'ลงทุนในสิ่งที่รัก' ร้านตัดเสื้อคนไทยในออสเตรเลีย

Photo-Khamron-05.jpg

"การเปิดร้านเย็บผ้าเป็นการทำงานที่เราเปลี่ยน passion ให้เป็นธุรกิจ" Credit: Karin Houben

คุณคาริณทร์ ฮูเบิร์นเคยช่วยคุณป้าในร้านตัดเสื้อที่ประเทศไทยตั้งแต่เด็ก จึงมีทักษะด้านนี้ หลังเปลี่ยนงานมาหลายแห่ง วันนี้เขาเปิดร้านตัดเสื้อที่ออสเตรเลียตามความฝัน ฟังเรื่องราวของห้องตัดเสื้อของคนไทยที่ออสเตรเลีย


คาริณทร์ ฮูเบิร์น เจ้าของร้านตัดเสื้อ Pro Tailor ที่เมลเบิร์น มีความทรงจำในการช่วยงานที่ร้านตัดเสื้อของคุณป้า ร้านตัดเสื้อเล็กๆ ในหมู่บ้านตั้งแต่สมัยยังเด็ก จนซึมซับทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้า ก่อนย้ายมาอาศัยที่ออสเตรเลีย
Photo-Khamron-01.jpg
"อยากทำอะไรที่เปลี่ยน passion และพรสวรรค์ส่วนตัวเป็นธุรกิจ ทำเงินได้ เลี้ยงตัวเองได้" Credit: Karin Houben
แม้จะย้ายมาออสเตรเลียและทำงานมาหลายอาชีพ ความทรงจำนั้นยังคงไม่หายไป

สิ่งนี้เป็นแรงบันดาลใจให้คาริณทร์เปิดร้านตัดเสื้อที่ออสเตรเลีย

กลุ่มลูกค้าที่สั่งตัดโดยเฉพาะ

คาริณทร์กล่าวว่ากลุ่มลูกค้าที่สั่งตัดเสื้อผ้าโดยเฉพาะมักมีจุดประสงค์ในการใช้เสื้อผ้าสั่งตัดสำหรับงานสำคัญ และกลุ่มที่หาเสื้อผ้าไซส์ตามที่มีขายในตลาดทั่วไปไม่ได้
ลูกค้าที่มาตัดเสื้อเนี่ย ส่วนใหญ่จะใช้ในเหตุการณ์สำคัญในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน งานอีเวนท์สำคัญๆ
"รวมไปถึงกลุ่มนักแสดงต่างๆ เช่น drag queen หรือนักเต้นที่ต้องการไปประกวด ต้องการใส่ชุดไปแสดง ต้องการความแตกต่าง มีบรีฟ ต้องการชุดแบบนั้น แบบนี้ กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่หาเสื้อผ้าในตลาดไม่ได้จริงๆ บางคนสูงเกิน 2 เมตร หรือผู้หญิงที่เอวเล็กมากๆ เป็นกลุ่มที่ยอมควักกระเป๋าจ่าย เพราะหาเสื้อผ้าไม่ได้จริงๆ”

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากลูกค้าตลาดการสั่งตัดชุดโดยเฉพาะนั้นเป็นตลาดขนาดเล็ก และค่าใช้จ่ายในการสั่งตัดค่อนข้างมีราคาสูง คาริณทร์จึงต้องขยายฐานลูกค้า

โดยเขาหันมารับปักชื่อนักเรียน แก้ทรง ตัดขากางเกง รวมถึงทำผ้าม่านด้วย
Photo-Khamron-07.jpg
ลูกค้าที่ตัดชดเฉพาะส่วนมากเป็นลูกค้าที่ต้องการความ unique หรือ haute couture ซึ่งเป็นงานที่มีชิ้นเดียว Credit: Karin Houben

มุมมองต่อ Fast Fashion ในปัจจุบัน

คาริณทร์สะท้อนวงการแฟชันแบบมาไว ไปไว หรือ ฟาสท์ แฟชัน (Fast Fashion) ว่าอยากให้มองแฟชันการใช้เสื้อผ้าอย่างยั่งยืน (sustainable fashion) ด้วย

ซึ่งเป็นการคำนึงถึงราคาของการใส่ต่อครั้ง

“ให้มามองอีกมุมดีกว่า มองถึง cost per wear หรือต้นทุนในการใส่เสื้อผ้าแต่ละครั้ง คือถ้าเราซื้อเสื้อยืดตาม fast fashion ตัวนึง $20 แต่เราใส่ครั้งเดียว cost per wear คือ $20 แต่ถ้าเราซื้อเสื้อผ้าที่มีคุณภาพดี อาจมีราคา $100 แต่สามารถใส่ได้ 10 หรือ 20 ครั้ง เท่ากับ cost per wear ของเราจะต่ำลง ซึ่งจริงๆ แล้วต้นทุนการใช้งานถือว่าต่ำกว่า ในระยะยาวเป็นเสื้อผ้าที่ใส่ได้หลายครั้งมากกว่า คุ้มค่ามากกว่า”

เทรนด์ e-tailor และ house tailor

อี-เทเลอร์ นับเป็นโมเดลที่สะเทือนวงการแฟชันล่าสุด โดยเป็นการออกแบบเสื้อผ้าโดยแบรนด์ที่ออสเตรเลีย ส่งไปตัดที่ประเทศอื่น แล้วส่งกลับมาขายที่นี่

“ฉลาก (label) นะครับ จะเขียนว่าดีไซน์ที่ออสเตรเลีย แต่ส่งไปตัดที่ซัพพลายเออร์ประเทศอื่น ฉลากจะเขียนว่า made in ประเทศอื่น ด้วยความที่ถ้าผลิตที่นี่ต้นทุนจะราคาแพงมาก เพราะเขาไม่ได้ผลิตในประมาณมาก เสื้อผ้าจะยังมีความ unique อยู่”

สำหรับ เฮาสท์ เทเลอร์ ถือว่าเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของแบรนด์ที่รับแก้เสื้อผ้าหลังการซื้อ โดยทางร้านจะส่งไปแก้กับร้านตัดเสื้อให้แก้ให้

อย่างไรก็ตาม คาริณทร์กล่าวว่าปัจจุบันผู้ชายมีแนวโน้มที่จะตัดเสื้อผ้ามากกว่าผู้หญิง เนื่องจากผู้ชายมักใส่เสื้อผ้าที่เน้นฟิตติงมากกว่าผู้หญิงที่ต้องการใส่เสื้อผ้ามีแพทเทิร์น

“ผู้ชายจะเน้นเรื่องฟิตติงเป็นสำคัญ อย่างชุดสูทต้องมีขากางเกงที่พอดี กองที่รองเท้าพอดี สูทต้องโชว์แขนเสื้อ 1 นิ้วเป๊ะ ผู้ชายปัจจุบันให้ความสำคัญกับการแต่งตัวมาก ลูกค้าผู้ชายเพิ่มขึ้น ซึ่งเซอร์ไพร์สมาก เทรนด์มันเปลี่ยนแล้ว”

นอกจากนี้ คาริณทร์ยังรับสอนตัดเย็บให้เด็กๆ ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เขามีความสุขทุกครั้งที่ได้สอน

ฟังเรื่องราวความประทับใจได้ในสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
กด ▶ ฟังบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
Thai_Interview_Tailor_170325 image

'ลงทุนในสิ่งที่รัก' ร้านตัดเสื้อคนไทยในออสเตรเลีย

SBS Thai

18/03/202512:57
ติดตามเอสบีเอส ไทย ได้อีกทาง | |

ฟังพอดคาสต์ของเอสบีเอส ไทยผ่านแอปพลิเคชัน SBS Audio ดาวน์โหลดจาก หรือจาก  

Share

Recommended for you