โรแมนซ์ สแกม: รู้ทันรักลวง วิธีสังเกตและรับมือการหลอกให้รักทางออนไลน์

Hacker Wearing Mask using laptop computer for cyber attack and calling on cellphone, Data thief, internet attack, darknet and cyber security concept

การหลอกลวงทางความรักคือการที่คนร้ายสร้างตัวตนปลอมออนไลน์ขึ้นมาเพื่อหลอกลวงให้เหยื่อเชื่อในความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นจริง Source: Moment RF / Sutthichai Supapornpasupad/Getty Images

เมื่อปีที่ผ่านมา มีรายงานการเรื่องโรแมนซ์ สแกม ในออสเตรเลียกว่า 3,200 กรณี รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 23 ล้านดอลลาร์ เรามีข้อมูลรูปแบบการหลอกลวง สัญญาณเตือน และสิ่งที่ควรทำเมื่อตกเป็นเหยื่อ


ประเด็นสำคัญ
  • ประชากรออสเตรเลียสูญเงินกว่า 23 ล้านดอลลาร์ ให้กับโรแมนซ์ สแกม เมื่อปีที่แล้ว
  • เป้าหมายของมิจฉาชีพมักเป็นผู้สูงอายุ ม่าย ผู้หย่าร้าง ชนพื้นเมือง และผู้พิการ แต่ใครก็ตกเป็นเหยื่อได้
  • มิจฉาชีพมักสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้การบีบบังคับทางอารมณ์เพื่อขอเงินหรือขอข้อมูลส่วนตัว
  • การไม่สามารถพบเจอได้ตัวต่อตัว การเก็บความสัมพันธ์เป็นความลับ และการขอเงิน มักเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังคุยอยู่กับมิจฉาชีพ
ไคลีย์ เดนนิส ดีใจเมื่อได้ยินแม่ของเธอบอกว่าเจอใครบางคน หลังหย่าร้างมา 25 ปี

แต่สิ่งที่ทำให้เธอสงสัยคือ แม่คุยกับชายคนนั้นมานาน 6 เดือน โดยไม่เคยเจอกันเลย

“แม่บอกว่า ‘เขาอยู่ที่ตุรกี กำลังปิดดีลสัญญาท่อส่งน้ำมัน’ มันฟังดูสมเหตุสมผล จนกระทั่งแม่พูดว่า ‘เราคุยกันมา 6 เดือนแล้ว’ นั่นคือสัญญาณเตือนอันแรก”
Businessman holding white mask in his hand dishonest cheating agreement.Faking and betray business partnership concept
รู้ถึงสัญญาณเตือนภัยว่าคุณหรือคนที่คุณรักกำลังคุยกับสแกมเมอร์ที่ลวงให้รักอยู่หรือไม่ Source: iStockphoto / SPmemory/Getty Images/iStockphoto
เมื่อแม่ส่งรูปชายคนนั้นมาให้ เธอจึงเริ่มสืบ

เมื่อเดนนิสค้นหาที่มาของภาพ (reverse image search) เธอพบว่ารูปถ่ายนั้นไม่ใช่ชายคนที่แม่เธอบรรยาย แต่เป็นรูปของนายหน้าขายบ้านในอเมริกา แต่งงานแล้ว มีลูกสาวและหลานชาย ไม่ได้อยู่ตุรกี ไม่ใช่คนออสเตรเลีย และภรรยาก็ยังมีชีวิตอยู่

“ฉันเริ่มเรียบเรียงข้อมูลและบอกความจริงกับแม่ ด้วยพื้นฐานจากงานตำรวจ ฉันพูดตรงๆ แต่สุภาพ บอกแม่ว่า ‘แม่โดนหลอกนะ’”

แม้แม่ของเธอจะปฏิเสธว่าไม่เคยส่งเงินให้ แต่เดนนิสเชื่อว่าแม่อาจส่งไปแล้ว เพียงแต่อายเกินกว่าจะยอมรับ

เหตุการณ์นี้ทำให้เธอก่อตั้ง หน่วยงานเปิดโปงมิจฉาชีพหลอกลวงด้วยการใช้ความรัก (romance scammer)

เธออธิบายว่าแผนการหลอกลวงส่วนใหญ่เริ่มจากแอปพลิเคชันหาคู่หรือโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook และมักมีรูปแบบเดียวกัน

“คุณเข้าไปเจอคนที่ดูเหมือนเป็นคู่ในฝันทางออนไลน์ ความสัมพันธ์พัฒนาอย่างรวดเร็ว พวกเขาจะชวนคุณออกจากแอปไปคุยในแพลตฟอร์มส่งข้อความส่วนตัว แล้วเริ่มคุยกันลึกซึ้ง พวกเขาจะค้นหาค่านิยมที่คุณเชื่อ ความชอบและไม่ชอบ ความสัมพันธ์จะคืบหน้าเร็วมาก แล้วสักพักก็จะเริ่มขอเงิน โดยอ้างว่ามีเหตุฉุกเฉิน”
romance fraud
Love bombing คือการทุ่มเทให้ความรักเร็วเกินไป หนึ่งในสัญญาณเตือนถึงสแกมเมอร์ Source: iStockphoto / Frank Brennan/Getty Images
คาทรีโอนา โลว์ รองประธาน ACCC (Australian Competition and Consumer Commission หรือคณะกรรมการกำกับดูแลการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย) ซึ่งดูแลศูนย์ต่อต้านการหลอกลวงแห่งชาติด้วย ระบุว่ามิจฉาชีพบางรายอาจใช้เวลานานเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดูเหมือนจริง

โลว์แนะว่าคือการทุ่มเทให้ความรักเร็วเกินไป ‘love bombing’

“มิจฉาชีพจะติดต่อบ่อยมากตั้งแต่ต้น แสดงความรักหรือความหลงใหลแบบรวดเร็ว เพื่อทำให้เหยื่อรู้สึกหวั่นไหว”

เมื่อความสัมพันธ์เริ่มก่อตัว มิจฉาชีพมักย้ายการสนทนาไปยังแพลตฟอร์มที่ต้องเข้ารหัส เช่น WhatsApp หรืออีเมล ทำให้ตรวจสอบได้ยากขึ้น

สำหรับเดนนิส สัญญาณเตือนใหญ่ที่สุดคือข้ออ้างในการไม่เจอตัวตนจริง

“พวกเขาจะบอกว่าตัวเองเป็นนักธุรกิจ หมอ ทหาร หรือทำงานบนแท่นขุดเจาะน้ำมัน อะไรก็ตามที่ทำให้ไม่สามารถอยู่ในออสเตรเลียหรือไปพบคุณได้ และจะมีเหตุผลเสมอที่ไม่สามารถเจอกันได้”
AE_romance scam_Ritesh Chugh 2.jpg
ศาสตราจารย์ริเทช ชัก เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเชิงสังคม จากมหาวิทยาลัยเซ็นทรัล ควีนส์แลนด์
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเชิงสังคมจากมหาวิทยาลัยเซ็นทรัล ควีนส์แลนด์ระบุว่า จุดสังเกตหลักของโรแมนซ์ สแกม คือการขอความช่วยเหลือทางการเงินแบบฉุกเฉิน

“พวกเขาจะแต่งเรื่องว่ามีเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ ขอเงินค่าตั๋วเดินทางมาหา บอกว่ามีปัญหาทางธุรกิจหรือบัญชีธนาคารถูกอายัด หรือว่ามีสมาชิกในครอบครัวเดือดร้อน”

นอกจากนี้ มิจฉาชีพมักพยายามทำให้เหยื่อแยกตัวจากคนรอบข้างและปิดบังความสัมพันธ์
แม่ฉันทำแบบนี้อยู่ 6 เดือน เราคุยกัน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่แม่ไม่เคยบอกเลยว่าคบกับใครอยู่ทางออนไลน์ เพราะมิจฉาชีพบอกแม่ว่าฉันจะไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นการบอกใครสักคนว่าคุณกำลังคบคนอื่นทางออนไลน์สำคัญมาก มันโอเคที่จะคบทางออนไลน์ แต่อย่าส่งเงินให้ใครเด็ดขาด!
เดนนิสกล่าว
caution sign data unlocking hackers
โรแมนซ์ สแกม ทำชาวออสเตรเลียสูญเงินกว่า 23 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2024 Source: Moment RF / sarayut Thaneerat/Getty Images
ศจ.ชักเตือนว่ามิจฉาชีพยังจ้องใช้การลงทุนปลอม โดยเฉพาะสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) เพื่อหลอกเงินเหยื่ออีกด้วย

“พวกเขาจะชวนลงทุนในโปรแกรมคริปโต แรกๆ อาจให้เห็นผลกำไรเล็กน้อย แล้วชักชวนให้ลงทุนเพิ่ม พอได้เงินก้อนใหญ่ก็จะหายตัวไปเลย”

ปัจจุบัน มิจฉาชีพมักใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างภาพถ่ายและวิดีโอที่สมจริงได้มากขึ้น การวิดีโอคอลจึงไม่เพียงพอที่จะยืนยันตัวตนของอีกฝ่าย

ศูนย์ต่อต้านการหลอกลวงแห่งชาติระบุว่า ผู้เสียหายที่สูญเงินมากที่สุดเป็นกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 55 ปี

ศจ.ชักชี้ว่าเป้าหมายของมิจฉาชีพมักเป็นผู้สูงอายุ ม่าย ผู้หย่าร้าง ชนพื้นเมือง และผู้พิการ แต่ใครก็ตกเป็นเหยื่อได้

“มิจฉาชีพมักมุ่งเป้าไปที่ผู้ที่รู้สึกโดดเดี่ยว สถานะทางการเงินมั่นคง หรือขาดประสบการณ์กับการหาคู่ออนไลน์ แต่คนรุ่นใหม่ก็สามารถตกเป็นเหยื่อได้ เพราะพวกเขาจะปรับวิธีเข้าหาให้สอดคล้องกับภูมิหลังและพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ของเหยื่อ”
และผู้อพยพเป็นกลุ่มที่ถูกหลอกบ่อยเช่นกัน

“อุปสรรคด้านภาษา การขาดทักษะทางดิจิทัล และค่านิยมทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทำให้บุคคลเหล่านี้มีความเสี่ยงสูง มิจฉาชีพยังฉวยโอกาสจากความไว้เนื้อเชื่อใจและค่านิยมดั้งเดิมของพวกเขาอีกด้วย”

หากคุณสงสัยว่าถูกหลอก ควรติดต่อธนาคารของคุณทันทีเพื่อหยุดการทำธุรกรรมอื่นๆ และเปลี่ยนรหัสผ่านบัญชีออนไลน์ทั้งหมด

ติดต่อ เพื่อขอความช่วยเหลือ และซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์ต่อต้านการหลอกลวงแห่งชาติ

ศจ.ชักอธิบายว่าเหตุใดการรายงานถึงเป็นสิ่งจำเป็น

“มิจฉาชีพเหล่านี้มีทักษะในการโน้มน้าวใจ และใช้ความไว้วางใจกับอารมณ์เป็นเครื่องมือ ความรู้สึกอับอายเป็นเรื่องปกติ แต่การรายงานจะช่วยไม่ให้คนอื่นตกอยู่ในกับดักเดียวกัน ผู้เสียหายสมควรได้รับความช่วยเหลือ อย่าลังเลที่จะพูดคุยกับคนที่คุณไว้ใจ ครอบครัว เพื่อน หรือผู้ให้คำปรึกษา และที่สำคัญ ‘โปรดแจ้งความ’ เพราะการรายงานคือการทวงคืนอำนาจของคุณ และเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับอาชญากรรมเหล่านี้”

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมหรือแจ้งเหตุโรแมนซ์ สแกม ได้ที่


Australia Explained เป็นพอดคาสต์ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตใหม่ในออสเตรเลีย

คุณสามารถส่งคำถามหรือไอเดียหัวข้อที่น่าสนใจมาได้ที่

ติดตามเอสบีเอส ไทย ได้อีกทาง | |

ฟังพอดคาสต์ของเอสบีเอส ไทยผ่านแอปพลิเคชัน SBS Audio ดาวน์โหลดจาก หรือจาก  

Share