วิธีสังเกตสแกมเมอร์ช่วงยื่นภาษี

Tricked consumers lose record amount to purchase scams

ผู้ที่กำลังจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตทางออนไลน์ Credit: Tim Goode/PA

ช่วงเวลายื่นภาษีใกล้เข้ามา ผู้เชี่ยวชาญเตือนชาวออสเตรเลียระวังสแกมเมอร์ ข้อมูลจากธนาคารคอมมอนเวลท์เผย 24% กำลังตกเป็นเป้าของการหลอกลวงเกี่ยวกับภาษี ขณะที่ 31% ไม่ทราบถึงกลโกงการหลอกลวง


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

ขณะที่ช่วงเวลาของการยื่นภาษีใกล้เข้ามาถึง ผู้เชี่ยวชาญเตือนมิจฉาชีพกำลังใช้โอกาสนี้ฉวยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงินของชาวออสเตรเลีย

ข้อมูลจากธนาคารคอมมอนเวลท์ (Commonwealth Bank) ชี้ว่า 24% ของชาวออสเตรเลียกำลังตกเป็นเป้าหมายของการหลอกลวงเกี่ยวกับภาษี

คุณเจมส์ โรเบิร์ตส (James Roberts) ผู้จัดการฝ่ายจัดการธุรกรรมฉ้อฉลจากธนาคารคอมมอนเวลท์เผยผลการวิจัยของธนาคารซึ่งระบุว่าหลายคนไม่เข้าใจวิธีระบุกลโกงของสแกมเมอร์
การวิจัยล่าสุดของธนาคารพบว่าประชากร 1 ใน 4 เคยถูกโกงเรื่องเกี่ยวกับภาษี
ขณะที่ชาวออสเตรเลียหลายคนกำลังรอการคืนภาษี สแกมเมอร์ฉวยโอกาสนี้เช่นกัน เราทดสอบผู้ที่ร่วมทดลองในการระบุกลโกงพบว่า 69% สามารถระบุกลโกงได้ แต่น่าเสียดายที่อีก 31% ระบุไม่ได้”
เราจะเตรียมตัวอย่างไร? และกลโกงมีกี่รูปแบบ?

คุณซาแมนทา ยอร์ก (Samantha Yorke) จากองค์กรเพื่อการสื่อสารและสื่อแห่งออสเตรเลีย (Australian Communications and Media Authority หรือ ACMA) กล่าวว่าสแกมเมอร์ช่ำชองมากและเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้สแกมเมอร์สามารถหลบหลีกได้ดี

“ทุกวันนี้นักต้มตุ๋นเป็นเครือข่ายอาชญากรรมที่ช่ำชองมาก คล่องตัวมากในการปรับวิธีที่จะหลบหลีกการปราบปรามตามแพลตฟอร์มต่างๆ พวกเขาใช้ประโยชน์จากช่วงเวลายื่นภาษีนี้เพื่อติดต่อเรา เพราะพวกเขารู้ว่าเราคาดหวังเงินคืนภาษีในเวลานี้”

ACMA ได้เริ่มใช้วิธีกำกับดูแลกับบริษัทโทรคมนาคมในการพยายามตรวจจับและบล็อกสแกมเมอร์ก่อนที่จะสามารถติดต่อกับเหยื่อได้

หากไม่ปฏิบัติตาม อาจต้องโทษปรับสูงถึง $250,000

คุณยอร์กกล่าวว่า สแกมเมอร์มีวิธีเข้าถึงเหยื่อมากมาย และมักพยายามเลียนแบบการติดต่อของหน่วยงานรัฐบาล เช่น myGov และกรมสรรพากรออสเตรเลีย (Australian Taxation Office หรือ ATO)
สิ่งที่เรามักพบคือ โรโบคอล (robocall) หรือสายจากคนที่แอบอ้างว่าโทรมาจากกรมสรรพากร
"โทรมาเพื่อแจ้งหนี้ที่ต้องจ่ายโดยด่วน หรือขอข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อดำเนินการยื่นภาษี การติดต่ออาจเป็นทางอีเมลหรือทางข้อความ ซึ่งมักจะมีลิงค์ให้กด ให้อัปเดตข้อมูลหรือแก้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อรับเงินที่ไม่มีอยู่จริง” 
Hands of anonymous hackers holding credit card
"ทุกวันนี้นักต้มตุ๋นเป็นเครือข่ายอาชญากรรมที่ช่ำชองมาก" Source: Moment RF / boonchai wedmakawand/Getty Images
วิธีการแอบอ้างว่าเป็นพนักงานจากหน่วยงานที่มีชื่อเสียงเพื่อหลอกเหยื่อให้บอกข้อมูลส่วนบุคคลนับเป็นวิธีหลอกลวงที่รู้จักกันดีในนาม ฟิชชิ่ง (phishing)

จากรายงานของศูนย์ต่อต้านการหลอกลวงแห่งชาติ (National Anti-Scam Centre) ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม 2024 ฟิชชิ่งเป็นกลโกงที่มีการรายงานมากที่สุดในออสเตรเลีย ตามด้วยกลโกงเรียกเก็บเงินและการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล

แล้วคุณจะแยกแยกความแตกต่างระหว่างฟิชชิ่งและการติดต่อจากกรมสรรพากรได้อย่างไร?

คุณร็อบ ทอมสัน (Rob Thomson) ผู้ช่วยผู้บัญชาการของกรมสรรพากรแนะนำว่า มีสัญญาณเตือนบางประการที่ควรระวัง

“ข้อแรกคือเราไม่เคยส่งอีเมลหรือข้อความที่มีคิวอาร์โค้ดหรือลิงก์ให้เข้าสู่ระบบทางออนไลน์หรือ myGov ข้อสองคือเราไม่เคยถามรหัสผ่าน (password) หมายเลขบัญชี หรือข้อมูลส่วนตัวของคุณทางอีเมลหรือข้อความหรือทางโทรศัพท์ อีกข้อหนึ่งคือเบอร์โทรศัพท์ของเอทีโอ (ATO) จะขึ้นเป็น no caller ID จะไม่ขึ้นเบอร์โทรศัพท์ และข้อสี่คือเราไม่เคยข่มขู่ว่าจะจับกุมหรือถือสายรอจนกว่าจะชำระเงิน”

รายงานล่าสุดของศูนย์ต่อต้านการหลอกลวงแห่งชาติเผยว่าประชากรออสเตรเลียสูญเงิน $2.74 พันล้านให้กับสแกมในปี 2023 และมีการรายงานกลโกงต่างๆ กว่า 601,000 รายการกับองค์กรตรวจสอบ

แม้จะลดลง 13.1% จากปี 2022 แต่คณะกรรมการการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (Australian Competition and Consumer Commission หรือ ACCC) ระบุว่ากลุ่มประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปยังคงเสี่ยง และยังเป็นกลุ่มที่สูญเงินให้สแกมเมอร์มากที่สุดทุกปี

คุณแคทรีนา โลว์ (Catriona Lowe) รักษาการประธาน ACCC กล่าวว่ามีหลายสาเหตุ

“ผู้สูงอายุบางรายมีเงินออมจำนวนมาก พวกเขาจึงมักมองหาโอกาสในการออมหรือการลงทุน และพวกเขามักไม่ใช่ชาวดิจิทัล"
บางครั้งพวกเขาไม่คุ้นเคยกับอุบายและกับดักที่สแกมเมอร์ใช้ในการหลอกลวงเหยื่อ
คุณโลว์กล่าว
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันกลโกงแชร์ลูกโซ่

อย่างไรก็ตามคุณโลว์กล่าวว่า ใครก็ตกเป็นเหยื่อการสแกมได้ ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เพราะสแกมเมอร์ใช้จิตวิทยาในการโน้มน้าวเหยื่อ
เราเห็นว่าสแกมเมอร์ช่ำชองมากในการปั่นอารมณ์เหยื่อ ไม่ว่าจะวิธีใช้ความเร่งด่วน ความกลัว หรือความตื่นเต้น นั่นเป็นจุดที่ลืมคำเตือนต่างๆ ไป
คุณโลว์กล่าว
คำแนะนำคือ 3 คำที่ควรจำเพื่อรับมือกับสถานการณ์ หยุด คิด และป้องกัน

“หยุดก่อนที่จะคลิกลิงก์หรือก่อนที่จะโอนเงิน คิด ฉันรู้จริงๆ หรือไม่ว่ากำลังคุยอยู่กับใคร ค้นหาหมายเลขที่โทรมา หาเว็บไซต์และตรวจสอบว่าสิ่งที่ดูเหมือนเป็นโอกาสที่ดีนั้นถูกต้องตามกฎหมาย และป้องกัน เชื่อสัญชาตญาณของคุณ หากรู้สึกว่ามีบางอย่างไม่ถูกต้อง รายงานเรื่องไปยังสถาบันการเงินของคุณหรือ
Tired woman
ผู้หญิงนั่งเครียดหน้าคอมพิวเตอร์ Source: Getty / Getty Images
เมื่อมีใครตกเป็นเหยื่อของสแกมเมอร์ อาจรู้สึกสับสนและอับอาย

คุณโลว์กล่าวว่าไม่ควรโทษตัวเองเพราะเป็นการกระทำของเครือข่าวอาชญากรที่ช่ำชองมาก

“เรารู้ว่าหลายคนมักรู้สึกละอายหรืออับอาย สิ่งสำคัญที่ควรจำคือ หนึ่ง ไม่ได้มีคุณคนเดียว มีอีกหลายคนจากทุกสาขาอาชีพ ทุกวัย ทุกกลุ่มที่ถูกโกงจากสแกมเมอร์ สอง คุณเป็นเหยื่อของอาชญากรทางการเงิน มันเป็นกับดักที่ซับซ้อนและช่ำชอง เช่นเดียวกับอาชญากรรมแบบอื่น มันไม่ใช่ความผิดของเหยื่อ แต่เป็นความผิดของอาชญากร”  

คุณยอร์กจาก ACMA แนะนำว่าควรพูดคุยเรื่องถูกโกงกับคนที่คุณรัก หากกังวลหรือรู้สึกว่าอาจตกเป็นเหยื่อ
สิ่งสำคัญคือพูดถึงเรื่องถูกโกงกับครอบครัวและเพื่อนของคุณ
"หลายคนอาจอายหรือละอายใจที่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง ยิ่งเราพูดถึงการถูกโกงมากเท่าไหร่ในสังคม เราจะสามารถลดการตีตราเรื่องนี้ได้”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share