Feature

กาแฟ อารมณ์ขัน Work-life balance: อะไรที่ทำให้วัฒนธรรมในออฟฟิศของออสเตรเลียต่างจากที่อื่น

วัฒนธรรมในออฟฟิศของออสเตรเลียซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องสภาพแวดล้อมในสำนักงานที่ "ผ่อนคลายและเท่าเทียมกัน" เรื่องนี้แตกต่างจากที่อื่นในโลกอย่างไร

Three workers walking up stairs with a coffee in hand.

From morning coffee runs to jokes with colleagues, Australia's work culture is generally considered laidback. But it's not like that in every country in the world. Source: Getty / Javi Sanz

แม้ว่าการออกไปซื้อกาแฟในตอนเช้าหรือช่วงพักเที่ยงจะเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานประจำวันของชาวออสซี่ แต่ไม่ใช่ทุกคนในโลกที่จะมีวัฒนธรรมการทำงานแบบนี้

ออฟฟิศของออสเตรเลียเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ ความเท่าเทียมกัน และความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับการทำงานที่ดี (Work-life balance)และโดยทั่วไปแล้ว วิธีการทำงานของเรา(ออสซี่) จะถือว่า "สบายๆ ชิลๆ"

แต่หากเทียบวัฒนธรรมการทำงานของพวกเรากับส่วนอื่นๆ ของโลกเป็นอย่างไรบ้าง?

ชั่วโมงการทำงาน

ในออสเตรเลีย พวกเราทำงานเฉลี่ย 32 ถึง 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยชั่วโมงการทำงานอย่างเป็นทางการกำหนดไว้ที่ 38 ชั่วโมง (ไม่รวมเวลาล่วงเวลา หรือ โอที)

อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านในเอเชียของเราแล้ว ถือว่าเราค่อนข้างสบายๆ

เฮอร์แมน เซ (Herman Tse) ศาสตราจารย์ด้านความเป็นผู้นำและพฤติกรรมองค์กรที่ Monash Business School เขากล่าวว่าแม้ว่าเราอาจจะอยู่ที่ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง แต่ชาวออสเตรเลียมักจะทำงานน้อยกว่า เนื่องจากเรามักจะมีเวลาพักสั้นๆ เป็นประจำ
Table compares Australia's average weekly working hours with some other OECD countries
Credit: SBS News
“ลองเปรียบเทียบกับประเทศในเอเชียที่ชั่วโมงการทำงานยาวนานกว่ามากและมีช่วงพักดื่มกาแฟน้อยกว่า” เขากล่าวกับ SBS News

ในจีน พนักงานทำงานประมาณ 40 ถึง 46 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในอินเดีย กำหนดให้ทำงานสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง และการทำงานสัปดาห์ละ 6 วันถือเป็นเรื่องปกติ

ในเกาหลีใต้มีขีดจำกัดที่ 52 ชั่วโมง รวมถึงการชั่วโมงการทำงานปกติและการทำงานล่วงเวลา

ในสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยไม่สามารถเกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แม้ว่าในสหภาพยุโรป ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

พักเที่ยง

แรงงานชาวออสเตรเลียให้ความสำคัญกับเวลาพักเที่ยงของตนมาก

“วัฒนธรรมการพักเที่ยงเป็นกิจกรรมที่เน้นการผ่อนคลายและใช้เวลารับประทานอาหารกลางวันกับเพื่อนร่วมงาน” เซกล่าว

“ในออสเตรเลีย คุณสามารถหยุดทำงานได้จริง ๆ เพราะนี่คือเวลาพักผ่อนของคุณ คุณต้องพักผ่อนเพื่อที่เมื่อกลับมา คุณจะรู้สึกมีพลังมากขึ้นในการทำสิ่งที่ต้องทำต่อไป”
Group of young business people is enjoying a lunch break at the job together. Business, people, company
Lunch breaks in Australia are usually a time where people can switch off from work. Source: iStockphoto / LuckyBusiness/Getty Images
แต่ช่วงพักเที่ยงบางแห่งโลกก็ยาวนานกว่านั้นด้วยซ้ำ

คนงานบางคนในสเปนและกรีซสามารถเพลิดเพลินกับช่วงเวลาพักเที่ยงนานถึงสามชั่วโมงระหว่าง 14.00 ถึง 17.00 น. ซึ่งรวมถึงช่วงพักเที่ยงและงีบหลับก่อนกลับมาทำงานในช่วงเย็น

คนงานและนักเรียนชาวฝรั่งเศสก็มีช่วงพักเที่ยงสองชั่วโมงระหว่าง 14.00 ถึง 16.00 น. เช่นกัน

เซ เปรียบเทียบเรื่องนี้กับประเทศในเอเชีย ซึ่งเขาอธิบายว่าช่วงพักเที่ยงที่นั่น "รวดเร็วมาก" และเน้นไปที่การทำงาน การกินข้าวที่โต๊ะทำงานถูกมองเป็นเรื่องปกติ และมีการคาดหวังให้ทำงานต่อไปโดยมีเวลาพักน้อยที่สุด

ในประเทศเช่นญี่ปุ่น มักมีแรงกดดันทางสังคมซึ่งผลให้เลือกที่จะไม่มีช่วงพักเที่ยงโดยสิ้นเชิง แม้ว่าคนงานที่นั่นจะมีสิทธิพัก 45 นาทีตามกฎหมายก็ตาม

ส่วนคนงานในจีนมีเวลาพักสองชั่วโมงทุกวันเพื่อรับประทานอาหารกลางวันอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็งีบหลับเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานช่วงบ่ายที่สูง

กาแฟ

แม้ว่าการดื่มกาแฟในตอนเช้าจะเป็นเรื่องที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในวัฒนธรรมการทำงานของออสเตรเลีย แต่การดื่มกาแฟในตอนเช้าอาจไม่ใช่เรื่องปกติในวัฒนธรรมอื่นๆ ทั่วโลก

“วัฒนธรรมการดื่มกาแฟเป็นสิ่งที่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์และแข็งแกร่งในบริบทของออสเตรเลีย” เซกล่าว

“พนักงานไม่เพียงแต่จะผ่อนคลายหรือได้เติมพลังเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสให้พวกเขาได้เข้าสังคม สร้างความสัมพันธ์ และพยายามทำความเข้าใจกันมากขึ้นด้วย”

ในออสเตรเลีย กาแฟยังถูกใช้เป็นวิธีในการทำลายลำดับชั้นทางสังคมออฟฟิศอีกด้วย

การพูดคุยกับผู้จัดการระดับสูงพร้อมกับดื่มกาแฟสักถ้วยถือเป็นเรื่องปกติ บางคนถึงกับทำการประเมินผลการทำงานในร้านกาแฟด้วยซ้ำ
แต่ทั่วโลกไม่เป็นเช่นนั้น

เซกล่าวว่าในเกาหลีใต้ กาแฟมักจะชงด้วยอุณหภูมิที่ต่ำกว่าและไม่ร้อนมากนัก เนื่องจากมักไม่มีเวลาจิบกาแฟจริงๆ จึงเลือกที่จะดื่มทันที

เปรียบเทียบกับออสเตรเลีย ซึ่งอุณหภูมิของกาแฟที่สูงกว่าทำให้มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ยาวนานกว่า "เราต้องรอให้กาแฟหมดก่อนจึงจะกลับไปทำงาน" เซกล่าว

ลำดับชนชั้นในออฟฟิศ

ลำดับชนชั้นในออฟฟิศของออสเตรเลียค่อนข้าง "แบน เมื่อเทียบกับที่อื่นๆ ทั่วโลก

เซ กล่าวว่าออสเตรเลียมีวัฒนธรรมการทำงานแบบ "ระยะห่างของอำนาจที่ต่ำกว่า" ซึ่งบ่งชี้ถึงระบบที่เข้มงวดหรือลำดับอำนาจน้อยกว่า ส่งผลให้พนักงานที่ระดับล่างอาจรู้สึกว่าพวกเขาสามารถแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้ดีกว่า

เซกล่าวถึงวัฒนธรรมการทำงานของออสเตรเลียว่า "เราต้องการส่งเสริมเป้าหมาย ค่านิยมที่ยุติธรรมและเท่าเทียมกันภายในองค์กร"
เซกล่าวว่าเรื่องนี้แตกต่างจากประเทศอื่นๆ มาก รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร

เนื่องจากมี “ลำดับชนชั้นที่สูงกว่า” จึงเป็นเรื่องปกติที่คนงานในสหรัฐอเมริกาจะเรียกคนที่มีตำแหน่งสูงกว่าด้วยคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ แทนที่จะใช้ชื่อจริง

“ลำดับชั้นทางสังคมมีความเป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจมากในออสเตรเลีย เนื่องจากเราไม่ได้เน้นที่ความแตกต่างของอำนาจมากนัก แต่เน้นที่คุณค่าของผู้คนมากกว่า”

อารมณ์ขัน

อารมณ์ขันเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมออสเตรเลีย และไม่น่าแปลกใจที่อารมณ์ขันยังขยายไปถึงที่ทำงานด้วย

เซกล่าวว่าจากอารมณ์ขันของเรา ทำให้เรามีความผ่อนคลายมากขึ้น ไม่เป็นทางการมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัวของเรากับเพื่อนร่วมงานมากขึ้น

แบบสำรวจล่าสุดที่ดำเนินการโดยบริษัทจัดหางาน Indeed พบว่าอารมณ์ขันเป็นหนึ่งในห้าลักษณะสำคัญที่คนงานชาวออสเตรเลียชื่นชอบในตัวเพื่อนร่วมงานมากที่สุด
Chart shows top 5 traits most liked in colleagues by Australian workers
“เราเห็นว่าอารมณ์ขันเป็นหนทางหนึ่งในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกัน” เขากล่าว

แต่ในวัฒนธรรมอื่น อารมณ์ขันในที่ทำงานอาจถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง

“การเล่าเรื่องตลกในที่ทำงานถือว่าเป็นความไม่เป็นมืออาชีพ คุณต้องแสดงให้เห็นว่าคุณจริงจังกับงานของคุณ”

เซเน้นย้ำถึงวัฒนธรรมของชาวเอเชีย ซึ่งการเล่าเรื่องตลกอาจตีความได้ว่าคุณไม่จริงจังกับงานและไม่มีจรรยาบรรณในการทำงานที่ดี

ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน (Work-life balance)

ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมการทำงานของออสเตรเลียคือความต้องการความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดี

ซึ่งหมายความว่าสถานที่ทำงานของออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะนำรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมาใช้มากขึ้น เพื่อให้พนักงานสามารถเพลิดเพลินกับชีวิตนอกเวลาทำงานได้

สิ่งนี้ส่งผลต่อทัศนคติของชาวออสเตรเลียที่มีต่อวันลาพักร้อน กล่าวคือ โดยทั่วไปแล้ว พวกเขารู้สึกว่าตนมีสิทธิได้รับวันลา 4 สัปดาห์ และมีแนวโน้มที่จะใช้วันลาพักร้อนนี้มากกว่าเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียและสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตาม ประเทศนอร์ดิกอยู่อันดับสูงสุดในเรื่องความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน

คนงานในฟินแลนด์ เดนมาร์ก ไอซ์แลนด์ สวีเดน และนอร์เวย์อยู่ในอันดับสูงสุดในดัชนีความสุขโลก โดยพวกเขามีความสุขมากที่สุดเนื่องจากมีความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีกว่าและการกระจายค่าจ้างที่ยุติธรรมกว่า
คนงานในสวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์มีสิทธิ์ลาพักร้อนมากกว่าในออสเตรเลีย โดยลาได้ปีละ 25 วัน ในฟินแลนด์ อาจมีมากถึง 30 วัน

เปรียบเทียบกับจีน ซึ่งการลาพักร้อนจะคำนวณตามระยะเวลาทำงานของพนักงาน

พนักงานที่ทำงานในบริษัทมาไม่ถึง 10 ปี มีสิทธิ์ลาได้เพียง 5 วันต่อปี ในขณะที่พนักงานที่ทำงานในบริษัทมา 10 ถึง 20 ปี มีสิทธิ์ลาได้ 10 วัน

ในทำนองเดียวกัน พนักงานชาวญี่ปุ่นได้รับสิทธิ์ลา 10 ถึง 20 วัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ทำงานกับนายจ้าง พนักงานชาวเวียดนามมีสิทธิ์ลาได้ 12 วัน และพนักงานชาวอินเดียได้รับสิทธิ์ลาได้ 12 ถึง 15 วัน

ในสหรัฐฯ ไม่มีข้อกำหนดระดับชาติในการบังคับให้พนักงานลาพักร้อนแบบมีเงินเดือน แต่ธุรกิจต่างๆ จะต้องกำหนดนโยบายของตนเอง อย่างไรก็ตาม โดยเฉลี่ยแล้ว พนักงานในสหรัฐฯ ได้รับสิทธิ์ลาพักร้อน 10 วันต่อปี

การต่อต้านการเลือกปฏิบัติ

LISTEN TO
Australia’s persistent problem with race image

Australia’s persistent problem with race

SBS News

30/10/202309:14
เซ กล่าวว่าองค์ประกอบสำคัญที่สุดประการหนึ่งของวัฒนธรรมการทำงานของออสเตรเลียคือการเน้นความหลากหลาย ครอบคลุม และการต่อต้านการเลือกปฏิบัติ

"ภายใต้รัฐบาลแรงงาน สิทธิในที่ทำงานได้รับการเน้นย้ำมากขึ้นในแนวทางปฏิบัติล่าสุด" เซ กล่าว

"ผมเห็นว่าองค์กรต่างๆ จำนวนมากดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อนำแนวทางปฏิบัตินี้มาใช้และยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมของบริษัท"

Share
Published 6 January 2025 1:39pm
By Alexandra Koster
Source: SBS


Share this with family and friends


Recommended for you