กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน
งานในอาชีพ STEMM (Science Technology Engineering Mathematics Medical) แต่เดิมที่ทราบกันว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้ชายทำงานอยู่เสียเป็นส่วนใหญ่
แม้ในปัจจุบันจะมีการสำรวจว่ามีผู้หญิงเข้ามาทำงานในสายงานเหล่านี้มากขึ้น แต่วัฒนธรรมองค์กร นโยบาย รวมถึงทัศนคติของคนในสายงานเดียวกันจะเปลี่ยนไปด้วยหรือไม่
ข้อมูลจากชี้ว่าในปี 2024 สถิติของผู้หญิงที่เรียนและทำงานในสายอาชีพ STEMM ในออสเตรเลียมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเล็กน้อย เช่น ช่องว่างระหว่างค่าจ้างของผู้หญิงและผู้ชายในอุตสาหกรรม STEMM น้อยลง ในปีที่แล้วอยู่ที่ 16% เมื่อเทียบกับ 17% ในปี 2022
นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนผู้หญิงที่ลงทะเบียนเรียนหลักสูตร STEMM และทำงานด้าน STEMM เพิ่มขึ้น ในมหาวิทยาลัยต่างๆ มีผู้หญิงการลงทะเบียนเรียนในสาขา STEMM ราว 37%
แต่เมื่อจบการศึกษาแล้วและออกมาทำงาน มีเพียง 15% ของผู้หญิงที่ทำงานด้าน STEMM เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนคนงานในสายนี้ทั้งหมด
ทัศนคติแบบเหมารวม
อุปสรรคด้านแรกที่ผู้หญิงที่ทำงานในสาย STEMM ต้องเผชิญตั้งแต่ก่อนที่จะเข้ามาทำงานคืออุปสรรคด้านความคิดเหมารวม หรือ Stereotypical beliefs ว่าอาชีพในสายนี้มีเพียงเพศใดเพศหนึ่งที่ทำงานอยู่

แพทย์หญิง ชนิกานต์ ธนสถิตย์ชัย แพทย์ประจำโรงพยาบาลในนครเมลเบิร์น Credit: Supplied/Chanikan Tanasatitchai
“มีความรู้สึกว่าบางทีถ้าเราทํางานในด้านนี้เป็นผู้หญิง อยู่ยากนิดนึง ด้วยความที่ tall male ผู้ชายจะดูมีความภูมิฐานมากกว่า คนจะฟังหมอผู้ชายมากกว่า คนไข้ก็จะรู้สึกว่าหมอผู้ชายแบบดูน่าเชื่อถือมากกว่า เป็นปัญหาประมาณนี้ที่ยังมีอยู่ค่ะ”

คุณ นิตา วิรุฬห์ทรัพย์ วิศวกรผู้ดูแลโครงการทางเชื่อมทางรถไฟในรัฐวิกตอเรีย Credit: Supplied/ Nita Wiroonsup
คุณ นิตา (หวาน) วิรุฬห์ทรัพย์ วิศวกรผู้ดูแลโครงการทางเชื่อมทางรถไฟในรัฐวิกตอเรีย เล่าถึงประสบการณ์ของเธอว่า
“มีอยู่ประจําเลยนะคะ จริงๆ ตั้งแต่ตอนเริ่มเรียนเลยว่าเรารู้สึกได้ว่ามีความbias ทางด้านเพศเกิดขึ้นเพราะว่าในคลาสของนิตามีคน100คน มีผู้หญิงแค่ไม่กี่คน ก็จะไม่คิดว่าเราจะทําในสิ่งที่คนอื่นทําได้ เช่นเพื่อนในคลาสก็จะบอกว่า ไม่ต้องไปคํานวณนะ เธอไปทําให้รายงานมันดู pretty แล้วกัน หรือว่าเวลาเราได้ ได้ grant ได้ scholarship ทุกคนก็จะไม่คิดว่าเราได้ด้วยคะแนนจะได้ด้วย token การเป็นผู้หญิงในเอ็นจิเนียริง”
ส่วนผู้หญิงที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จะเผชิญกับความท้าทายด้านนี้หรือไม่ คุณ ชลลดา (ใหม่) ลีลาพิสุทธิ์ ที่ทำงานด้าน Data science เปิดเผยว่า
“เคยมีคนในครอบครัวพูด ตอนแรกสุดก่อนที่จะไปเรียนบัญชี อยากเรียนวิศวะแล้วเค้าก็รู้สึกว่ามันไม่น่าเหมาะกับผู้หญิง รู้สึกว่าไม่อยากให้ปลูกฝังลูกหลาน คนรอบตัว เหมือนไปจํากัดความสามารถของเค้า รู้สึกว่าด้วยโลกสมัยนี้แล้วใครก็สามารถไม่ว่าจะเพศอะไร”
ทัศนคติเหมารวมมาจากไหน
ทำไมคนจึงมีทัศนคติแบบเหมารวมที่ว่างานสาย STEMM อาจจะท้าทายสำหรับผู้หญิง ซึ่งหลายๆ ความเห็นชี้ว่า 'สื่อ' อาจมีบทบาทที่ทำให้ทัศนคตินี้ถูกผลิตซ้ำและเป็นภาพจำในสังคม
พญ. ชนิกานต์ ให้ความเห็นว่าทัศนคตินี้ในวงการแพทย์เป็นอย่างไร
“มันคงมันคงมีมานานมากแล้วอะค่ะ ที่เมื่อก่อนที่เขา Portray ใน media ส่วนใหญ่ เวลาหมอปุ๊บต้องเป็นผู้ชายใส่เสื้อเสื้อกาวน์มาแล้วใช่ไหมคะ เพราะว่าเราโตมาใน media ที่หมอเป็นผู้ชายแล้วมันมีความแบบดูน่าเชื่อถืออะไรแบบนี้”
คุณ นิตา ขยายความในประเด็นนี้ว่า
“ส่วนมากการที่คนเค้ามีปฏิสัมพันธ์กับเราอย่างงั้นมันจะเกิดจากสเตอริโอ ทริปปิคอล (Stereotypical) คือเค้าจะคิดว่าเราไม่ฟิตอินกับรูปภาพที่เค้าเห็นการที่ผู้หญิงจะเป็นวิศวกร หรือการที่ผู้หญิงจะเป็นโปรเจคเมเนเจอร์ คิดว่ามันค่อยๆ เปลี่ยนไปแล้ว"
"แต่สมัยก่อนส่วนมากเวลาเราเห็นมีเดียพูดถึงวิศวกรแต่ละครั้งในทีวีหรือในโบรชัวร์ของบริษัท หรือว่าในโบรชัวร์ของมหาลัยมันจะเป็นรูปผู้ชายใส่แว่นใส่ฮาร์ดแฮต ใส่เสื้อสะท้อนแสงถือแฟ้มงาน มันอาจจะเป็นแค่หนึ่งวินาทีที่เราเห็นแต่ว่ามันมีอิทธิพลต่อความคิดในทางอ้อมของเราว่าที่ที่นั้นน่ะไม่ใช่ที่ของเรา เมื่อเราคิดอย่างนั้นแล้วมันก็จะมีผลทําให้เราเลือกทางเดินต่างๆในชีวิต”
ผู้หญิงในวงการไอที
คุณ ปวีณา (ตาล) สุชาติตระกูล Chief Revenue Officer ของบริษัท Finance Technology ระดับนานาชาติเปิดเผยว่าในสายงานไอที จริงๆ แล้วเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงแสดงความสามารถได้อย่างไร

คุณ ปวีณา สุชาติตระกูล Chief Revenue Officer ของบริษัท Finance Technology Credit: Supplied/Tan Suchattrakoon
"โดยเฉพาะการรับทีมเราจะเน้นให้มีความให้เรียกว่ามีการบาลานซ์ของคนในทีม ดังนั้นเนี่ยปัจจุบันจะมีน้องผู้หญิงหรือว่าในสายงานของพี่จะมีผู้หญิงเพิ่มขึ้นเยอะมาก”
ในสายงานไอทีที่มีผู้หญิงเข้ามาทำงานในตำแหน่งสูงๆ มีประโยชน์อย่างไร คุณใหม่ ชลลดา เล่าประสบการณ์ของเธอให้ฟังว่า

คุณ ชลลดา (ใหม่) ลีลาพิสุทธิ์ Data scientist Credit: Supplied/Chonlada Leelapisuth
ความเสมอภาคและความหลากหลายทางเพศส่งผลดีแก่องค์กรอย่างไร
การส่งเสริมความเสมอภาคและความหลากหลายจะสามารถสร้างผลดีแก่องค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัฒนธรรมองค์กร ผลิตภาพ (productivity) หรือแม้แต่การเพิ่มจำนวนคนงานในตลาดแรงงาน
พญ. ชนิกานต์ชี้ว่าในสายงานการแพทย์คุณสมบัติที่ผู้หญิงมีช่วยในองค์กรอย่างไร
“มันมี study ออกมาจริงๆแล้วนะว่าผู้หญิงโชว์ empathy ได้ดีกว่า ซึ่งในสายการการเป็นหมอเนี่ยมันสําคัญมากคืออาจารย์เคยพูดตลอดเลยว่าคือ knowledge comes with time คือความรู้เดี๋ยวมันก็มาอยู่แล้ว แต่ถ้า you be kind แล้วก็เหมือนเป็นคนมีเมตตา แล้วก็จิตใจดี โชว์ empathy ซึ่งผู้หญิงเก่งด้านนี้มากๆ เราจะไปได้ไกลแล้ว คนไข้จะมีความสุขในแต่ละ visit มากกว่า”
ส่วนคุณ นิตา เปิดเผยว่าองค์กรเปิดกว้าง มีความสมดุลในการจ้างงานจะทําให้องค์กรนั้นๆ นอกจากจะเห็นผลทางด้านผลิตภาพแล้วยังชี้ว่าองค์กรนั้นมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
“มันมีวิจัยชี้มามากมายว่า การที่องค์กรเปิดกว้างแล้วก็มีสมดุลในการจ้างงานทางด้านเพศ ทางด้านอายุวัฒนธรรม มันจะทําให้องค์กรนั้นนั้นมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น แล้วก็เก่งมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน"
"งานวิจัยของCSRO ปี2018 บอกว่าองค์กรที่เปิดรับความหลากหลายทางด้านเพศเนี่ยทํากําไรมากกว่าองค์กรที่ยึดแบบเพศเดียวกันเป็นใหญ่ถึง 20% ในออสเตรเลีย วิศวกรเป็นหนึ่งในสกิล shortage ของประเทศ มันจะดีขนาดไหน ถ้าเรามีจํานวนวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถมากขึ้นโดยการเพิ่มจํานวนของผู้หญิงที่สนใจในงานด้านนี้”
ในสายเทคโนโลยีการมีผู้หญิงมาร่วมทีมสามารถดึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ออกมาให้เป็นประโยชน์กับทีมอย่างไร คุณ ตาล ปวีณา เปิดเผยว่า
“ผู้หญิงมีจุดเด่นมากในเรื่องของการมองเป็นภาพรวม สองก็คือ multitasking ในทีมงานที่เป็นผู้หญิงเนี่ยจะชัดมากว่าสามารถmanage ได้ 3- 4 โครงการ"
"การมี skill balance มี cultural balance มี gender balance ที่ดีในทีม ไม่ว่าจะเป็นเพศเพศสภาพอะไรก็ตาม ถ้าเกิดว่าเราสามารถที่จะสร้างทีมที่มี bonding ที่ดี งานก็มักจะออกมาดีเพราะงานสาย fintech ต้องบอกว่ายากทุกงานไม่มีงานไหนไม่ยาก”
ฟังสัมภาษณ์เรื่องนี้แบบเต็มๆ ได้ที่นี่:
LISTEN TO

แบ่งปันประสบการณ์ 4 หญิงไทย สาย STEMM ในแดนจิงโจ้
SBS Thai
05/03/202520:46
ติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่ หรือ และ
เรื่องราวที่น่าสนใจ

รวบรวมข้อมูลเงินสวัสดิการของรัฐบาลออสเตรเลีย ที่คุณอาจมีสิทธิ์ขอรับได้