เมื่อความรักกลายเป็นกับดัก และ 'โทรศัพท์ลับ' คือทางรอด

Photo-A woman using a mobile phone-pexels-mart-production.jpg

“โทรศัพท์มักเป็นสิ่งแรกที่ถูกทำลายหรือยึดไปจากเหยื่อ การมีโทรศัพท์สำรองจึงสำคัญมาก" รักษาการสารวัตรแมคไบร์ดกล่าว Credit: Pexels/Mart Production

รัฐนิวเซาท์เวลส์ออกกฎหมายเพื่อเอาผิดกับพฤติกรรมควบคุมทางจิตใจ (coercive control) ซึ่งมักเชื่อมโยงกับคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคู่ครอง และมักมาคู่กับการล่วงละเมิดทางดิจิทัล ตำรวจระบุว่าโทรศัพท์สำรองที่ปลอดภัยอาจช่วยชีวิตเหยื่อได้


ลอเรนเป็นอาสาสมัครขององค์กรการกุศลในออสเตรเลีย องค์กรนี้แจกโทรศัพท์ฟรีให้กับผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัว
และลอเรนทราบดีว่าการมี ‘โทรศัพท์ลับ’ สักเครื่องสำคัญเพียงใด

“ฉันเคยรู้สึกเหมือนความสัมพันธ์นั้นมันไม่มีทางออก ถ้ามีโทรศัพท์อีกเครื่องที่เขาไม่รู้ คงทำให้ฉันกล้าติดต่อใครได้โดยไม่ต้องกลัวว่าเขาจะรู้”
 แม่ลูกสองจากซันไชน์ โคสต์ ต้องทนอยู่กับการถูกควบคุมจากอดีตสามีมานานถึง 15 ปี รวมถึงการเฝ้าตามดูพฤติกรรมและการข่มขู่ด้วย

“ฉันใช้ชีวิตแบบระแวดระวังตลอดเวลา อยู่ในสภาพตื่นกลัวไม่มีหยุด ฉันกลัวว่าถ้ายุติความสัมพันธ์ไป เขาจะทำอะไรกับฉันบ้าง”

สิ่งนี้ทำให้ลอเรนไม่เคยแจ้งความ เพราะเธอไม่เคยถูกทำร้ายร่างกาย

“ตอนนั้นฉันไม่รู้เลยว่ามีหน่วยงานที่ช่วยเหลือคนแบบฉันได้ ฉันเคยเข้าใจว่าความรุนแรงในครอบครัวต้องเป็นเรื่องของการลงไม้ลงมือเท่านั้น”
Lauren volunteers at a Queensland charity (SBS-Sandra Fulloon).jpg
Lauren volunteers at a Queensland charity ลอเรนรอดจากความรุนแรงในครอบครัวได้ด้วย 'โทรศัพท์ลับ' Source: SBS / Sandra Fulloon
 สิ่งที่ลอเรนเผชิญคือ “การควบคุมทางจิตใจ (coercive control)” ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมทำร้ายทั้งแบบใช้กำลังและไม่ใช้กำลัง เพื่อข่มขู่ ควบคุม หรือทำให้ผู้เสียหายหวาดกลัว

และโทรศัพท์มือถือมักกลายเป็นเครื่องมือที่คนกระทำผิดใช้ในการควบคุม

“ตอนเขาซื้อโทรศัพท์ใหม่ให้ฉันและตั้งค่าให้ ฉันคิดว่าเขาแค่หวังดี แต่สุดท้ายก็พบว่าเขาแอบอ่านข้อความฉัน แม้แต่อีเมลก็ไม่เว้น”

พฤติกรรมนี้เรียกว่า "การล่วงละเมิดผ่านเทคโนโลยี" (Technology Facilitated Abuse หรือ TFA) และเป็นเรื่องที่หน่วยงานต่างๆ และกรมตำรวจให้ความสนใจ

รักษาการสารวัตร โจนาธาน แมคไบรด์ จากหน่วยดูแลเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวที่ซันไชน์ โคสต์อธิบายว่า

“มีแอปจำนวนมากที่ใช้ติดตามตัวเหยื่อได้ และคนกระทำผิดก็มักใช้สิ่งนี้เพื่อควบคุม เช่น ส่งข้อความกล่าวหาเหยื่อให้เพื่อนและครอบครัว ใส่ร้ายเหยื่อว่าเป็นคนไม่ดี แม้มันจะไม่เป็นความจริง แต่มันคือวิธีการควบคุมอีกแบบหนึ่ง”
Coercive Control
การควบคุมทางจิตใจเป็นพฤติกรรมทำร้ายในรูปแบบการข่มขู่ ควบคุม และทำให้หวาดกลัว Source: Getty / Getty Images
นี่คือเหตุผลที่ลอเรนตัดสินใจร่วมงานกับมูลนิธิ DV Safe Phone ในรัฐควีนส์แลนด์ โดยองค์กรนี้แจกโทรศัพท์ที่ผ่านการซ่อมแซมให้กับผู้ประสบความรุนแรง เพื่อให้พวกเขาได้ “เสรีภาพทางดิจิทัล”

“โทรศัพท์มักเป็นสิ่งแรกที่ถูกทำลายหรือยึดไปจากเหยื่อ การมีโทรศัพท์สำรองจึงสำคัญมาก โดยเฉพาะในกรณีฉุกเฉินที่ต้องติดต่อขอความช่วยเหลือ”

ตั้งแต่เริ่มโครงการ DV Safe Phone ได้แจกโทรศัพท์ไปแล้วเกือบ 9,000 เครื่องให้กับองค์กรช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงทั่วประเทศ แอชตัน วูด ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารกล่าวว่า

“เราได้รับบริจาคโทรศัพท์มากกว่า 25,000 เครื่องจากประชาชนและบริษัททั่วออสเตรเลีย เราตรวจสอบและซ่อมแซมให้ใช้การได้ จากนั้นก็ส่งต่อให้เหยื่อ ส่วนเครื่องที่เสีย เรานำไปรีไซเคิล เราจัดหาสายชาร์จใหม่ทุกเครื่อง และใส่ซิมพร้อมเงินโทรออกให้ด้วยในบางกรณี”
Hands holding a mobile phone with a screen displaying an incoming call from an unknown number.
'โทรศัพท์ลับ' เป็นหนทางที่สามารถช่วยให้รอดจากความรุนแรงในครอบครัวได้ Source: Getty / Diy13
สารวัตรแมคไบรด์เน้นว่า โทรศัพท์สำรองสามารถช่วยชีวิตเหยื่อที่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกได้จริง
มันอาจช่วยชีวิตคนได้เลยทีเดียว แค่มีโทรศัพท์ใช้งานได้ ฟังดูง่าย แต่ในสถานการณ์ที่เหยื่อถูกควบคุมการเงินโดยคนกระทำผิด เขาจะไม่มีทางไปซื้อโทรศัพท์ใหม่ได้ง่าย ๆ แน่นอน
สารวัตรแทคไบรด์กล่าว
แต่ถึงจะมีโทรศัพท์แล้ว ควรซ่อนไว้ให้ปลอดภัย เพราะมันอาจถูกนำมาใช้เล่นงานเหยื่อได้ด้วย

“ซ่อนไว้ในลิ้นชักอาจไม่ปลอดภัยนัก เพราะอาจถูกค้นเจอได้ง่าย แถมยังสามารถติดตั้งแอปที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัวได้ ถ้าโทรศัพท์ถูกพบแล้ว จะไม่ปลอดภัยอีกต่อไป ดังนั้นต้องเก็บให้ห่างจากคนกระทำผิด”
กฎหมายควบคุมทางจิตใจของรัฐนิวเซาท์เวลส์ขณะนี้ใช้กับความสัมพันธ์แบบคู่รัก(ที่ยังไม่ได้แต่งงาน)ด้วย งานวิจัยพบว่าพฤติกรรมควบคุมมักเป็นจุดเริ่มของความรุนแรงที่ร้ายแรงยิ่งขึ้น

คาเรน เบแวน ผู้บริหารของ FullStop Australia ซึ่งเป็นองค์กรช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวและทางเพศกล่าวไว้ว่า

“จากคดีฆาตกรรมในครอบครัวช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า พฤติกรรมควบคุมและบีบบังคับเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยก่อนเกิดเหตุ การมีกฎหมายนี้จึงสำคัญมาก เพราะมันสอดคล้องกับสิ่งที่เรารู้ว่า ความรุนแรงมักเริ่มต้นอย่างไร และระบบกฎหมายควรมีคำตอบกับเรื่องนี้อย่างไร”


ติดตามเอสบีเอส ไทย ได้อีกทาง | |

ฟังพอดคาสต์ของเอสบีเอส ไทยผ่านแอปพลิเคชัน SBS Audio ดาวน์โหลดจาก หรือจาก  

Share