กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน
ณ เวิร์คชอปเล็กๆ ที่นอร์ท เมลเบิร์น (North Melbourne) มีกลุ่มสตรีที่มีประสบการณ์ด้านการเย็บผ้ากำลังทำงาน
คุณฟาราห์ เชอร์คูล (Farah Shirkool) เคยทำงานด้านสิ่งทอที่อิหร่านมาเป็นเวลา 15 ปี ผู้อพยพเช่นคุณเชอร์คูลนำประสบการณ์มาใช้ในสถานที่ทำงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมเช่นที่นี่
ฉันมีความสุขเพราะมีหลายคนที่มาจากวัฒนธรรมและภูมิหลังที่แตกต่างกัน อยู่ด้วยกันด้วยดี ฉันมีความสุขมากๆ
บริษัทเอซเซมเบิล เธรดส์ (Assembled Threads) ยังสอนทักษะใหม่ๆ เพื่อพัฒนาทักษะด้านสิ่งทออีกด้วย
“บางครั้งฉันใช้จักรเย็บผ้า แต่วันนี้ฉันตัดผ้าเป็นครั้งแรก”
“ครั้งแรกเหรอ? มันเป็นอย่างไรบ้าง?” ผู้สื่อข่าวถาม
“น่ากลัวนิดหน่อย แต่คุณมาค่าสอนฉัน”
คุณที ลี (Thi Le) ผู้อพยพชาวเวียดนามกล่าวว่าเธอได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ อยู่ตลอด
“ฉันเรียนรู้วิธีทำซิป (zip) ฉันเรียนรู้วิธีทำเทปที่ฉันไม่เคยทำมาก่อน”
คนงานก่อสร้างใส่เสื้อกั๊กสะท้อนแสงเพื่อความปลอดภัย Source: AAP
“เราเน้นผลิตเสื้อไฮ-วิซ เพราะมีการผลิตเสื้อนี้นับหมื่นๆ ตัว และมักเป็นขยะฝังกลบ มักผลิตจากผ้าโพลีเอสเตอร์ ซึ่งจะไม่สามารถย่อยสลายได้ 200-300 ปี นับเป็นขยะสิ่งทอจำนวนมาก และฉันคิดว่าเราควรปรับพฤติกรรมของเรา มันป็นสิ่งที่เราเริ่มต้นได้ง่ายๆ ไม่ได้ใช้ขั้นตอนการเย็บที่ซับซ้อนเกินไป สำหรับเรามันเป็นเรื่องที่พอเหมาะพอดี”
คุณเอ็ดวินา วอลช์ (Edwina Walsh) ผู้บริหารกล่าว
คุณพอล เมอร์ฟิตต์ (Paul Murfitt) จากองค์กรเพื่อความยั่งยืนแห่งรัฐวิกตอเรีย (Sustainability Victoria) กล่าวว่าการผลิตเสื้อกั๊กไฮ-วิซ (หรือเสื้อกั๊กสะท้อนแสง) จากวัสดุที่นำกลับมาใช้ซ้ำหรือวัสดุรีไซเคิลจำนวน 1,500 ตัวทำให้บริษัทได้รับรางวัลการผลิตเพื่อความยั่งยืนจากมุขมนตรีรัฐวิกตอเรียถึง 2 รางวัล
นี่เป็นตัวอย่างที่ดีขององค์กรเศรษฐกิจหมุนเวียน สิ่งที่ผมคิดว่าทำให้ได้รับรางวัลคือมันสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้แก่สังคม การจ้างงานและการสร้างสิ่งที่ยั่งยืน นั่นเป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
การกำจัดเสื้อผ้าให้ถูกวิธี
คุณวอลช์ผู้บริหารมีพื้นฐานด้านฟาสท์ แฟชั่น (fast fashion) กล่าวว่าวิกฤตโควิดซึ่งทำให้ห่วงโซ่อุปทานชะงักได้สร้างโอกาสใหม่ครั้งนี้
“ฉันคิดว่าโควิดแสดงให้เห็นว่าเราต้องมีการผลิตสิ่งทอที่เป็นของเราเอง เราคงจะไม่สามารถแข่งกับการผลิตขนาดใหญ่ทั่วโลกได้ โดยเฉพาะที่เอเชีย แต่หลายคนต้องการเห็นการผลิตในท้องถิ่นที่ออสเตรเลีย และมันเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่ได้เห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นและเราสามารถผลิตให้ได้”
และคุณวอลช์กำลังเริ่มนวัตกรรมใหม่ในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้จากการผลิตเสื้อกั๊กให้เป็นสิ่งที่ยั่งยืนอีกด้วย
“และองค์กรแห่งความยั่งยืนแห่งรัฐวิกตอเรียก็สนับสนุนการวิจัยนี้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องดี มีการทดสอบเชิงพาณิชย์ เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่จะคิดว่าเสื้อสะท้อนแสงสีส้มจะสามารถลดขยะจากการก่อสร้างได้”
ทุกเส้นใยจะถักทอไปได้ไกลในการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
มองอนาคตผู้ลี้ภัยไทยกับอจ. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์