ประเด็นสำคัญ
- เกณฑ์ในการพิจารณาของศาลสำหรับความสัมพันธ์แบบ de facto นั้นมีเกณฑ์การประเมินเพื่อให้สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ของแต่ละคู่
- สถาบัน de facto ช่วยรักษาสิทธิของคู่นอกสมรส รวมไปถึงสิทธิที่สามารถเรียกร้องได้เมื่อมีการแยกทางกัน หรือเมื่อคู่ครองเสียชีวิต
- การไกล่เกลี่ยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยแก้ปัญหาข้อพิพาทหลังเกิดการยุติความสัมพันธ์แบบ de facto
ในออสเตรเลีย เมื่อบุคคลสองคนอยู่อาศัยร่วมกันฉันท์สามีภรรยา ความสัมพันธ์นั้นจะถือว่าเป็นคู่ครองในทางกฎหมาย แม้ไม่มีการจดทะเบียนสมรสในทางกฎหมายก็ตาม
โดยความสัมพันธ์ในฉันท์คู่ครองโดยพฤตินัยหรือ de facto เช่นนี้มีการบัญญติไว้ในกฏหมายครอบครัวของออสเตรเลีย () ว่าเมื่อบุคคลสองคนทั้งต่างเพศและเพศเดียวกันได้อยู่อาศัยร่วมกันในฐานะสามีภรรยา
ซึ่งกระบวนการและข้อกำหนดเพื่อให้ได้มาซึ่งการยอมรับทางกฎหมายว่าเป็นความสัมพันธ์ในฉันท์คู่ครองโดยพฤตินัยนั้นต่างกันตามแต่ละรัฐที่อยู่อาศัย
ตัวอย่างเช่น ในรัฐเซาท์ ออสเตรเลียนั้น ความสัมพันธ์แบบ de facto จะได้รับการจดทะเบียน ภายใต้กฎหมายการจดทะเบียนความสัมพันธ์ () และเมื่อมีการจดทะเบียนแล้ว สถานะความสันพันธ์ก็จะได้รับการยอมรับตามกฎหมายทุกที่ในออสเตรเลีย
การจดทะเบียนความสัมพันธ์ในฉันท์คู่ครองหรือ de facto ในออสเตรเลีย สามารถทำได้กับคู่ครองทั้งต่างเพศและเพศเดียวกับ Credit: eclipse_images/Getty Images
เพราะนั้นอาจช่วยพวกเขาให้ได้รับวีซ่า ซึ่งในสถานการณ์ที่คู่ครองเสียชีวิตจากไป นั่นอาจส่งผลกระทบกับพวกเขาในมุมมองเรื่องทรัพย์สินร่วมกัน หรือในแง่ของวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ หากต้องมีการตัดสินใจสำหรับผู้ใกล้ชิดในอนาคต
คุณนิโคล อีวานส์ นักกฎหมายด้านความสัมพันธ์และครอบครัวในซิดนีย์ได้ยกตัวอย่างและเหตุผลว่าทำไมคนเหล่านี้ถึงเลือกที่จะทำให้สถานะความสัมพันธ์ของพวกเขาเป็นที่ยอมรับทางกฎหมาย
โดยเฉพาะกับผู้หญิงที่มีคู่ครองเป็นเพศเดียวกัน เพราะ กฏหมายครอบครัวของออสเตรเลียนั้นจำเป็นต้องให้มีมารดาที่ไม่ได้ให้กำเนิดได้รับการยอมรับเป็นผู้ปกครองทางกฎหมาย ดังนั้นการขึ้นทะเบียนความสัมพันธ์แบบ de facto เช่นนี้จะช่วยให้ได้รับสถานะที่ได้รับการยอมรับทางกฏหมายโดยอัติโนมัติ
การจดทะเบียนความสัมพันธ์เช่นนี้อาจช่วยให้การเรียกร้องสวัสดิการรัฐบางประเภทได้สำหรับบุคคลที่ต้องการได้รับการยอมรับว่าสามารถเลี้ยงชีพได้โดยเป็นอิสระจากผู้ปกครองของตน
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ทนายคนไทยให้ข้อมูลการหย่าร้างในออสเตรเลีย
ดุลยพินิจของศาลต่อความสัมพันธ์แบบ de facto
ศาลทำหน้าที่พิจารณาสถานะความสัมพันธ์ในฉันท์คู่ครองโดยพฤตินัย โดยอาจรวมถึง
• ระยะเวลาความสัมพันธ์ตามจริง และมุมมองต่อสังคมสาธารณะ
• ความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างสองฝ่าย
• ทรัพย์สินทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่ถือครองร่วมกัน
• ระดับของความมุ่งมั่นในการใช้ชีวิตร่วมกัน
โดยเกณฑ์เหล่านี้จะใช้ในการพิจารณาและประเมินตามความเหมาะสมที่ต่างกันไปในแต่ละคู่ว่ามีน้ำหนักหรือไม่
ทางคุณอีวานส์ อธิบายเพิ่มเติมถึงความเข้าใจผิดมักจะเกี่ยวข้องกับระยะเวลาของความสัมพันธ์
ผู้คนจำนวนมากคิดว่าคุณจะต้องอยู่ในความสัมพันธ์เช่นนี้เป็นระยะเวลาสองปีขึ้นไปเพื่อที่จะได้รับการพิจารณารับสถานะความสัมพันธ์นี้ได้ ซึ่งนั่นไม่เป็นความจริง เพราะคนมักเข้าใจผิดว่าเมื่อคุณอาศัยอยู่ร่วมกันนานกว่าสองปี คุณจะถือว่าได้สิทธิในการครอบครองสินทรัพย์ของคู่ครองมากถึง 50% ซึ่งแน่นอนว่าไม่จริงเช่นกัน
เมื่อจำเป็นต้องยุติความสัมพันธ์ขึ้น การเข้าหาบริการช่วยไกล่เกลี่ยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่อาจจะสามารถยุติข้อขัดแย้งกันได้อย่างเท่าเทียมและยุติธรรมมากขึ้น Credit: ProfessionalStudioImages/Getty Images
มันไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยนัก แต่เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่งงานแล้วและยังอยู่ในสถานะสมรส เมื่อเกิดการหย่าร้างกันแล้วไม่มีใครยื่นต่อศาลเพื่อทำการหย่าให้ถูกต้อง ในสถานการณ์เช่นนี้ อาจจบที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในการสมรสนั้น ตัดสินใจเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่กับคนอื่นในระยะเวลาต่อมาคุณเดเมียน เกรีย นักกฎหมายทางด้านความสัมพันธ์ครอบครัวในบริสเบนอธิบาย
ข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับบุตรจากความสัมพันธ์ประเภทนี้นั้น มีครอบคลุมหลากหลายประเด็น อาทิ การจัดการด้านการเป็นผู้ปกครอง ซึ่งจะมีศาลมาเป็นผู้รับรู้ด้วยเช่นเดียวกับคู่สมรสตามกฎหมายทั่วไป
ความสัมพันธ์ประเภทนี้นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันทางการเงินในบางช่วงความสัมพันธ์เสมอ
การที่คุณสามารถแสดงหลักฐานที่ระบุได้ว่าคุณมีสินทรัพย์ใดร่วมกันระหว่างที่อยู่ในความสัมพันธ์ จะทำให้ศาลพิจารณาได้ว่าสินทรัพย์เหล่านั้นจะถูกแบ่งได้อย่างไรหากมีการยุติความสัมพันธ์กันในอนาคต โดยทนายความจะเซ็นเอกสารได้ก็ต่อเมื่อได้มีการให้คำปรึกษาทางกฎหมายให้ทราบทั้งสองฝ่าย ถึงข้อดีและข้อเสียของข้อตกลงด้านความสัมพันธ์เช่นนี้คุณนิโคล อีวานส์ขยายเพิ่มเติม
เรื่องที่น่าสนใจ
สิทธิ์ของเด็กในออสเตรเลีย
การไกล่เกลี่ยเพื่อยุติข้อพิพาท
เมื่อมีการยุติความสัมพันธ์เกิดขึ้น บุคคลทั้งสองนั้นสามารถเข้าถึงบริการเพื่อการไกล่เกลี่ยได้ ในการเจรจาหาข้อตกลงหากเกิดข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับบุตรหลานและทรัพย์สินที่ถือครองร่วมกัน เช่นเดียวกับคู่สมรสทางกฎหมายทั่วไป
คุณฟีโอนา เบนเน็ต ผู้ให้คำปรึกษาด้านความสัมพันธ์ในออสเตรเลียจากเวสเทิร์น ออสเตรเลียกล่าวว่า การไกล่เกลี่ยจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันได้อย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกันโดยไม่ใช้อารมณ์เป็นตัวตัดสินเพียงอย่างเดียว
ภายหลังยุติความสัมพันธ์ ศาลจะเป็นผู้ออกคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพย์สินร่วม รวมถึงการแบ่งสินทรัพย์และค่าเลี้ยงดูอีกฝ่ายหากจำเป็น โดยกระบวนการไกล่เกลี่ยนั้นเมื่อมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งติดต่อขอคำปรึกษา โดยทางเจ้าหน้าที่จะทำการติดต่ออีกฝ่ายเพื่อถามความจำนงว่าต้องการเข้าร่วมการไกล่เกลี่ยหรือไม่
การช่วยเหลือไกล่เกลี่ยหลังยุติความสัมพันธ์จะช่วยให้การเจรเจาทั้งในด้านการจัดการทรัพย์สินและสิทธิการเลี้ยงดูบุตรหลานได้อย่างเป็นธรรม Source: Moment RF / Rapeepong Puttakumwong/Getty Images
ซึ่งข้อดีของการใช้บริการไกล่เกลี่ยเช่นนี้จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้หาข้อตกลงที่เห็นตรงร่วมกันได้ก่อนที่จะดำเนินเรื่องต่อศาล เพราะหากทั้งสองฝ่ายไม่ได้ไกล่เกลี่ยกันก่อนล่วงหน้า ก็จะเข้าสู่กระบวนโต้แย้งในศาล ซึ่งหมายความว่าทั้งสองฝ่ายอาจจะขาดการเตรียมตัวก่อนที่จะรับมือกับการตัดสินของศาล ซึ่งอาจทำได้เพียงนั่งอยู่เฉย ๆ และปฏิบัติตามคำตัดสิน
หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในแง่กฎหมายด้านความสัมพันธ์หรือคำแนะนำในการหาทนายความในรัฐของคุณ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ในรัฐนิว เซาท์ เวลส์ รวมถึง Law Institute of Victoria และ Queensland Law Society
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์ครอบครัวและการช่วยเหลือ สามารถศึกษาเพิ่มเติมหรือติดต่อทางรัฐบาลออสเตรเลียได้ที่เว็บไซต์ หรือโทร 1800 050 321.