พญ. ปองขวัญ ประดิษฐานนท์ ที่เป็นแพทย์ศัลยกรรมในออสเตรเลีย ซึ่งเคยเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดมะเร็งเต้านม ที่เมืองไทย ก่อนที่จะมายังออสเตรเลีย เธอฝากถึงคนไทยคนอื่นๆ ที่อยากมาเป็นแพทย์ในออสเตรเลียว่า
“การจะมาเริ่มทำงานที่ออสเตรเลียได้นั้นยากมาก โดยเฉพาะหมอเฉพาะทางที่อยากมาทำงานในออสเตรเลีย แต่มีการมีงานที่ดีอยู่แล้วที่เมืองไทย ฟังไว้เลยว่ามันไม่ใช่การ transfer มาแบบง่ายๆ เพราะหลายๆ อย่างที่เราเรียนมาที่เมืองไทย จะสังเกตได้ว่าเราอ้างอิงตำราจากอเมริกาเยอะ เราไม่ได้อ้างอิงตำราจากออสเตรเลียหรืออังกฤษ เพราะฉะนั้น ศัพท์ที่ใช้ การ approach คนไข้ของเราจะมีความแตกต่างกันนิดหน่อย แต่ความแตกต่างกันนิดหน่อยนี้ เมื่อถึงเวลาที่เรามา practice จริงๆ มันจะมี effect ต่อการที่เราจะสามารถเข้าถึงคนไข้ได้เหมือนกัน”

พญ. ปองขวัญ ประดิษฐานนท์ Source: Supplied / Pongkwan Pratishthananda
มันไม่ได้โรยด้วยกุหลาบ การมาเริ่มต้นใหม่ที่นี่นั้น ให้นึกถึงวันที่คุณเป็นนักศึกษาแพทย์และปีแรกที่คุณเป็นหมอมันเป็นยังไง ก็เป็นอย่างนั้นที่นี่ แล้วมันยากยิ่งกว่า เพราะตอนนี้คุณต้องพูดภาษาที่สอง ไม่ใช่ภาษาไทยอีกแล้ว วัฒนธรรมก็จะไม่เหมือนกับที่เรียนมาพญ. ปองขวัญ ประดิษฐานนท์
ด้านระบบการดูแลสุขภาพในออสเตรเลียก็มีความแตกต่างจากเมืองไทยอย่างเห็นได้ชัดสำหรับคนไข้ โดย นพ.คุณาวุฒิ ลิ้มอาภรณ์ พยาธิแพทย์ ในควีนส์แลนด์ อธิบายว่า
“สิ่งที่แตกต่างอย่างเด่นชัด คือระบบส่งต่อ ในประเทศไทยถ้าเราเจ็บป่วย เราก็สามารถไปหาหมอคนใดคนหนึ่งที่เราต้องการได้ เช่นในระบบเอกชน ถ้าเราต้องการไปโรงพยาบาลไปพบหมอคนใดคนหนึ่ง เราสามารถทำได้ แต่ในออสเตรเลียเราไม่สามารถทำได้เพราะต้องผ่านระบบส่งต่อ โดยที่คนไข้จะต้องมีแพทย์ประจำตัว (หรือแพทย์จีพี) ที่จะดูแลเบื้องต้น ถ้าเห็นสมควรว่าควรมีการรักษาในขั้นสูงจากแพทย์เฉพาะทาง แพทย์จีพีก็จะส่งตัวคนไข้ไปยังแพทย์เฉพาะทางในสาขาที่เหมาะสมต่อไป”
ในประเทศไทยเราสามารถไปหาหมอคนที่เราต้องการได้ แต่ในออสเตรเลียเราไม่สามารถทำได้เพราะต้องผ่านระบบส่งต่อจากแพทย์ประจำตัวนพ.คุณาวุฒิ ลิ้มอาภรณ์

นพ.คุณาวุฒิ ลิ้มอาภรณ์ Source: Supplied / Kunawuth “Simon”Limaporn
“การเป็นแพทย์เนี่ย อยากให้มั่นใจก่อนว่าอยากแน่ๆ เราอยากเรียนทางด้านนี้แน่ๆ เพราะที่เมืองไทยจะเห็นว่าหลายๆ คนเรียกว่า ‘ซูฮก’ (นับถือ หรือยอมให้) คิดว่าแพทย์คือพระเจ้า ซึ่งที่นี่มันไม่ใช่นะคะ ต้องเข้าใจตรงจุดนี้ว่าเราไม่ใช่พระเจ้าเลย ที่นี่เราก็คือคนทำงานคนหนึ่ง เรามีสายอาชีพเป็นหมอก็จริงแต่คนไข้ที่นี่เขาไม่ได้บูชาเราเหมือนที่ไทย คนไข้ที่นี่เถียงนะคะ” เธอกล่าว พร้อมหัวเราะเบาๆ
ที่นี่เราก็คือคนทำงานคนหนึ่ง เรามีเป็นหมอก็จริง แต่คนไข้ที่นี่เขาไม่ได้บูชาเราเหมือนที่ไทยพญ.วรินทร์พร อัมพรดนัย

พญ.วรินทร์พร อัมพรดนัย Source: Supplied / Varinporn Amporndanai
คลิก ▶ เพื่อฟังสัมภาษณ์ฉบับเต็ม

3 หมอไทยเผยเส้นทางการเป็นหมอในออสเตรเลีย
SBS Thai
22/06/202329:29
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

หมอโจ้ พิธีกรงานชุมชนไทยเผยบทบาทหมอผ่าตัด