่องปกติอย่างรวดเร็วในการพบปะกับเพื่อน

แม้การทำกิจกรรมส่วนมากทางออนไลน์ ช่วยให้เรามีความสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้นและยังคงมีงานทำ คุณโรเจอร์ พาทัลนี (Roger Patulny)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวูลลองกอง กล่าวว่า ยังมีความท้าทายบางอย่าง เมื่อถึงเวลาที่เราหยุดรักษาระยะห่างทางสังคม (social distancing)
A police officer talks to drivers on the now-closed border of Queensland and New South Wales.
A police officer talks to drivers on the now-closed border of Queensland and New South Wales. Source: AAP
“เราจะมีทางเลือกมากมายที่สามารถทำได้ทางออนไลน์ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญก็คือ เราจะร่วมกิจกรรมที่เกิดขึ้นทางออนไลน์และทางกายภาพอย่างไร เมื่อทุกอย่างกลับมาสู่สภาพปกติ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาทัลนีกล่าว

“ความอันตรายของการติดกับพฤติกรรมทางดิจิทัล ก็คือ ผู้คนจะอยู่ที่บ้านและไม่ต้องการที่จะออกไปไหน และการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า นั่นเป็นสิ่งที่เพิ่มความเปล่าเปลี่ยวให้มากขึ้น”

ผู้คนจะปรับตัวเข้ากับ ‘ความปกติใหม่’ อย่างไร

ขณะที่เรายังไม่ทราบเรื่องราวอีกมากในการแพระบาดของไวรัสนี้ คุณจอร์แดน แม็กเคนซี (Jordan McKenzie) อาจารย์ภาควิชาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวูลลองกอง กล่าวว่า มีสิ่งหนึ่งที่แน่นอน

“จะไม่มีทางหวนกลับไปยังสิ่งที่เคยเป็นมาก่อน” คุณแม็กเคนซีกล่าวกับเอสบีเอส นิวส์

“ในแง่ของอารมณ์ การมีปฏิสัมพันธ์ และความใกล้ชิด ผมไม่อาจมั่นใจว่าจะมีสิ่งใดที่จะรู้สึกได้ว่าเป็นปกติในเร็ว ๆ นี้ หรือบางครั้งมันอาจไม่เกิดขึ้นเลย”

ขณะที่ประเทศในแถบทวีปเอเชียและยุโรป เช่นเดียวกับในสหรัฐฯ มีผู้คนนับแสนเศร้าสลดใจกับการจากไปของคนที่รัก ขณะที่ในออสเตรเลียนั้น เหตุการณ์แตกต่างกันมากในแง่ของความสูญเสีย แต่ศาสตราจารย์รีเบกกา โอลสัน (Rebecca Olson) จากภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ออสเตรเลียจะเผชิญกับความเศร้าสลดใจในรูปแบบที่แตกต่าง

“ในออสเตรเลีย รูปแบบการสูญเสียที่เราพบอยู่นั้น ผู้คนมองมันเป็นเรื่องปกติในการใช้ชีวิต แต่เมื่ออนาคตมีความไม่แน่นอน กิจกรรมต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงหรือถูกขัด และเราไม่มีความมั่นใจว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร สิ่งนั้นจะทำให้เกิดความสสดใจกับทุกสิ่งที่เคยคิดไว้ว่าจะทำซึ่งไม่อาจทำได้ และความรู้สึกสูญเสียตัวตนและกิจการรมที่ไม่อาจหวนกลับไปทำได้อีก” ผู้ช่วยศาสตราจารย์โอลสันกล่าว
แต่ถึงแม้ความรู้สึกเศร้าสลดใจจะแผ่ขยายไปทั่วออสเตรเลีย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โอลสันกล่าวว่า ยังมีข้อดีในตัวของมัน

มันสามารถช่วยให้เราอยู่กับปัจจุบันได้มากขึ้น แทนที่จะคิดถึงแต่เรื่องอนาคตเพียงอย่างเดียว นั่นไม่ใช่ความชัดเจน แต่มันเป็นความเป็นไปได้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์โอลสันกล่าว

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร ให้ตรวจสอบข้อจำกัดในรัฐของคุณเกี่ยวกับการรวมกลุ่มกัน

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ

เอสบีเอสมุ่งมั่นให้ข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 แก่ชุมชนหลากหลายภาษาในออสเตรเลีย เรามีข่าวและข้อมูลเป็นภาษาต่างๆ 63 ภาษาที่เว็บไซต์ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

กาชาดออสฯ ชวนผู้ป่วยโควิด-19 อาการดีขึ้นบริจาคพลาสมา


Share
Published 6 May 2020 6:13pm
Updated 6 May 2020 6:37pm
By Claudia Farhart
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends