คุณเช็งเกิดที่รัฐวิกตอเรีย เรียนมัธยมฯ ที่นั่น แล้วก็เข้ามหาวิทยาลัยต่อที่นั่นเช่นเดียวกัน แต่ทว่าเมื่อเขาหางาน ผู้คนก็ยังคงถามเขาว่า ‘คุณเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรหรือเปล่า?’
“ผมรู้สึกได้ว่าหากผมใช้ชื่อ ‘เช็ง’ คนก็จะทึกทักโดยอัตโนมัติว่าผมนั้นเป็นชาวต่างชาติ” คุณเช็งเล่า
คุณเช็งเป็นที่รู้จักในชื่อ ‘ไมเคิล’ จนถึงอายุ 15 ปี “[พ่อแม่] ของผมนั้นบอกวิธีที่ผมจะมีงานการทำต่อไปได้ในอนาคต ว่าผมจะต้องมีปริญญา มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ และพูดภาษาอังกฤษให้คล่อง”
แต่คุณเช็งไม่ต้องการที่จะเปลี่ยนชื่อ – เขาต้องการให้ผู้รับสมัครงานนั้นเปลี่ยนแปลงแนวทางในการว่าจ้างงานต่างหาก “ทำไมคุณจะต้องใช้ชื่อซึ่งแท้จริงแล้วนั้นไม่ใช่ชื่อของผม?”
ถึงแม้ว่าคุณเช็งจะพูดคุยเรื่องนี้กับเพื่อนฝูงได้อย่างสนุกสนาน เขาก็ยอมรับว่า “มันก็รู้สึกเจ็บนะ เพราะว่าเราก็จะเริ่มมีความคิดที่ว่า ‘หรือว่าเราจะด้วยค่ากว่าถ้าหากว่าเปรียบเทียบกันแล้ว’”
“ผมชอบการสอบแบบออนไลน์ เพราะถ้าหากว่าผมต้องใส่ชื่อของผมลงในใบสมัครงานน้อยครั้งมากที่ผมจะผ่าน” คุณเช็งซึ่งเป็นผู้หางานกล่าว
ชิ้นหนึ่งโดยมหาวิทยาลัยซิดนีย์เมื่อปี ค.ศ. 2017 พบกว่า 13 เปอร์เซ็นต์ของผู้สมัครงานที่มีชื่อแบบแองโกล-แซกซอน(ภาษาอังกฤษ) จะได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าสัมภาษณ์ เมื่อเทียบกับเพียง 4.8% ของผู้สมัครงานที่มีชื่อเป็นภาษาจีน
กรรมาธิการด้านการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ คุณทิม สุทพมมะสาน ซึ่งเพิ่งพ้นตำแหน่งไปเมื่อเร็วๆ นี้กล่าวว่า เขาหวังว่าผู้เข้าดำรงตำแหน่งต่อจากเขาจะช่วยปรับปรุงโชคชะตาของผู้หางานซึ่งไม่ใช่ชาวแองโกลแซกซอนที่ต่อสู้อยู่ในตลาดแรงงาน โดยในโลกแห่งอุดมคตินั้น จะมีการตั้งเป้าต่างๆ เอาไว้ แต่ทว่าคุณสุทพมมะสานก็ถอดใจในเรื่องดังกล่าว
“หากคุณดูว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในเรื่องของความเท่าเทียมกันทางเพศและความก้าวหน้าที่เราทำสำเร็จในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นั่นก็เป็นภาพสะท้อนต่อการจัดการเป็นตัวแทนร้องเรียนและวิ่งเต้นซึ่งกินเวลาหลายทศวรรษ คุณจะพบว่ายังไม่มีความเจริญถึงในระดับนั้นในเรื่องของความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม”
ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานบางท่านนั้นเหนื่อยหน่ายจากการถูกตัดสินจากชื่อของพวกเขา – แทนที่จะถูกตัดสินจากประสบการณ์ – ถึงขนาดที่พวกเขานั้นขอบอกผ่านกระบวนการคัดเลือกพนักงาน และลงมือทำธุรกิจด้วยตัวเอง
“เราก็จะเริ่มมีความคิดที่ว่า ‘หรือว่าเราจะด้วยค่ากว่าถ้าหากว่าเปรียบเทียบกันแล้ว’”
คุณอุสมาน อิฟติการ์ ย้ายมาที่ออสเตรเลียจากประเทศปากีสถานเมื่อปี 2013 และก็เป็นหนึ่งในมันสมองของบริษัท ‘Catalysr’ ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ช่วยเร่งให้ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานสร้างธุรกิจของตัวเองขึ้นในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่ด้านการบริการไปจนถึงเทคโนโลยี โดยเขากล่าวว่า
“สิ่งที่เราพยายามจะทำนั้นเป็นสถานการณ์ที่วิน-วินได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย มันเป็นการสร้างงานให้เกิดขึ้นที่ประเทศออสเตรเลียนี้ และมันยังช่วยแก้ปัญหาสำหรับผู้คนเหล่านั้นซึ่งพบกว่าเป็นเรื่องยากที่จะได้รับการว่าจ้างงาน”
แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่มาจากพื้นเพอันหลากหลายจะเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเสมอไป และไม่ใช่ทุกๆ คนที่จะต้องการจะเริ่มต้นทำธุรกิจ เพราะฉะนั้นควรจะเกิดอะไรขึ้น และนายจ้างนั้นจะมีบทบาทได้อย่างไร?
นักจิตวิทยาองค์กร คุณดินา วอร์ด กล่าวว่า คำตอบก็คือการรับสมัครงานแบบตาบอด: โดยไม่ให้มีข้อมูลส่วนตัวเช่นชื่อ ที่อยู่ และโรงเรียนอยู่บนใบประวัติการสมัครงานหรือเรซูเม
“มันไม่ใช่เวทย์มนตร์ที่จะแก้ปัญหาได้ชะงัด แต่มันก็จะมีผลกระทบอย่างแน่นอนต่อลักษณะของผู้รั บการคัดเลือกที่คุณจะเห็นเดินผ่านเข้ามาในช่องทางการว่าจ้างงานของคุณ”
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอสไทย
Settlement Guide: การย้ายไปอยู่ในชนบทของออสเตรเลีย