นักเรียนไทยปรับตัวอย่างไรกับการจำกัดชั่วโมงทำงาน

Student Visa New 1.png

ผู้ถือวีซ่านักเรียนที่เป็นคนไทยในซิดนีย์ได้รับผลกระทบอย่างไรบ้างจากการกลับมาจำกัดชั่วโมงทำงาน Source: Pixabay, SBS

นักเรียนไทยในซิดนีย์ปรับตัวอย่างไรกับการจำกัดชั่วโมงทำงานสำหรับผู้ถือวีซ่านักเรียนเหลือไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสองสัปดาห์ และพวกเขารับมือกับค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นอย่างไร หลังชั่วโมงทำงานที่ลดลง


หมายเหตุ* เนื้อหาในบทสัมภาษณ์สะท้อนความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เอสบีเอส ไทย มิได้ต้องการส่งเสริมการกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ขอให้ผู้อ่านและผู้ฟังโปรดใช้วิจารณญาณและเปิดใจรับฟังถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นจริงในออสเตรเลีย

คุณฟลุ้ค - ธีรพัฒน์ งามวงศ์ดี

นักเรียนผู้หารายได้เสริมด้วยงานบาริสต้าในซิดนีย์มานานกว่า 5 ปี

“การทำงานด้วยจำนวนชั่วโมงที่จำกัดตามกฏหมายนั้นยังไงก็ไม่พอกับการใช้ชีวิตที่นี่ เพราะมีทั้งค่าใช้จ่ายสำหรับที่พัก ค่ากิน และค่าเรียน ทุกวันนี้ทางบ้านยังต้องช่วย support ค่าเทอมที่ผมไม่ต้องจ่ายเอง"
fluke1.jpeg
คุณฟลุ้ค - ธีรพัฒน์ งามวงศ์ดี Source: Supplied / ธีรพัฒน์ งามวงศ์ดี
"ช่วงปิดเทอมที่นักเรียนสามารถทำงานได้ไม่จำกัด ผมก็จะทำงานหนัก 7 วันเพื่อให้มีเงินเก็บเยอะ ๆ เพื่อที่ช่วงเปิดเทอมจะได้ไม่ต้องเครียดมาก ตอนนี้ก็พยายามลดค่าใช้จ่าย ซึ่งผมกำลังจะย้ายออกมาพักนอกเมืองเพราะค่าห้องในเมืองแพงมาก ก่อนหน้านี้อยู่ห้อง second ในเมืองที่ราคา $320 ต่อสัปดาห์ แต่ผมต้องแชร์ห้องน้ำกันหกคน”
การทำงานด้วยจำนวนชั่วโมงที่จำกัดตามกฏหมายนั้นยังไงก็ไม่พอกับการใช้ชีวิตที่นี่ ช่วงปิดเทอมที่นักเรียนสามารถทำงานได้ไม่จำกัด ผมก็จะทำงานหนักเพื่อให้มีเงินเก็บเยอะ ๆ
คุณฟลุ้ค

คุณโก๋

หนุ่มชาวเชียงใหม่ผู้ฝันจะคว้าพีอาร์ด้วยอาชีพเชฟในซิดนีย์

“ต้องยอมรับว่าเราได้รับผลกระทบไม่มากจากการจำกัดชั่วโมงทำงาน เพราะได้รับความช่วยเหลือจากทางร้านที่เค้าจ่ายและออกเพย์สลิปให้เราเป็น 24 ชั่วโมง แต่ได้รายรับเท่าเดิม และเราไม่ต้องทำงานน้อยลง ซึ่งเราเองก็ยังต้องจ่าย tax ตามปกติ แต่ถึงอย่างนั้น เราคิดว่าเราวางแผนการเงินเรายากขึ้น บวกกับถ้าเราอยากเปลี่ยนงานหรือหางานเพิ่มก็น่าจะลำบาก”
เราได้รับความช่วยเหลือจากทางร้านที่เค้าจ่ายและออกเพย์สลิปให้เราเป็น 24 ชั่วโมง แต่ได้รายรับเท่าเดิม และเราไม่ต้องทำงานน้อยลง
คุณโก๋
koh1.jpg
คุณโก๋ นักเรียนไทยในซิดนีย์ ที่ทำงานเป็นเชฟ Source: Supplied

คุณซี

นักเรียนสายมาร์เก็ตติ้งที่ปัจจุบันทำงานพร้อมกันอยู่ถึง 4 ที่

“ตอนนี้เราทั้งทำงานและเช่าบ้านมาปล่อยเช่าต่อให้คนไทยด้วย เรารู้ว่ามันมีกฏหมายเรื่องจำกัดชั่วโมงทำงาน แต่ว่าเงินมันก็ต้องใช้ ถ้าเราไม่ทำก็อยู่ไม่รอด ก็เลยต้องเลือกงานที่เป็นเงินสดมาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกไว้ทำงาน สำหรับเราที่มีความสามารถพูดได้หลายภาษา เราคิดว่าการหางานไม่ใช่ปัญหาสำหรับเรา ถึงแม้จะมีความเสี่ยงที่นายจ้างอาจไป report เราได้ในภายหลัง แต่เราเชื่อว่าเราทำทุกอย่างให้เต็มที่ให้ดีที่สุด เพื่อให้เค้าเชื่อใจเราว่าเราสามารถทำงานให้เค้าได้ และเค้ายังต้องการเราอยู่”
เรารู้ว่ามันมีกฏหมายเรื่องจำกัดชั่วโมงทำงาน แต่ว่าเงินมันก็ต้องใช้ ถ้าเราไม่ทำก็อยู่ไม่รอด ก็เลยต้องเลือกงานที่เป็นเงินสดมาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก
คุณซี

คุณกอล์ฟ - พลอยอนงค จิรฤทัยโรจน์

นักเรียนปริญญาโทสายธุรกิจที่รับจัดอีเวนต์ในซิดนีย์

“เรามาถึงซิดนีย์ปีที่แล้วซึ่งเป็นจังหวะที่ดีเพราะสามารถทำงานได้ไม่จำกัดชั่วโมง ทำให้ที่ผ่านมาเราได้ทำงานและมีเงินเก็บพอที่จะใช้ชีวิตได้ไม่ลำบากนัก ตอนนี้เราใกล้จะเรียนจบแล้วก็พยายามจะเรียนให้จบเพื่อให้ผ่านช่วงของวีซ่านักเรียนไปให้ได้ ตอนนี้เราก็คงต้องทำกับข้าวกินเองมากขึ้น แล้วก็ทำแพลนรายรับ-รายจ่ายไปด้วย มันฟังดูเหมือนโบราณนิดนึงแต่เราต้องคุมอะไรที่เราคุมได้ เช่น เราต้องทำกาแฟกินเองเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อทุกอย่างเท่าที่เราทำได้”
ตอนนี้เราก็คงต้องทำกับข้าวกินเองมากขึ้น แล้วก็ทำแพลนรายรับ-รายจ่ายไปด้วย มันฟังดูเหมือนโบราณนิดนึงแต่เราต้องคุมอะไรที่เราคุมได้
คุณกอล์ฟ
golf2.jpg
คุณกอล์ฟ - พลอยอนงค จิรฤทัยโรจน์ Source: Supplied
คุณอ้อ - บุญจิรา อังสุมาลี

พนักงานประจำในไทยที่ต้องทำงานเต็มเวลาระหว่างเรียนปริญญาโท

“ถึงเรามีงานประจำที่ไทยแบบ remote แต่ก็ยังได้รับผลกระทบกับการจำกัดชั่วโมงทำงานตามกฏหมายของออสเตรเลียอยู่บ้าง เพราะว่าการสมัครหางานพาร์ทไทม์หรือการขอทำโปรเจคอะไรเล็กๆ น้อยๆ เพิ่มเติมก็จะมีข้อจำกัดมากขึ้นด้วยเรื่องของวีซ่า บริษัทใหญ่ ๆ เค้าไม่อยากจะมีปัญหาส่วนนี้ ก็เลยเลือกจะไม่รับคนที่ถือวีซ่านักเรียน ดังนั้นถึงเราความสามารถถึง แต่เพราะการจำกัดชั่วโมงของวีซ่านักเรียนก็ทำให้เราต้องเสียโอกาสตรงนั้นไป”
การสมัครหางานพาร์ทไทม์หรือการขอทำโปรเจคอะไรเล็กๆ น้อยๆ เพิ่มเติมก็จะมีข้อจำกัดมากขึ้นด้วยเรื่องของวีซ่า
คุณอ้อ
aor1.jpg
คุณอ้อ - บุญจิรา อังสุมาลี Source: Supplied
การปรับค่าแรงขั้นต่ำในออสเตรเลียประจำปี 2566
ปัจจุบัน รัฐบาลออสเตรเลียได้ปรับค่าแรงขั้นต่ำโดยมีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2566 ขึ้นมาเป็น 5.75% หรือเท่ากับ 23.23 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง หรือ 882.80 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ โดยผู้รับค่าจ้างจำเป็นจะต้องเก็บสลิปเงินเดือนให้ครบและรายงานภาษีกับทางรัฐเมื่อสิ้นสุดปีการเงิน ว่าได้รับรายได้สุทธิ รวมถึงเงินสดที่ได้รับจากนายจ้างตลอดทั้งปีให้กับทางกรมสรรพากรออสเตรเลียหรือ ATO โดยสามารถดาวน์โหลดใบแจ้งรายได้ด้วยตนเองผ่านบริการออนไลน์ของ ATO Online Service หรือสามารถติดต่อแจ้งขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงาน ATO ได้ที่เบอร์ 13 28 61 และโทรฯ 13 14 50 สำหรับบริการล่ามภาษาไทย

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

คลิก ▶ เพื่อฟังสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
thai_190723_Student Visa Work Hours.mp3 image

นักเรียนไทยปรับตัวอย่างไรกับการจำกัดชั่วโมงทำงาน

SBS Thai

20/07/202327:00

Share