หลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ออสเตรเลียมีจำนวนสมาชิกรัฐสภาที่ไม่สังกัดพรรคใหญ่ (crossbench) มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ทำให้ครั้งนี้มีโอกาสสูงที่การเลือกตั้งครั้งนี้จะนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย
คำว่า รัฐบาลเสียงข้างน้อยนั้น คืออะไร? ศาสตราจารย์เกรแฮม ออร์ จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ อธิบายว่า
“ระบบรัฐสภาของออสเตรเลียได้อิทธิพลมาจากอังกฤษ ซึ่งใช้ในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น อินเดียและนิวซีแลนด์ ที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้ที่ได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องมาจากพรรคที่ได้จำนวน ส.ส. มากที่สุดก็ได้”
ส่วนรัฐบาลเสียงข้างน้อยคือ การที่ไม่มีพรรคใดหรือกลุ่มการเมืองใดครองเสียงข้างมาก คือได้ 76 ที่นั่ง จาก 150 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรศาสตราจารย์เกรแฮม ออร์ จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์
เมื่อเกิดกรณีเช่นนี้ จะมีการเจรจาต่อรองระหว่างพรรคใหญ่ พรรคกรีนและผู้แทนอิสระ เพื่อรวบรวมเสียงให้ได้ถึง 76 เสียง
แต่สถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในระดับสหพันธรัฐของออสเตรเลีย ถ้าไม่นับปี 2010 ประเทศออสเตรเลียไม่มีมีรัฐบาลเสียงข้างน้อยมามากว่า 70 ปี

Both parties each got more than 45 per cent of the primary vote in 1984, but these figures are on a downward trend. Source: SBS
“เราเคยมีรัฐบาลเสียงข้างน้อยบางช่วงในยุครัฐบาลเทิร์นบูล และเห็นอย่างชัดเจนในยุคกิลลาร์ด” ศาสตราจารย์ออร์กล่าว
พร้อมเสริมว่าแนวโน้มนี้เริ่มเกิดขึ้นบ่อยขึ้น เพราะประชาชนจำนวนมากไม่ได้ยึดติดกับการเลือกเพียงพรรคแรงงานหรือพรรคร่วมเหมือนในอดีต
เมื่อคะแนนเสียงหลักของสองพรรคใหญ่ลดลงมาอยู่ในระดับร้อยละ 30 หรือต่ำกว่านั้น โอกาสที่ผู้สมัครอิสระหรือพรรคเล็กจะได้รับเลือกเข้าสภาก็ยิ่งเพิ่มขึ้น
รัฐบาล 3 ชุดแรกในประวัติศาสตร์ออสเตรเลียก็เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยเพราะในขณะนั้นยังไม่มีพรรคเดี่ยว หรือ พรรคร่วม ที่มั่นคง
ปัจจุบันการมีรัฐบาลเสียงข้างน้อยถือว่าเป็นเรื่องปกติในระดับรัฐและมณฑลต่างๆ

ในปี 2010 ทั้งพรรคแรงงานและพรรคร่วมต่างก็ไม่ได้ที่นั่งมากพอจะจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก Source: SBS
พรรคเล็กและผู้แทนอิสระเปลี่ยนสมการทางการเมืองอย่างไร?
สิ่งที่พรรคเล็กและผู้แทนอิสระต้องให้การสนับสนุนเพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดตั้งได้ คือ “การลงมติสนับสนุนด้านงบประมาณและความไว้วางใจ” หรือที่เรียกว่า “supply and confidence”
ศาสตราจารย์ออร์ ขยายความบทบาทของพรรคเล็กและผู้แทนอิสระว่า
“บางครั้งอาจมีเพียงเพียงคำรับปากว่าจะสนับสนุนรัฐบาล แต่ไม่เข้าร่วมคณะรัฐมนตรีหรือมีอำนาจบริหาร”
อย่างไรก็ตาม ผู้แทนอิสระหรือพรรคเล็กเหล่านี้ยังสามารถโหวตคัดค้านกฎหมายต่าง ๆ ได้ แต่จะต้องรับปากว่าจะไม่ขัดขวางการผ่านร่างงบประมาณ เพราะหากงบประมาณไม่ผ่าน นั่นคือจุดที่รัฐบาลแม้จะมีเสียงมากพอก็อาจล้มได้
พรรคเล็กหรือผู้แทนอิสระสามารถต่อรองให้รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายบางฉบับได้ แม้รัฐบาลจะไม่จำเป็นต้องทำตามก็ตาม หรือพวกเขายังอาจขอมีบทบาทในรัฐบาลมากขึ้น เช่น ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
รัฐบาลเสียงข้างน้อย แย่จริงหรือ?
รองศาสตราจารย์พอล วิลเลียมส์ชี้ว่า แนวทางนี้ไม่เป็นที่ชื่นชอบของพรรคใหญ่เท่าใดนัก
“พรรคใหญ่ไม่ต้องการสถานการณ์ที่ต้องรับ "แรงกดดันสองทาง"‘ ซึ่งไม่ใช่แค่ในวุฒิสภา แต่ยังรวมถึงในสภาผู้แทนราษฎรด้วย เพราะมันเป็นที่น่าเรื่องปวดหัว”
และในสายตาของประชาชน รัฐบาลเสียงข้างน้อยก็ไม่ได้รับความนิยมเช่นกัน
คนส่วนใหญ่ไม่ชอบรัฐบาลเสียงข้างน้อย เพราะมองว่าเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ต่างจากรัฐบาลเสียงข้างมากที่ให้ความชัดเจนและบริหารง่ายกว่า
ในรัฐบาลเสียงข้างน้อย การออกกฎหมายไม่แน่นอน ต้องต่อรองทั้งในสภาล่างและวุฒิสภา ต่างจากรัฐบาลเสียงข้างมากที่เน้นเจรจาแค่ในวุฒิสภา
แต่ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น นิวซีแลนด์ซึ่งมีระบบการเมืองแบบสัดส่วนและสภาเดียว กลับมีรัฐบาลเสียงข้างน้อยเป็นเรื่องปกติและก็ไม่ใช่ปัญหาในการบริหารประเทศ ศาสตราจารย์ริชาร์ด ชอว์ อธิบายว่า
“ถ้ามองจากมุมของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ไม่ได้ดูเป็นประเทศที่วุ่นวายหรือไร้เสถียรภาพเลย ทุกอย่างก็ยังดำเนินต่อได้ตามปกติ”
แม้รัฐบาลเสียงข้างน้อยจะแพ้โหวตกฎหมายบางฉบับบ้างแต่ไม่เคยมีรัฐบาลไหนล้มเพราะแพ้มติไว้วางใจหรือแพ้งบประมาณและก็ไม่กลายเป็นวิกฤตการเมือง
ข้อดีคือระบบนี้เปิดโอกาสให้หลายฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในเนื้อหากฎหมายมากขึ้น ศาสตราจารย์ชอว์อธิบายว่า
ข้อดีของรัฐบาลเสียงข้างน้อยคือมีมุมมองที่หลากหลายมากขึ้นในรัฐบาล เพราะมีทั้งพรรคเล็กและผู้แทนอิสระเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้ประชาชนหลากหลายกลุ่มรู้สึกว่าเสียงของตัวเองถูกรับฟัง
ฟังรายงานเรื่องนี้ได้ที่นี่
LISTEN TO
รัฐบาลเสียงข้างน้อย: ทางเลือกใหม่ของการเมืองออสเตรเลีย?"
08:41
ติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่ หรือ และ