โครงการด้านความปลอดภัยในมหาสมุทร ที่มุ่งช่วยให้ผู้หญิงมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นในน้ำ กลับมาดำเนินโครงการอีกครั้ง หลังโควิด-19 บีบให้โครงการต้องระงับไปหนึ่งปี
โครงการ สวิม ซิสเตอส์ (Swim Sisters) นำผู้หญิง ซึ่งหลายเป็นคนชาวมุสลิม ให้ได้มาพบปะกัน โดยผู้หญิงเหล่านี้ส่วนใหญ่มีประสบการณ์น้อยนิดในการว่ายน้ำในมหาสมุทร
ยูสรา เมตเวลลี ก่อตั้ง โครงการ สวิม ซิสเตอส์ (Swim Sisters) ขึ้นในนครซิดนีย์ จากความช่วยเหลือของบอนได เซิร์ฟ คลับ (Bondi Surf Club) เมื่อสามปีก่อน
“ทุก ๆ ฤดูร้อน เราได้เห็นสถิติที่น่าสะพรึงกลัวเกี่ยวกับผู้คนที่จมน้ำ ซึ่งคนเหล่านั้นหลายคนมาจากย่านตะวันตกของซิดนีย์และมาจากชุมชนผู้อพยพย้ายถิ่น” คุณเมตเวลลี บอกกับ เอสบีเอส นิวส์ภาพ: ยูสรา เมตเวลลี ก่อตั้ง โครงการ สวิม ซิสเตอส์ (Swim Sisters)
Swim Sisters founder Yusra Metwally. Source: SBS News/Danielle Robertson
“เราต้องการมุ่งเน้นไม่เพียงแต่เรื่องการเอาตัวรอดได้ แต่ยังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทักษะจนใช้การได้ดี และการที่คุณจะสามารถฉวยโอกาสให้มากที่สุดที่การอาศัยอยู่ในซิดนีย์และการอาศัยอยู่ท่ามกลางชายหาดที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง”
จากการศึกษาในปี 2018 ขององค์กร รอยัล ไลฟ์ เซฟวิง ออสเตรเลีย (Royal Life Saving Australia) พบว่า ร้อยละ 27 ของการจมน้ำเสียชีวิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้ เกี่ยวข้องกับผู้คนที่เกิดในต่างประเทศ
โครงการ สวิม ซิสเตอส์ ที่เมื่อก่อนมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า โครงการ เบอร์กินี เบบส์ (Burkini Babes) เปิดตัวครั้งแรกในปี 2016 หลังจากผู้หญิงในประเทศฝรั่งเศสถูกห้ามไม่ให้สวมชุดว่ายน้ำสำหรับสตรีมุสลิม หรือ เบอร์กินี ที่ชายหาด
นับตั้งแต่นั้น โครงการนี้ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนหลายร้อยคน อีกทั้งยังมีการขยายสาขาไปยังเมลเบิร์น เพิร์ท และแอดิเลด
ผู้หญิงหลายคนที่ผ่านโครงการนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้กลายเป็นเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิ
คุณคริสตี แมคอินไทร์ เจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลที่ชายหาดบอนได กล่าวว่า โครงการนี้เริ่มขึ้นด้วยทักษะพื้นฐาน และความมุ่งหมายที่จะช่วยให้ผู้หญิงมีความมั่นใจเพียงพอที่จะว่ายน้ำในมหาสมุทรได้ 1 กิโลเมตร
“เรานำพวกเขาไปดูรอบๆ ชายหาดและชี้ให้พวกเขาเห็นว่าจุดไหนปลอดภัยพอที่จะว่ายน้ำได้ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าอยู่ระหว่างธงแดงและเหลือง จากนั้น เราจะก็จะดูว่าคลื่นทะเลดูด (rip) มีลักษณะเป็นอย่างไร” คุณ แมคอินไทร์ กล่าว
“เราพูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับว่าคลื่นมีการรวมตัวกันอย่างไร และจะดำน้ำลงไปใต้คลื่นได้อย่างไร จะโต้คลื่นได้อย่างไร จากนั้น ขณะที่เราดำเนินโครงการไปเป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดยทั่วไปคือเราสอนพวกเขาในการลงไปในทะเลและขึ้นจากทะเล ขณะที่พวกเขามีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น เราจะเพิ่มระยะทางที่พวกเขาว่ายน้ำในทะเล”
สิ่งสุดท้ายที่พวกเขาได้เรียนรู้ในโครงการมักเป็นสิ่งที่หลายคนเฝ้ารอคอย นั่นคือ การโต้คลื่นด้วยกระดานโต้คลื่นภาพ: Neanne Alnafta ผู้เข้ารับการอบรมคนหนึ่งในโครงการ
Swim Sisters participant Neanne Alnafta. Source: SBS News/Danielle Robertson
คุณ ยาสมิน ลิวอีส เริ่มจากการหวาดกลัวทะเล จนเข้ารับการอบรมจนจบโครงการและกลายเป็นเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิ
“ตอนแรก เมื่อฉันได้ยินว่าเป็นโครงการว่ายน้ำในมหาสมุทร ฉันกลัวมาก และฉันถึงกับพูดออกมาว่า 'ฉันไม่อยากทำ ฉันไม่รู้สึกมั่นใจเมื่ออยู่ในทะเลเลย'”
“เมื่อฉันเสร็จสิ้นการอบรม พวกเขาก็บอกว่า ทำไมคุณไม่ลองไปให้ถึงเหรียญทองแดงล่ะ ฉันเลยลองดูและจากนั้น ฉันก็ไม่เคยมองกลับหลังอีกเลย และตอนนี้ ฉันเป็นเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล”
คุณลิวอีส กล่าวว่า นับตั้งแต่เธอเข้ารับการอบรม เธอได้ช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นให้พ้นจากภัยทางน้ำหลายต่อหลายครั้ง
“เมื่ออบรมบุคคลหนึ่งด้านความปลอดภัยทางน้ำ เท่ากับคุณกำลังอบรมคนทั้งชุมชนด้วย และมันสำคัญมากที่จะมีความรู้แม้จะน้อยนิดเกี่ยวกับการเข้าใจว่าตรงไหนคือทะเลดูด และสิ่งที่ต้องทำเมื่อประสบภัยในน้ำ” คุณลิวอีส กล่าว
“การมีความรู้ในเรื่องนี้เป็นการช่วยชีวิตให้พ้นภัย”
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
สนุกเต็มที่หน้าร้อนนี้ด้วยการฝึกว่ายน้ำอย่างมั่นใจ
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
ใครเข้าออสเตรเลียได้บ้างช่วงปิดประเทศ