โปรดกดปุ่ม (▶) ด้านบนเพื่อรับฟังสารคดีเรื่องนี้เป็นภาษาไทย
การทำงานในประเทศออสเตรเลียนั้น อาจเป็นเรื่องน่าสับสนสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานหลายๆ คน
ทั้งยังมีการพบว่านายจ้างหลายๆ รายนั้นทำการเอารัดเอาเปรียบพนักงานซึ่งไม่ระแคะระคายในเรื่องนี้
ในวันนี้ สภาหอการค้าแห่งรัฐวิกตอเรีย (The Victorian Trades Hall Council) ได้เปิดตัวศูนย์สำหรับพนักงานผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน: ซึ่งอุทิศให้กับการดูแลพนักงานรายใหม่ๆ ในรัฐ
ผู้อำนวยการของศูนย์ดังกล่าว คุณ แมตต์ คังเคิล กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่า ศูนย์รวมที่พนักงานซึ่งถือวีซ่าชั่วคราวหรือถาวรสามารถจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ของพวกเขาได้นั้น ควรจะมีมาตั้งนานแล้ว
“มันยากลำบากมากสำหรับผู้คนผิวสีและพนักงานทั้งหลายซึ่งมาจากพื้นเพผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน ที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมที่ทำงาน” เขากล่าว “มันไม่ใช่แค่ว่าพนักงานที่เป็นผู้อพยพย้ายถิ่นนั้นเปราะบาง แต่ว่าพวกหัวหน้านั่นก็ด้วยที่กระทำความผิด”
“สิ่งที่เราเห็นได้อย่างจริงๆ ก็คือมีผู้คนอันหลากหลายซึ่งมาจากทุกอุตสาหกรรมและทั่วทุกพื้นที่ และสิ่งที่พวกเขาประสบเหมือนๆ กันก็คือ ไม่มีใครสอนหรือบอกพวกเขาว่าสิทธิที่ทำงานของพวกเขาคืออะไร”
ถึงแม้ว่าปัญหาต่างๆ ที่พนักงานซึ่งเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐานได้ทำการร้องเรียนนั้นมีความหลากหลาย ตั้งแต่ ปัญหาข้อกีดกันทางภาษา ไปจนถึงความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเคารพ ทว่าเรื่องการได้รับเงินน้อยกว่าที่ควรหรือไม่ได้รับเงินเลยนั้นเป็นเรื่องน่าวิตกกังวลที่สำคัญ”
คุณคังเคิลกล่าวว่า เขารู้จักพนักงานที่เป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐานหลายคนซึ่งไม่ได้รับเงินซูเปอร์ (เงินทุนเก็บสะสมสำหรับเมื่อเกษียณอายุ) เป็นเวลาถึงหกเดือน
“ในสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น เรากำลังพูดกันถึงเงินซูเปอร์เป็นจำนวนหลายๆ แสนดอลลาร์สำหรับพนักงานแต่ละคนที่ไม่ได้รับ ถ้ามารวมกันแล้วมันมากทีเดียว”
‘ผมรู้สึกเศร้ามาก’
ทาคี คาน (Taqi Khan) เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานแห่งชาติ The National Union of Workers โดยเขาทำหน้าที่ดูแลผู้อพยพย้ายถิ่นฐานซึ่งทำงานในฟาร์ม - ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายงานว่าถูกฉกฉวยผลประโยชน์ในอัตราซึ่งสูงเป็นพิเศษ
ภาคส่วนการเกษตรของออสเตรเลียพึ่งพาอาศัยแรงงานจากผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเป็นอย่างมาก ซึ่งก็ได้ถูกเพ่งเล็งเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้อพยพย้ายถิ่นฐานผู้ซึ่งเข้ามาทำงานที่ใช้ทักษะที่ต่ำ
สหภาพแรงงานต่างๆ ได้กล่าวในการไต่สวนโดยวุฒิสภาเมื่อปี ค.ศ. 2016 ว่า การฉกฉวยผลประโยชน์จากพนักงานในฟาร์มนั้นเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินด้านการว่าจ้างงานอย่างเป็นธรรม (Fair Work Ombudsman) ก็เห็นด้วย จากผลการสืบสวนที่ประกาศล่วงหน้าเมื่อต้นปีนี้(ก่อนจะมีการสรุปสุดท้าย) โดยการสืบสวนดังกล่าวกินเวลาทั้งหมดสามปีเกี่ยวกับเรื่องการเอารัดเอาเปรียบที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการเกษตรของออสเตรเลีย
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอสไทย
เปิดโปงวัฏจักรโกงค่าจ้างนักเรียนต่างชาติในออสเตรเลีย