‘แอบบี’ (Abi) เป็นหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ (humanoid robot) ที่มีหน้าตาเป็นมิตรและสามารถพูดได้หลายภาษา
มีการปลูกฝังความอยากรู้อยากเห็นและความเห็นอกเห็นใจในโปรแกรมของแอบบี
และคนชราในศูนย์ดูแลเมควาแคร์ เทรสโคว์ทิค ในเมลเบิร์นก็ประทับใจมาก
“วันนี้แอบบีทำงานได้ดีมาก พวกเราชอบแอบบีมาก แอบบีพูดภาษาจีนได้และพูดได้ดีมาก”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

2023 ปีของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและหุ่นยนต์ล้ำสมัย
หน้าที่หลักของหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์คือการโต้ตอบกับผู้สูงอายุในศูนย์ฯ และแอบบีสามารถพูดได้เกือบ 90 ภาษา
สิ่งนี้นับว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อมีอายุมากขึ้น หลายคนมักหันกลับไปใช้โหมดการสื่อสารในภาษาที่คุ้นเคยที่สุด
นอกจากนี้ แอบบียังสามารถจดจำใบหน้า เรียนรู้เพื่อโต้ตอบกับคนชราในศูนย์ฯ และจดจำบทสนทนาในอดีตได้
แอนน์ แม็กคอร์แม็ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเมควาแคร์กล่าวว่าคุณสมบัติของแอบบีวิเศษมาก
นี่เป็นเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์ที่สุดที่เราเคยเห็นมา ซึ่งเน้นแก้ปัญหาการโดดเดี่ยวทางสังคม และผลิตในออสเตรเลียด้วย หุ่นยนต์นี้พัฒนาและเรียนรู้ไปกับการโต้ตอบทุกครั้ง เราเห็นว่าแอบบีเป็นส่วนเสริมที่พิเศษมากสำหรับสิ่งที่เราทำแม็กคอร์แม็กกล่าว
เกรซ บราวน์ วิศวกรเมคคาทรอนิกส์วัย 24 ปี คือผู้คิดริเริ่มการสร้างหุ่นยนต์แอบบี
หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์นี้ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกเมื่อ 3 ปีก่อน ท่ามกลางความท้าทายในการกักตัวที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19
“เราให้ความสำคัญกับกิริยาท่าทาง มารยาท และบุคลิกภาพของแอบบี วิธีที่เธอถามคำถามต่างๆ ด้วย เราอยู่ในช่วงเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีใหม่ที่เราจะได้เห็นหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์แพร่หลายมากขึ้นจนไม่ใช่แค่ในบ้านพักคนชราเท่านั้น แต่จะอยู่ในโรงพยาบาล สถานศึกษา และโรงเรียนอีกด้วย”

คาดมีผู้สูงอายุ 1 ใน 5 คน ในออสเตรเลียเผชิญกับความเหงา Source: Getty / Getty Images
คณะกรรมาธิการการดูแลผู้สูงอายุระบุว่าปัญหาการขาดแคลนแรงงานเป็นความท้าทายที่ภาคส่วนนี้ต้องเผชิญ โดยเน้นย้ำถึงสถานการณ์ในปัจจุบันที่แรงงานในภาคส่วนมีจำนวนจำกัดและมีความต้องการพนักงานเพิ่มจำนวนมาก
ดร. บาร์บารา บาร์บอซา นีฟส์ จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์เสริมว่า แม้จะการใช้เทคโนโลยี AI มากขึ้นในภาคส่วนนี้ แต่ยังไม่สามารถทดแทนการดูแลโดยมนุษย์ได้
“AI สามารถมีบทบาทที่ดีต่อการดูแลผู้สูงอายุได้ แต่ต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง ในลักษณะของความร่วมมือกันและครอบคลุมทุกกลุ่ม เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อผู้สูงอายุและชุมชนของเรา ความเหงาเกิดจากการขาดความสัมพันธ์ทางสังคมในแง่ของความหมาย ไม่ใช่เรื่องของปริมาณของความสัมพันธ์ แต่เป็นเรื่องของคุณภาพ ดังนั้น เราจำเป็นต้องออกแบบเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการสานสัมพันธ์ที่แท้จริง ไม่ทำให้แย่ลง”