เช่นเดียวกับครอบครัวผู้อพยพอื่นในออสเตรเลีย ผู้ปกครองอย่างเจหยุน โล ทำงานอย่างหนักเพื่อส่งโฮปลิน ลูกสาววัย 7 ขวบของเขาเรียนในโรงเรียนเอกชนและเรียนพิเศษด้วย
“แรงจูงใจหลักของผมคือการพยายามมอบประสบการณ์การศึกษาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ให้กับโฮปลิน เรากำลังพิจารณาเรื่องการกวดวิชาพิเศษ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์และอาจรวมถึงวิชาภาษาอังกฤษด้วย เพื่อให้เธอได้รับประสบการณ์การศึกษาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพิ่มความสนใจในการเรียนรู้ และยังมอบพื้นที่ปลอดภัยให้กับเธอ โดยเฉพาะการสอนพิเศษแบบตัวต่อตัว ซึ่งจะทำให้เธอมีพื้นที่ปลอดภัยที่เธอสร้างความมั่นใจในตัวเองได้”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ครูสอนภาษาไทยและการสอนภาษาไทยในโรงเรียนในออสเตรเลีย
มีหลายเหตุผลที่ผู้ปกครองเลือกจ้างครูสอนพิเศษ (tutor) เช่น เพื่อช่วยให้เด็กๆ ตามทันการเรียน พัฒนาทักษะในวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือเพิ่มความมั่นใจ
ผู้ปกครองบางคนยังต้องการติวเตอร์เพื่อให้เด็กๆ ได้รับการศึกษาที่ครอบคลุมมากขึ้นด้วย
โมฮัน ดฮอลล์ ผู้บริหารจากกล่าวว่า การติวเตอร์ยังใช้เพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีการคัดเลือกนักเรียนอีกด้วย
หลายคนเลือกใช้บริการกวดวิชาส่วนตัวเพื่อการรับประกันว่าจะได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยหรือเข้าสู่สาขาวิชาชีพที่ต้องการได้ มีการใช้บริการกวดวิชาส่วนตัวเพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนของรัฐที่มีการคัดเลือกนักเรียน และยังมีครอบครัวผู้อพยพจำนวนมากที่ใช้บริการกวดวิชาเพื่อให้สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ด้วยดฮอลล์กล่าว
ครูสอนพิเศษบางคนสอนแบบตัวต่อตัว ในขณะที่บางคนสอนเป็นกลุ่ม ให้ความช่วยเหลือในการทำการบ้านทั่วไปไปจนถึงการเตรียมสอบแบบเข้มข้น
เนื่องจากการสอนพิเศษไม่มีกฎเกณฑ์ควบคุมในออสเตรเลีย ใครก็สามารถเป็นครูสอนพิเศษได้ ดฮอลล์เตือนว่า นักเรียนที่ได้เกรดดีไม่ได้หมายความว่าจะสามารถเป็นครูสอนพิเศษที่ดีได้
“ปกติแล้วนักเรียนที่ได้เกรดดีมักมีแรงจูงใจและริเริ่มได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นพวกเขาจะรู้ได้อย่างไรว่าความล้มเหลวเป็นอย่างไร และพวกเขาจะรู้ได้อย่างไรว่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่ไม่เข้าใจ หรือคนที่ไม่เก่งภาษา หรือคนที่อารมณ์อ่อนไหวง่าย หรือคนที่ชอบความสมบูรณ์แบบ หรือคนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ได้อย่างไร ผมคิดว่าคนกลุ่มนี้จะทำให้เด็กมีความมั่นใจน้อยลงและเรียนรู้ได้น้อยลง เนื่องจากไม่มีคุณสมบัติตามต้องการของเด็กที่เรียนพิเศษ”

การสอนพิเศษมีทั้งแบบตัวต่อตัวและแบบออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาด้านวิชาการและการสร้างความมั่นใจ Credit: JohnnyGreig/Getty Images
คำแนะนำจากผู้ปกครองท่านอื่นถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
หลายรัฐในออสเตรเลียแนะนำให้เลือกติวเตอร์ที่เป็นสมาชิกของสมาคมการสอนพิเศษออสเตรเลีย ซึ่งปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณที่เข้มงวด
ดฮอลล์แนะนำให้ถามคำถามต่อไปนี้ ก่อนจ้างติวเตอร์
“คำถามอย่างเช่น ‘บุคคลนั้นมีคุณสมบัติและประสบการณ์อย่างไร? ใครที่จะทำการสอนพิเศษ? พวกเขามีใบรับรองการทำงานกับเยาวชน (child protection check) หรือไม่? พวกเขามีหมายเลขประจำตัวผู้ประกอบธุรกิจหรือไม่? พวกเขาออกใบเสร็จได้หรือไม่?’ หากมีความจำเป็นต้องขอเงินคืน จะมีการคืนเงินอย่างไร? พวกเขาจะวัดความสำเร็จของการกวดวิชาจากอะไร? หลักฐานอะไรที่จะใช้พิสูจน์ได้ว่าได้ผล? พวกเขาแนะนำให้เรียนพิเศษนานแค่ไหน? ชั้นเรียนเป็นอย่างไร? ความต้องการของเด็กเป็นการสอนพิเศษแบบตัวต่อตัวหรือไม่? หากการกวดวิชาของพวกเขาไม่ได้ผลสำหรับเด็ก คุณจะพิจารณาเรื่องนี้ได้เมื่อใด? และกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร?”

ผู้ปกครองและเด็กที่กำลังเรียนทางออนไลน์ Credit: MoMo Productions/Getty Images
สำหรับการสอนพิเศษออนไลน์ ดฮอลล์แนะนำให้ผู้ปกครองประเมินครูสอนพิเศษด้วย เพื่อความแน่ใจว่าครูสอนมีส่วนร่วม
“กล้องเปิดอยู่หรือไม่? ครูสอนจับตาดูว่าเด็กทำอะไรอยู่หรือไม่? ครูมีรายชื่อนักเรียนและตรวจสอบว่าเด็กมีส่วนร่วมในการเรียนหรือไม่? ครูเฝ้าดูแชทและตรวจสอบแชทหรือไม่? บันทึกงานที่ทำเสร็จไปอย่างไร? ให้ข้อเสนอแนะอะไรแบบเรียลไทม์บ้างหรือไม่?”
สำหรับเจหยุน โล การให้ลูกสาวมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกครูสอนพิเศษถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
“ผมจะถามว่า ‘เฮ้ โฮปลิน คุณสนใจเรื่องนี้ไหม? และคุณคิดอย่างไรกับยัสมินในฐานะครูสอนพิเศษ? เธอสอนอะไรได้ดีบ้าง?’ ผมมักจะถามโฮปลินว่าเธออยากทำอะไร ถ้าเธอตอบว่า ‘ไม่ หนูไม่สบายใจหรือไม่สนใจ’ ผมจะหยุดการเรียนพิเศษชั่วคราว และมองหาทางเลือกอื่น”

การสอนพิเศษยังไม่มีกฎเกณฑ์ควบคุมในออสเตรเลีย ผู้ปกครองควรตรวจสอบติวเตอร์อย่างละเอียด ทั้งข้อมูลประจำตัว ประสบการณ์ และวิธีการสอน Credit: Westend61/Getty Images/Westend61
องค์กรหลายแห่ง เช่น ห้องสมุด มีความช่วยเหลือในการทำการบ้านโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และบางโปรแกรมจัดทำขึ้นสำหรับผู้อพยพใหม่โดยเฉพาะ โซเนีย ดิ เมตซา ผู้บริหารของ บริการช่วยเหลือด้านการตั้งถิ่นฐานของผู้อพยพและผู้ลี้ภัย (Migrant and Refugee Settlement Services) ที่แคนเบอร์รา กล่าวถึงโครงการเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน (After School Studies) ว่า
“เราให้บริการสอนพิเศษ 3 วันต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ 17.00 น. ถึง 20.00 น. ทุกวัน เพื่อช่วยให้นักเรียนหรือเยาวชนสามารถพัฒนาการเรียนได้ดียิ่งขึ้น”
และเธอเห็นผลลัพธ์ที่ดีของนักเรียน
เด็กๆ รู้สึกว่าพวกเขามีความพร้อมมากขึ้นที่จะเรียนต่อ และภาษาอังกฤษของพวกเขาพัฒนาขึ้น พวกเขาสามารถเข้าใจระบบการศึกษาได้ดีขึ้น ผลตอบรับที่เราได้รับจากนักเรียนส่วนมากจึงเป็นไปในทางบวกดิ เมตซา กล่าว
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ครูวิเวียนกับการเรียนภาษาอังกฤษสไตล์ออสซี
อย่างไรก็ตาม ดฮอลล์เน้นย้ำว่าผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในด้านการศึกษาของบุตรหลานด้วย
“คำถามแรกที่พวกเขาควรถามคือ ฉันจะทำอะไรให้ลูกได้บ้าง? ฉันสามารถอ่านหนังสือกับพวกเขาได้ไหม? ฉันสามารถใช้เวลาอยู่กับพวกเขาได้ไหม? ในการเดินทางแห่งการเรียนรู้ครั้งนี้ ฉันจะเสริมพลังให้ตัวเองเพื่ออยู่กับลูกได้อย่างไร? ดังนั้น สิ่งแรกคือ คุณทำอะไรให้ลูกได้บ้าง?”
หาข้อมูลเรื่องการเรียนพิเศษสำหรับเด็กจากสมาคมการสอนพิเศษออสเตรเลีย หรือ Australian Tutoring Association ได้
Australia Explained เป็นพอดคาสต์ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตใหม่ในออสเตรเลีย