กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน
คุณเหลียง ลี่ (Leang Ly) ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นผลจากยาที่เธอรับประทานขณะอยู่ในค่ายลี้ภัยเมื่อครั้งยังเด็ก หลังจากครอบครัวหลบหนีออกจากกัมพูชา
คุณเหลียงมีลูกชายอายุ 12 ขวบ
“เขาเป็นเด็กดีมาก โตขึ้นมาก บางครั้งฉันรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องไม่ยุติธรรมสำหรับเขา เพราะฉันไม่สามารถทำกิจกรรมอะไรกับเขาได้มากนัก เราต้องค่อยเป็นค่อยไปในตอนนี้ มันน่ากลัวในบางครั้ง บางครั้งมันค่อนข้างน่าหดหู่ คุณไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคน คุณไม่รู้ว่าจะรับมืออย่างไร”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
วิธีเป็นผู้บริจาคอวัยวะในออสเตรเลีย
คุณเหลียงต้องฟอกไตเป็นเวลา 6 ชั่วโมงต่อวัน ต้องอาศัยเครื่องกรองเลือด ขณะที่ต้องทำงานและดูแลครอบครัว
เรย์มอนด์ลูกชายของเธอยินดีที่จะช่วยแม่ของเขา
“ผมจะช่วยแม่ทุกครั้งที่แม่ต้องการความช่วยเหลือ เช่น ซักผ้า”
หลายครั้งเรย์มอนด์จะพูดว่า แม่ เราทำได้ มันจะดีขึ้นคุณเหลียงผู้รอการบริจาคไตพูดถึงลูกชายที่ให้กำลังใจเธอ
มือผู้ป่วยและสายน้ำเกลือในห้องผ่าตัด Credit: Pexels/Anna Shvets
เธอเป็นหนึ่งในประชากรออสเตรเลียกว่า 1,800 คนที่อยู่ในรายชื่อผู้รออวัยวะ และเป็นหนึ่งใน 140,000 คนที่ต้องฟอกไต และเราสามารถช่วยเหลือได้
ด้วยการลงทะเบียนเป็นผู้บริจาคอวัยวะ เพื่อช่วยชีวิตผู้อื่น
ศาสตราจารย์สตีฟ แชดบัน (Steve Chadban) ผู้อำนวยการแผนกไตแห่งโรงพยาบาลรอยัล พรินซ์ อัลเฟรด (Royal Prince Alfred Hospital) ที่ซิดนีย์กล่าวว่า
“สิ่งสำคัญสำหรับทุกคนคือความเข้าใจเรื่องการบริจาค คิดถึงเรื่องนี้ ลงทะเบียน และปรึกษากับครอบครัว เพื่อให้ทุกคนทราบว่าพวกเขาจะทำอย่างไร หากเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น”
เคยมีจำนวนผู้ที่ได้รับอวัยวะจำนวนมากในระยะ 18-20 ปี ที่ผ่านมา แต่ลดลงอย่างมากในช่วงวิกฤตโควิด
ศาสตราจารย์แชดบันกล่าวว่าอัตราผู้ได้รับอวัยวะยังคงน้อย แม้จะผ่านวิกฤตมาแล้ว 1 ปี
“สิ่งที่เราสังเกตคือที่โควิดระบาดหนักอาจสั่นคลอนศรัทธาของประชาชนที่มีต่อระบบสาธารณสุข ในบางพื้นที่มีอัตราการยินยอมน้อยลงมาก และเราอยากแก้เรื่องนี้จริงๆ เราอยากให้ประชาชนมั่นใจว่าเรามีระบบการดูแลสุขภาพที่ดี ที่จะทำสิ่งที่ดีที่สุดต่อผู้ป่วย ต่อชุมชน และสิ่งสำคัญคือเพิ่มการบริจาคอวัยวะและอัตราการปลูกถ่ายอวัยวะ”
พระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า น้ำค้างเกาะใบไม้ Credit: Pexels/Elias Tigiser
ผมมีชีวิตใหม่เพื่อดูแลครอบครัวต่อไป ดูแลภรรยา ดูแลลูกๆ และทุกๆ วันที่ผมตื่นขึ้นมา ผมรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องวิเศษจริงๆคุณเจฟกล่าวถึงความรู้สึกหลังได้รับบริจาคอวัยวะ
การบริจาคอวัยวะเป็นของขวัญที่อีกหลายคนคาดหวัง
“ผมหวังว่าแม่ของผมจะดีขึ้น จะได้รับโอกาสครั้งที่สอง เพื่อที่เราจะได้ใช้เวลาด้วยกันมากขึ้น และผมสามารถใช้เวลากับแม่ได้มากขึ้น”
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
กาชาดออสเตรเลียเร่งขอรับบริจาคเลือด
เรื่องน่าสนใจอื่นๆ
จะใช้บริการทางแพทย์ราคาย่อมเยาได้อย่างไรในออสเตรเลีย