ไวรัสระบาดกระทบเด็กๆ อย่างไรบ้าง

Kids looking outside at the world. Stuck inside during a pandemic quarantine.

Source: Unsplash-Kelly Sikkema

นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาทั่วโลกวิเคราะห์ผลกระทบของการระบาดต่อเด็กๆ องค์กรยูนิเซฟ (UNICEF) องค์กรสำหรับเด็กแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า เด็กทุกคนได้รับผลกระทบจากการต้องกักตัวอยู่กับบ้าน ด้านผู้เชี่ยวชาญในออสเตรเลียเรียกร้องให้มีความช่วยเหลือแต่เนิ่นๆ


ปี 2022 นับเป็นปีที่สามของการระบาดใหญ่ นักวิจัยเริ่มเข้าใจถึงผลกระทบของการกักตัวต่อพัฒนาการด้านจิตใจและร่างกายของเด็ก

คุณไวเรน ดีซ่า (Viren D'Sa) กุมารแพทย์สาขาการพัฒนาของระบบประสาทที่โรงพยาบาลเด็ก แฮสโบร (Hasbro Children's Hospital) ที่โรด ไอร์แลนด์ (Rhode Island) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยบราวน์ (Brown University) ศึกษาเด็กจำนวน 290 คน วัยระหว่าง 1 – 7 ปี ตั้งแต่ก่อนไวรัสโควิด-19 ระบาดในปี 2019

เขาสังเกตเห็นประสิทธิภาพทางวาจา การเคลื่อนไหว และการรับรู้โดยรวมที่ลดลงของเด็ก โดยเห็นได้ชัดเจนในเด็กผู้ชายและเด็กที่มาจากครอบครัวที่ยากจน

“เมื่อพูดถึงการเคลื่อนไหว ผมไม่ได้หมายถึงการเดิน วิ่ง กระโดด คลาน หรือทักษะประเภทนั้น ผมหมายถึงว่าพวกเขาจัดการกับวัตถุอย่างไร เคลื่อนไหว ย้ายวัตถุอย่างไร  การใช้ทักษะในการประมวลผลเพื่อเคลื่อนย้ายวัตถุเหล่านั้น และทักษะเหล่านี้ลดลงกว่ามาตรฐาน เช่นเดียวกับองค์ประกอบของการเรียนรู้เบื้องต้นที่ลดลงเช่นกัน  และผมคิดว่ามันเกี่ยวข้องกับการที่เด็กๆ ขาดโอกาสในการฝึกฝนทักษะเหล่านั้น”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดีซ่ากล่าวว่า เด็กเล็กหลายคนพบว่าการดูแลและกิจวัตรประจำวันเปลี่ยนไปอย่างกะทันหันในช่วงของการระบาด

“สำหรับกระบวนการพัฒนาตนเอง การหาพื้นที่ของพวกเขาเองในโลกใบนี้ มันถูกโยนทิ้งไปอย่างกะทันหัน และถูกแยกออกผู้อื่น เราเห็นปัญหาด้านอารมณ์ที่เพิ่มขึ้น ความวิตกกังวล ปัญหาในการปฏิบัติตามคำสั่ง เพราะสมาธิของพวกเขาถูกทำให้เสียกระบวน”

ศาสตราจารย์อดัม กุสเตลลา (Adam Guastella) นักจิตวิทยาแห่งโรงพยาบาลเด็กที่ซิดนีย์ สังเกตเห็นถึงแนวโน้มที่คล้ายคลึงกันที่เกิดจากการแยกตัวทางสังคมเป็นเวลานาน

ในปลายเดือนกรกฎาคม ปี 2020 แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลในรัฐนิวเซาท์เวลส์รับรักษาเคสผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ทำร้ายตนเองและมีความคิดฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 31 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019

ศาสตราจารย์กุสเตลลากล่าวว่าเคสผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นในแผนกฉุกเฉินจากปัญหาสุขภาพจิตที่อยู่ในขั้นวิกฤต เป็นเรื่องที่น่าหนักใจ
เราเห็นจำนวนผู้เยาว์ที่เพิ่มขึ้นในโรงพยาบาลและในแผนกฉุกเฉินทั่วประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กผู้หญิงในเครือโรงพยาบาลสำหรับเด็กในซิดนีย์ (Sydney Children’s Hospitals Network) ที่มีอัตราของความคิดพยายามฆ่าตัวตาย ยังมีจำนวนเด็กที่เปราะบางและประสบปัญหาด้านการพัฒนาของระบบประสาท ที่ได้รับผลกระทบเป็นพิเศษ
ศาสตราจารย์กุสเตลลากล่าวว่า การต้องรอพบผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาสุขภาพจิตเป็นเวลา 6 เดือน ทำให้แผนกฉุกเฉินเป็นฝ่ายต้องรับมือ

“มันเป็นเรื่องซับซ้อน เพราะเหตุผลส่วนหนึ่งของปัญหาของการมาแผนกฉุกเฉิน เป็นเพราะครอบครัวไม่มีที่อื่นให้ไป พวกเขาไม่สามารถนัดพบนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ได้ได้ ซึ่งปกติจะต้องได้รับการส่งต่อจากแพทย์ทั่วไป ดังนั้นโรงพยาบาลจึงเป็นสถานที่แห่งเดียวทีรองรับได้ สำหรับหลายๆ ครอบครัว”
A man and a boy sitting on a sofa
การพูดคุยกับเด็กถึงสุขภาพจิต Source: Pexels/Cottonbro
ในขณะที่เด็กๆ กลับไปเรียนที่โรงเรียน การวิจัยพบว่าการเรียนแบบทางไกลนั้นยากเพียงใดสำหรับเด็ก

แพทย์หญิงแอนเทีย โรดส์ (Dr Anthea Rhodes) กุมารแพทย์ที่โรงพยาบาลเด็กในราชินูปถัมภ์ ในเมลเบิร์น (The Royal Children’s Hospital Melbourne) และผู้อำนวยการการสำรวจสุขภาพเด็กแห่งชาติ (National Child Health Poll) ที่สำรวจครอบครัวในออสเตรเลีย 2,000 ครัวเรือนทุกๆ ไตรมาส ทำการสำรวจประสบการณ์ของเด็กๆ ในการเรียนแบบทางไกล สุขภาพจิตใจและร่างกาย

แพทย์หญิงโรดส์กล่าวว่าเด็กๆ จากครอบครัวที่ยากจนและเปราะบางมีความเสี่ยงสูงที่สุด
เด็กๆ ที่อาจมีปัญหาเรื่องการเรียนรู้อยู่แล้ว หรือมีทักษะการเข้าสังคมที่ลดลง เพราะพวกเขาต้องอยู่กับบ้านเป็นเวลานาน พวกเขาอาจสูญเสียความสามารถที่จะสร้างทักษะเหล่านี้ พวกเขาอาจมีความกังวลเพิ่มมากขึ้น พวกเขาอาจอยู่ในสภาพแวดล้อมของบ้านที่มีความเครียด อาจเกี่ยวข้องกับความเครียดด้านการเงิน ที่เราพบได้ทุกหนึ่งในสี่ของครอบครัวในออสเตรเลีย ในช่วงของการระบาด
ศาสตราจารย์กุสเตลลากล่าวว่าความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ควรมีการจัดการเพื่อให้เด็กๆ สามารถไปเรียนที่โรงเรียนได้

“สิ่งสำคัญคือโรงเรียนยังคงเปิด เพราะผมคิดว่าเราเห็นผลกระทบจากการที่เด็กๆ ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ทุกวัน เรื่องของการเรียนรู้ที่จะยืดหยุ่นและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และมีผลต่อการพัฒนาทักษะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว ผ่านกีฬา หรือทักษะทางปัญญาผ่านการละเล่น”
A mother and a daughter with remote learning
แม่และลูกสาวที่กำลังเรียนออนไลน์ Source: Pexels/August de Richelieu
ศาสตราจารย์กุสเตลลาเรียกร้องให้ผู้ที่กำหนดนโยบาลในระดับรัฐบาลสหพันธรัฐและรัฐบาลกลางหาทางเพื่อปรับปรุงการขอรับบริการจากจิตแพทย์สำหรับเด็ก ผู้ปกครองและครู ให้ดีขึ้น และการสนับสนุนให้มีจำนวนพนักงานในภาคส่วนของสุขภาพจิตที่เพียงพอ โดยเฉพาะในขณะที่เด็กๆ กำลังกลับไปเรียนในโรงเรียนแบบเต็มเวลา

ถึงแม้ว่าจะมีความสนใจและเงินทุนเพิ่มขึ้นในเรื่องของสุขภาพจิตของเด็กในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ในหลายๆ รัฐ แต่ยังสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกได้

“ดังนั้นมันควรเป็นสิ่งที่เราลงทุนต่อไป จนกว่าเราจะเห็นเด็กๆ ทุกคนดีขึ้น เราต้องเข้าใจว่าเราจะทำสิ่งนี้ได้อย่างไร เพื่อหาทางที่ดีที่สุดสำหรับเด็กทุกคน และอย่าลืมว่าปัจจัยสำคัญด้านสังคม เมื่อทั้งครอบครัว ผู้ปกครองและเด็กที่มีสถานะทางการเงินที่ดี จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็กทุกคน”


หากคุณประสบกับความเครียด และต้องการการปรึกษาปัญหาสภาพจิตใจ ติดต่อ BeyondBlue ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1300 22 4636 หรือ Lifeline ที่หมายเลข 13 11 14

บริการสนับสนุนทางอารมณ์ สำหรับเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี โทรหาสายด่วน Kids Helpline ได้ทุกเวลา ที่หมายเลข 1800 55 1800

Share