Explainer

เคล็ดลับสู้เงินเฟ้อ: วิธีประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อของชำท่ามกลางค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น

ด้วยค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชาวออสเตรเลียจำนวนมากกำลังมองหาวิธีลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะสำหรับผลไม้และผักสด

A composite image showing people shopping at the supermarket and market.

As the cost of living in Australia rises, how can shoppers save at the checkout? Source: Getty

Key Points
  • ผักผลไม้ที่หั่นพร้อมปรุงมักจะมีราคาแพงกว่าปกติถึงห้าเท่า
  • ชาวออสเตรเลียมองหาบริการช่วยประหยัดค่ากับข้าวและของใช้ในครัวเรือน
คุณเคยคำนวณราคาของแต่ละรายการที่คุณหยิบใส่ในรถเข็นเวลาออกไปซื้อกับข้าวมากน้อยแค่ไหน?

ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ทำให้ราคาสินค้าประจำวัน รวมถึงราคาของชำที่เพิ่มสูงขึ้น หลายคนกำลังมองหาวิธีลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

คิดให้รอบคอบก่อนจ่ายเงิน

คุณแคเทอลิน คาเมรอน (Katelyn Cameron) จากองค์กรสนับสนุนผู้บริโภค CHOICE แนะนำว่าคนทั่วไปควรพิจารณาว่าความสะดวกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้มานั้นคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือไม่

เธอกล่าวว่า ผักและผลไม้ทั้งชิ้นมักจะมีราคาถูกกว่าผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเตรียมล่วงหน้าและบรรจุหีบห่อ

“ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว Woolworths โฆษณาแครอทแบบชั่งกิโลในราคา 2 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัม ขณะที่แครอทขูดฝอยหรือแครอทหั่นชิ้นที่บรรจุไว้ขายในราคา 10 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัม ซึ่งแพงกว่าถึงห้าเท่า” เธอกล่าว

Packaged salads and pre-chopped fruit.
ราคาที่ต้องจ่ายกับของสดแบบพร้อมปรุงเพื่อแลกกับความสะดวกสบายในการเตรียมอาหาร Source: AAP / Elaine Thompson.
คุณคาเมรอนกล่าวว่า อาหารที่ถูกหั่นล่วงหน้าไม่เพียงแต่จะแพงกว่าเท่านั้น แต่ยังเน่าเสียได้เร็วขึ้นด้วย

CHOICE ยังแนะนำให้ผู้บริโภคพิจารณาราคาต่อหน่วยของสินค้าของชำเมื่อซื้อสินค้า

“ผู้ค้าปลีกของชำทั้งหมดต้องแสดงราคาต่อหน่วยสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งราคาของสินค้าควรอิงตามหน่วยมาตรฐาน” เธอกล่าว

ด้วยการแสดงราคาต่อ 100 กรัมหรือ 100 มิลลิลิตร ผู้ซื้อสามารถเปรียบเทียบมูลค่าของสินค้าที่มีน้ำหนักหรือปริมาตรต่างกัน เพื่อพิจารณาว่าอันไหนคุ้มค่ากว่า

การซื้อของแบบเป็นกลุ่ม

คุณซาราห์ พีชแมน คุณแม่จากซิดนีย์ เลือกซื้อของจากสหกรณ์เมื่อมีโอกาส เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของเธอ
A woman wearing glasses.
ซาราห์ พีชแมน คุณแม่จากซิดนีย์ Source: Supplied
ค่าธรรมเนียมสมาชิกประจำปีของเธอที่ Manly Co-op อยู่ที่ 5 ดอลลาร์ ซึ่งนำไปใช้ในการดำเนินงานร้านขายอาหารครบวงจรที่ไม่แสวงหากำไรและดำเนินการโดยอาสาสมัคร เธอได้รับส่วนลด 10 เปอร์เซ็นต์สำหรับการซื้อของที่นั่นด้วยเช่นกัน

แม้ว่าความต้องการของชำในชีวิตประจำวันของเธอจะได้มาจากร้านค้าทั่วไป เธอกล่าวว่าการซื้อวัตถุดิบหลักในครัวจากสหกรณ์ช่วยลดค่าใช้จ่ายรวมของครอบครัวในการซื้ออาหาร

“ฉันรู้ว่าครอบครัวต้องการข้าวโอ๊ต แป้ง ข้าวสาลี คูสคูส สิ่งเหล่านี้อยู่เสมอ” เธอกล่าว

คุณพีชแมนยอมรับว่าต้องวางแผนและเดินทางประมาณ 20 นาทีไปที่ร้านเพื่อซื้อของใช้จำเป็น แต่เธอกล่าวว่ามันคุ้มค่า

“ฉันพบว่าสินค้าพวกนี้ราคาถูกกว่าที่ซูเปอร์มาร์เก็ตมาก เพราะสิ่งที่ฉันซื้อมักจะเป็นพาสต้าสเปลต์ (spelt) ซึ่งค่อนข้างแพงในซูเปอร์มาร์เก็ต” เธอกล่าว

สหกรณ์ไม่จำเป็นต้องทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของ จึงสามารถขายสินค้าในราคาที่ถูกกว่าเล็กน้อย

คุณพีชแมนซื้อของชำจากหลายแหล่งเพื่อให้ได้ทุกสิ่งที่เธอต้องการ โดยหนึ่งในนั้นคือบริการส่งอาหาร Delish deliveries

บริการเหล่านี้เชื่อมโยงผู้ผลิตกับผู้บริโภคให้มาเจอกัน จึงมักจะสามารถจัดหาของชำในราคาที่ถูกลงเล็กน้อยเนื่องจากตัดคนกลางที่เป็นร้านค้าปลีกออกไป

ใช้ของที่มีให้หมดก่อน

แม้จะฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่จาก ของชำหนึ่งในห้าถุงถูกทิ้งลงถังขยะโดยไม่ได้รับประทานเลย
An arm picking up a grocery bag from a trolley to place into the back of a car.
The food from one in five grocery bags in Australia never makes it to the table. Source: AAP / Ben Rushton
นี่เทียบเท่ากับอาหาร 312 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 2,000 ดอลลาร์ต่อครัวเรือน

แม้ในความเป็นจริงเราต้องยอมรับว่าบางส่วนของการสูญเสียนี้เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการจัดจำหน่าย แต่ก็ยังมีส่วนที่มาจากอาหารที่ลงเอยในถังขยะของครัวเรือน

การจัดการปัญหาการสูญเสียอาหารในระดับครัวเรือนสามารถช่วยลดปริมาณของชำที่ผู้คนซื้อได้

ลินเซย์ ไมล์ส (Lindsay Miles) ผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและนักเขียน แนะนำว่า แทนที่จะโยนผลไม้หรือผักที่ดูไม่สดใหม่ลงถังขยะและเพิ่มในรายการซื้อของ ลองคิดดูว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในวิธีอื่นได้อย่างไร

“คุณอาจมีแอปเปิลอยู่บ้าง ซึ่งคุณตั้งใจจะใส่กล่องอาหารกลางวัน แต่ตอนนี้มันเหี่ยวย่นและดูไม่น่ากิน คุณยังสามารถนำมันไปทำแอปเปิลซอส สับแล้วทำเป็นครัมเบิล หรือโยนมันลงไปในสมูทตี้ก็ได้” เธอกล่าว

เลือกซื้อวัตถุดิบท้องถิ่นตามฤดูกาล

คุณไมล์สกล่าวว่าผู้คนมักไม่ทราบว่าผลไม้ต่าง ๆ ในออสเตรเลียถูกปลูกให้ตรงตามฤดูกาลเท่านั้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการปรับราคาของวัตถุดิบในท้องตลาดในแต่ละช่วงของปี
Waste educator and author Lindsay Miles.
Waste educator and author Lindsay Miles Source: Supplied
เธอแนะนำให้ไปซื้อของจากร้านขายของชำรายย่อย ซึ่งมีโอกาสที่จะพบผลิตภัณฑ์ที่กำลังปลูกในพื้นที่ท้องถิ่นในขณะนั้น มากกว่าซูเปอร์มาร์เก็ตที่มักจะนำเข้าผลิตภัณฑ์สดจากต่างประเทศตลอดทั้งปีเมื่อไม่ได้ปลูกในท้องถิ่น

เธอกล่าวว่า ผลไม้และผักที่ปลูกใกล้เคียงมักจะสดและราคาถูกกว่า

“ยกตัวอย่างเช่น ในเพิร์ธ คุณอาจพบกล้วยจากคาร์นาร์วอนและกล้วยจากควีนส์แลนด์ ซึ่งกล้วยจากคาร์นาร์วอนมักจะราคาถูกกว่า เพราะมันไม่ต้องเดินทางข้ามทั้งประเทศ และไม่ต้องแบกรับต้นทุนเชื้อเพลิงที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง” เธอกล่าว

การลงมือปลูกเอง

แอนดรูว์ บาร์เกอร์ ชายจาก Strathalbyn จ่ายเงินสำหรับของสดที่เขาใช้ในการทำอาหารน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
Man wearing a hat standing in front of tall sunflower plants.
แอนดรูว์ บาร์เกอร์ ผู้ก่อตั้งโปรเจ็ค Grow Free ใช้จ่ายน้อยกว่าครึ่งของราคาที่เค้าเคยจ่ายเมื่อตัดสินใจปลูกผลผลิตเพื่อกินเอง Source: Supplied
ผลไม้ ผัก และสมุนไพรที่เขาใช้มาจากสวนหลังบ้านของเขาหรือจากการให้ฟรีจากสมาชิกในชุมชนของเขา

เกือบสิบปีก่อน เขาเริ่มต้นการเคลื่อนไหวโปรเจ็ค Grow Free ซึ่งทำให้ชุมชนทั่วออสเตรเลียแชร์ผลผลิตส่วนเกินให้กับผู้อื่นฟรี ๆ ผ่านตู้ในจุดที่กำหนด

“ผมมักจะมองที่ราคาแล้วเห็นผักเคลหนึ่งถุง แล้วคิดว่า ‘เอ๊ะ ฉันสามารถซื้อเมล็ดพันธุ์สองถุงในราคาเท่านี้ ผมจะได้เมล็ดพันธุ์ 200 เมล็ดมาปลูกได้เป็นพัน ๆ ต้น” เขากล่าว

แม้ว่าเขาจะยอมรับว่าในบางครั้ง มันมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้น แต่เขากล่าวว่าในระยะยาวมันคุ้มค่ามากกว่าเมื่อเทียบกับมูลค่าของผลผลิตที่สามารถปลูกในสวน

ใช้ทุกส่วนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การใช้ทุกส่วนของผลไม้และผัก หมายถึงเราจะใช้จ่ายเพื่อซื้อเพิ่มน้อยลง

คุณไมล์สกล่าวว่า หลายคนทิ้งส่วนของผัก เช่น ก้านบล็อคโคลี เพราะคิดว่ากินไม่ได้ ทั้งที่จริงแล้วมันกินได้และในบางวัฒนธรรมเป็นส่วนที่นิยมของพืช

เธอกล่าวว่า เมื่อทำตามสูตรอาหาร การเปลี่ยนวิธีคิดสามารถทำให้ใช้ของได้มากขึ้น

“คุณอาจจะต้องใช้แค่ส่วนขาวของกระเทียมสำหรับเมนูที่คุณทำ แต่คุณสามารถใช้ส่วนเขียวได้หากเอามาทำรีซอตโต หรือคุณสามารถแช่แข็งผักหลายชนิดแล้วนำไปทำซุป” คุณไมล์สกล่าว

คุณไมล์สกล่าวว่า ยังควรพิจารณาว่า ‘Best Before Date’ ว่าจริง ๆ แล้ว หมายความว่าอะไร

“Best before คือเรื่องคุณภาพ ส่วน use by date คือเรื่องความปลอดภัย ปกติแล้ววันที่ดีที่สุดก่อนจะอยู่บนผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการเก็บรักษายาว และ use by date จะอยู่บนสิ่งที่เสี่ยงสูง เช่น เนื้อสัตว์ ปลา และผลิตภัณฑ์นม Best before คือแนวทาง” เธอกล่าว

“ในสหราชอาณาจักรตอนนี้กำลังทดลองโดยการเอาวัน Best Before ออกจากนม ฉันคิดว่าเขากำลังใส่แค่ ‘วันที่ผลิต’ เหมือนที่เราทำกับขนมปัง”

ซูเปอร์มาร์เก็ตในออสเตรเลียหลายแห่งจะลดราคาสินค้าที่ใกล้จะหมดอายุจากวันดีที่สุดก่อนในช่วงท้ายของวัน

อย่าเลือกมาก

ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่เคยขายแต่ผลไม้และผักที่ดูดีที่สุดเท่านั้น คุณคาเมรอนจาก CHOICE กล่าวว่าการผลักดันเพื่อลดการสูญเสียอาหารทำให้ซูเปอร์มาร์เก็ตเริ่มจำหน่ายผลผลิตที่อาจจะไม่ตรงตามข้อกำหนดด้านความสวยงามก่อนหน้านี้ แต่ในราคาที่ถูกกว่า

“คุณสามารถซื้อผลผลิตเหล่านี้ได้ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ ๆ เกือบทุกแห่งในราคาที่ถูกกว่าผลไม้และผักปกติถึงครึ่งหนึ่ง” เธอกล่าว

Fruit with small defects.
ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายเจ้าเลือกขายผลไม้ 'ตกอันดับ' ในราคาที่ต่ำกว่าปกติ แต่แน่นอนว่าเป็นผลไม้ที่ทานได้อร่อยไม่น้อยไปกว่ากัน Source: Getty / Picture Alliance
ซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าใหญ่ ๆ เหล่านี้ มักจะทำการตลาดภายใต้แบรนด์เฉพาะสำหรับผักผลไม้หน้าตาไม่สวยงาม เช่น ‘Imperfect picks,’ ‘I’m perfect fruit’ และ ‘The odd bunch.’

ซื้อของแบรนด์บ้าน ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว

คุณคาเมรอนกล่าวว่า สำหรับผู้ที่มักซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากแบรนด์ใหญ่เสมอ อาจถึงเวลาที่จะลองแบรนด์ของบ้าน ๆ ดูบ้าง

“เราทำการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ชั้นนำในบ้านกับผลิตภัณฑ์ที่ราคาถูกกว่าหลายรายการเป็นประจำเพื่อหาว่าสิ่งไหนที่ดีที่สุดทั้งรสชาติและความคุ้มค่า การทดสอบของเราหลายครั้งพบว่า ไม่เพียงแต่แบรนด์ของบ้านจะราคาถูกกว่า แต่คุณภาพของพวกมันก็ได้พัฒนาขึ้นมาก”

คุณคาเมรอนกล่าวว่า ผู้ที่ไม่อยากยอมแพ้ให้กับผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ควรพิจารณาดูว่าพวกเขาสามารถหาซื้อในราคาที่ถูกที่สุดจากที่ไหน

“งานบางอย่างที่เราทำพบว่า ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ยอดนิยมระดับชาติ เช่น Kellogg's หรือ Cadbury มักจะถูกกว่าราคาเฉลี่ยประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ที่ Aldi เมื่อเทียบกับ Coles หรือ Woolworths” เธอกล่าว


Share
Published 11 December 2024 4:07pm
By Aleisha Orr
Presented by Wanvida Jiralertpaiboon
Source: SBS


Share this with family and friends