ประเด็นสำคัญในพอดคาสต์
- เทคนิคในการจัดการกับความรู้สึกแง่ลบของเรา 4 ขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกเศร้า ไม่พอใจ โกรธ เบื่อหน่าย และอื่นๆ
- การเปลี่ยนมุมมองเพื่อไม่ให้เกิดความคิดและความรู้สึกแง่ลบซ้ำๆ
- เหตุใดสุขภาพจิตจึงสำคัญทัดเทียมกับสุขภาพกาย
- จะไปรับคำปรึกษาหรือขอรับความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตในออสเตรเลียได้อย่างไร
คุณสุ ซุลิแวน นักจิตบำบัด ผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตในเมลเบิร์น กล่าวกับเอสบีเอส ไทย ว่า สุขภาพจิตนั้นมีความสำคัญเช่นเดียวกับสุขภาพกาย โดยเธอขอให้ทุกคนจำคำที่อาจเคยได้ยินมานานที่เมืองไทยว่า “เคยได้ยินไหมคะที่เขาว่า ‘ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว’ ซึ่งถ้าเมื่อไรที่สุขภาพจิตเรามีภูมิคุ้มกันที่ตกต่ำลง มันจะสามารถส่งผลกระทบถึงสภาวะกายได้” คุณสุ กล่าว
สำหรับในช่วงสถานการณ์โควิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้างในออสเตรเลียไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม สถานการณ์นี้จึงส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจของผู้คนอย่างหลากหลาย คุณสุ จึงฝากเทคนิคในการจัดการกับอารมณ์ลบของเรา ซึ่งมี 4 ขั้นตอนคือ
- การตระหนัก รับรู้ และยอมรับในอารมณ์ลบของเรา เช่น เรากำลังรู้สึกไม่พอใจ รู้สึกโกรธ รู้สึกเศร้า รู้สึกท้อแท้
- การดึงสติกลับมาที่ตัวเรา ด้วยการหายใจลึกๆ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย
- การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ด้วยการหมุนคอ สะบัดข้อมือ สะบัดแขนขา
- หากิจกรรมที่เราชอบเพื่อให้เกิดความผ่อนคลายและให้เกิดขึ้นรู้สึกที่ดีขึ้น เช่น ทำสวน ฟังเพลง
ฟังสัมภาษณ์
นักจิตบำบัดคนไทยแนะเทคนิคจัดการอารมณ์ลบ
SBS Thai
08/10/202122:44
คุณสุ ซุลิแวน นักจิตบำบัด Source: Supplied by Su Sullivan
- ที่มีบริการให้คำปรึกษาทางจิตเป็นภาษาต่างๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ
- 1800 595 212 สำหรับผู้ที่สามารถรับคำปรึกษาและพูดคุยปัญหาเป็นภาษาอังกฤษได้
- 13 11 14 หากมีความรู้สึกคิดสั้น
- โทรฯ 000 หากมีเหตุฉุกเฉิน
- 1800 737 732 สำหรับเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว
- ที่หมายเลข 131 450 สำหรับบริการล่ามเพื่อช่วยพูดคุยกับหน่วยงานข้างต้น
คุณสุได้อธิบายอย่างละเอียดถึงเทคนิคในการจัดการกับอารมณ์ลบของเรา 4 ขั้นตอน และการเปลี่ยนมุมมองเพื่อไม่ให้เกิดความคิดและความรู้สึกแง่ลบซ้ำๆ ฟังประเด็นเหล่านี้ได้ในบทสัมภาษณ์เต็มๆ ที่นี่
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับรักษาสุขภาพในช่วงล็อกดาวน์
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
รปภ. ไทยในออส อาชีพที่ไม่ถูกมองข้าม