มากกว่าหนังสือ: ห้องสมุดออสเตรเลียกับการเรียนรู้ และสานสัมพันธ์ในชุมชน

Group of friendly adults people studying in university library

ห้องสมุดหลายแห่งมีโครงการสำหรับผู้อพยพใหม่ เพื่อช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เชื่อมโยงกับชุมชน และเข้าใจวิถีชีวิตของชาวออสเตรเลีย Source: iStockphoto / JackF/Getty Images/iStockphoto

ในออสเตรเลีย ห้องสมุดสาธารณะไม่ได้เป็นเพียงแหล่งรวมหนังสือ แต่ยังเป็นพื้นที่สำคัญของชุมชน ที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้อพยพ ผู้สูงอายุ พร้อมโปรแกรมและบริการอื่นๆ มากมาย


ประเด็นสำคัญ
  • ห้องสมุดสาธารณะในออสเตรเลียให้บริการและมีโปรแกรมสำหรับผู้ใช้บริการทุกวัย
  • ห้องสมุดมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้อพยพใหม่ปรับตัว เช่น การสอนภาษาอังกฤษ ชั้นเรียนวัฒนธรรม และกิจกรรมสานสัมพันธ์ในชุมชน
  • ห้องสมุดบางแห่งมีนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อเชื่อมโยง นำทาง และเป็นพื้นที่เปิดกว้างให้แก่ชุมชน
ห้องสมุดสาธารณะในออสเตรเลียมีหนังสือภาษาอังกฤษและในภาษาอื่นกว่า 40 ล้านเล่ม แต่บทบาทของห้องสมุดไม่จำกัดอยู่เพียงการให้ยืมหนังสือเท่านั้น

ห้องสมุดยังมุ่งเน้นการเป็นพื้นที่สร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในชุมชนด้วย

ตัวอย่างเช่น ทางตะวันออกของเมลเบิร์น ซึ่งบรอนวิน อาร์โนลด์ ผู้จัดการสาขาและหัวหน้าด้านการรวมกลุ่มทางสังคมอธิบายภาพรวมของโปรแกรมที่มีในห้องสมุดดังนี้

“โปรแกรมในห้องสมุดมีหลากหลาย ตั้งแต่กิจกรรมการเล่านิทานสำหรับเด็ก ไปจนถึงชั้นเรียนเทคโนโลยี ชั้นเรียนงานฝีมือ การดูแลเครื่องยนต์ การใช้สมาร์ตโฟน การกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ รวมถึงกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น ตีกลอง เต้นรำ โยคะ และอีกหลายบริการของห้องสมุด”
Wagga_Storytime.jpg
กิจกรรมเล่านิทานสำหรับเด็ก ที่ห้องสมุดเมืองวากา วากา Credit: The Wagga Wagga City Library
และนั่นเป็นเพียงตัวอย่างของบริการในห้องสมุด

รอนที ยู บรรณารักษ์ที่ห้องสมุดดอนคาสเตอร์ในเมลเบิร์น เล่าถึงความประหลาดใจเมื่อครั้งเธอค้นพบบริการที่หลากหลายของห้องสมุดในออสเตรเลีย หลังย้ายมาจากประเทศจีน

ปัจจุบัน เธอทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้อพยพใหม่เพื่อให้สามารถใช้บริการห้องสมุดได้เต็มที่

“พวกเขามักประหลาดใจกับโปรแกรมและบริการต่างๆ ที่ห้องสมุดมีให้ คำถามที่ฉันได้ยินบ่อยคือ ‘บริการเหล่านี้ฟรีจริงหรือ’ ซึ่งคำตอบคือ ‘ใช่!’ ตอนแรกฉันเองก็ประหลาดใจกับบริการของห้องสมุดสาธารณะในออสเตรเลีย ที่มีนอกเหนือจากการยืมหนังสือ"

ห้องสมุดหลายแห่ง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ชุมชนหลากหลายวัฒนธรรมมักจัดโปรแกรมสำหรับผู้อพยพใหม่ เพื่อส่งเสริมเรียนรู้ภาษาอังกฤษ สร้างความสัมพันธ์ในชุมชน และการปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตในออสเตรเลีย

ที่รัฐนิวเซาท์เวลส์ ห้องสมุดเมืองวากา วากา เปิดสอนสำหรับผู้อพยพ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก เลย์ลา ดาวานเดห์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลโปรแกรมนี้อธิบายว่า

“ผู้อพยพที่เข้าร่วมโปรแกรม Language Café มาจากต่างเชื้อชาติและต่างพื้นเพ และเรามีอาสาสมัครให้ความช่วยเหลือการทำกิจกรรม พวกเขานั่งพูดคุยกับผู้เรียน บางครั้งช่วยสอนภาษาอังกฤษ หรือเพียงแค่แลกเปลี่ยนบทสนทนา พูดคุยเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน หรือบางครั้งอ่านหนังสือด้วยกัน”
ยู บรรณารักษ์จากห้องสมุดดอนคาสเตอร์ จัดกลุ่มอ่านหนังสือสำหรับผู้อพยพใหม่และผู้ที่พำนักในออสเตรเลียมานาน หวังช่วยปรับปรุงทักษะภาษาอังกฤษของพวกเขา

“เมื่อกลุ่มเริ่มดำเนินไป ผู้เข้าร่วมจะค่อยๆ สร้างมิตรภาพต่อกัน ฉันรู้สึกว่ากลุ่มนี้ไม่ได้มีเพียงเพื่อช่วยให้พวกเขาพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ทำความรู้จักกัน เชื่อมสัมพันธ์ผ่านเป้าหมายร่วมในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ แม้จะมีพื้นเพทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่สามารถสร้างความสัมพันธ์กันได้”

นอกจากนี้ โครงการสำหรับเด็ก วัยรุ่น และครอบครัวก็เป็นอีกบริการที่สำคัญ ดาวานเดห์มองว่าห้อง สมุดคือสถานที่ปลอดภัยสำหรับผู้ปกครอง

“ฉันเคยเป็นแม่ที่เลี้ยงลูกอ่อน ไม่ได้ทำงาน และเคยมองหาสถานที่สำหรับฉันและลูก ห้องสมุดจึงเป็นสถานที่ที่ฉันพึ่งพาเสมอ และฉันเข้าใจเรื่องนี้เมื่อฉันได้มาทำงานในห้องสมุด ฉันเห็นคุณแม่ลูกอ่อนเหล่านี้พาลูกๆ ของพวกเขามาเดินเล่นในห้องสมุด ซึ่งไม่เพียงช่วยให้พวกเขาได้พบปะผู้คนและเข้าสังคมได้เท่านั้น พวกเขายังได้สัมผัสวรรณกรรมโดยตรงอีกด้วย”
Wagga_YMG_Karate Session.jpg
ชั้นเรียนคาราเต้ ในห้องสมุด Credit: Wagga YMG Karate Session/ The Wagga Wagga City Library.
พาเมลา โลเปซ ผู้ใช้บริการห้องสมุดในเมืองเมลเบิร์นรู้สึกประทับใจกับสิ่งที่ห้องสมุดในออสเตรเลียมอบให้ เธอกล่าวว่าในบ้านเกิดที่เม็กซิโก ห้องสมุดมีไว้เพื่ออ่านหนังสือเท่านั้น

ทุกวันนี้โลเปซชอบพาลูกชายไปร่วมกิจกรรมสำหรับเด็กและฟังนิทานที่ห้องสมุดใกล้บ้านเป็นประจำ

“ฉันคิดว่าบริการเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างช่วงเวลาแห่งการเชื่อมโยง ทั้งระหว่างครอบครัว และความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกด้วย ฉันพบว่าตัวเองมีส่วนร่วมกับช่วงเวลานั้นอย่างเต็มที่ ร้องเพลงกล่อมเด็กและเพลิดเพลินไปกับลูกของฉัน และฉันพบว่ามันเป็นประสบการณ์ที่สวยงามและ แปลกใหม่ เพราะเมื่อคุณมองไปรอบตัว คุณจะพบว่าทุกคนต่างมีส่วนร่วมในช่วงเวลาเดียวกัน”

นอกจากนี้ ห้องสมุดหลายแห่งยังกิจกรรมเล่านิทานในภาษาต่างๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษอีกด้วย

บรรณารักษ์ยูยังกล่าวว่า ห้องสมุดที่วากา วากามีโครงการเยาวชนพหุวัฒนธรรมเช่นกัน

“เรามีชั้นเรียนละคร ดนตรี กีตาร์ และกลอง มีกิจกรรมศิลปะ เช่น การวาดภาพเหมือน หรือชั้นเรียนเพื่อให้ข้อมูล ซึ่งเราได้เชิญผู้คนจากหลายอาชีพมาพูดคุยเกี่ยวกับอาชีพของพวกเขา และอธิบายขั้นตอนที่ต้องทำในการประกอบอาชีพที่ออสเตรเลีย สำหรับผู้อพยพใหม่โดยเฉพาะ”
Wagga_YouthMulticulturalGroup_Guitar.jpg
ชั้นเรียนกีตาร์ที่ห้องสมุด Credit: The Wagga Wagga City Library
ในช่วงบ่าย ห้องสมุดจะเต็มไปด้วยนักเรียนที่เข้ามาใช้บริการ Wi-Fi ฟรีและแหล่งข้อมูลเพื่อการเรียนรู้

ห้องสมุดยังให้บริการแก่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ชมรมหนังสือ และชั้นเรียนเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมในการหางาน

ปัจจุบัน แม้ว่าห้องสมุดกำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล แต่โปรแกรมและกิจกรรมต่างๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือสำหรับการทำการบ้าน หรือการพูดคุยกับนักเขียน ก็มีให้เช่นกัน

และอาร์โนลด์ย้ำว่า บรรณารักษ์พร้อมให้ความช่วยเหลือเสมอ

“ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่เราให้บริการข้อมูลอย่างเปิดกว้าง ไม่มีอคติ ไม่มีแนวคิดเฉพาะทาง ข้อมูลที่เรามีนั้นเป็นบริการฟรีสำหรับทุกคน และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเรียนรู้ เราพูดเสมอว่า บรรณารักษ์ไม่ได้รู้ทุกอย่าง แต่เราชอบค้นหาคำตอบ หากคุณมาหาเราแล้วบอกว่า 'ฉันทำสิ่งนี้ไม่ได้' หรือ 'ฉันไม่รู้คำตอบ' เราจะนั่งคุยกับคุณ และจะแนะนำคุณในทุกสิ่งที่คุณต้องการ เพื่อค้นหาคำตอบนั้น”
Children Listening to a Story
เด็กๆ ขณะร่วมกิจกรรมเล่านิทาน Source: Getty / Getty Images
เนื่องจากห้องสมุดกลายเป็นศูนย์กลางของชุมชนมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการและสนับสนุนเจ้าหน้าที่

ลิซซี แฟลาเฮอร์ตี นักสังคมสงเคราะห์ประจำห้องสมุดคนแรกในรัฐเซาท์ ออสเตรเลียประจำอยู่ที่

เธอหวังว่าจะได้เห็นนักสังคมสงเคราะห์ทำงานในห้องสมุดมากขึ้นในอนาคต

“บริการสังคมสงเคราะห์ถูกเสริมขึ้นมา เพื่อตอบสนองความจำเป็นที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากห้องสมุดเติบโตอย่างต่อเนื่อง พัฒนาและมีวิวัฒนาการไปพร้อมกับชุมชน ปัจจุบันผู้ใช้บริการห้องสมุดเริ่มเข้าใจแล้วว่า งานสังคมสงเคราะห์สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนของชุมชนได้อย่างไร และการที่มีใครสักคนอยู่ที่นี่เพื่อช่วยคุณเชื่อมโยงและช่วยนำทาง สามารถส่งผลในวงกว้าง และเป็นผลดีต่อชุมชนได้อย่างไร”

และเฟลาเฮอร์ตีเชื่อว่าห้องสมุดเป็นพื้นที่เปิดรับและครอบคลุมผู้คนทุกกลุ่มมากที่สุดในสังคม
ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่เราสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ โดยไม่ต้องจำกัดอยู่ในกรอบ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หรือต้องเป็นคนประเภทใดประเภทหนึ่งเพื่อที่จะเข้ามาใช้บริการได้ ที่นี่ต้อนรับทุกคน นั่นคือประเด็นสำคัญ มันฟรี เปิดกว้าง และปลอดภัย
เฟลาเฮอร์ตีกล่าว


Australia Explained เป็นพอดคาสต์ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตใหม่ในออสเตรเลีย

คุณสามารถส่งคำถามหรือไอเดียหัวข้อที่น่าสนใจมาได้ที่

ติดตามเอสบีเอส ไทย ได้อีกทาง | |

ฟังพอดคาสต์ของเอสบีเอส ไทยผ่านแอปพลิเคชัน SBS Audio ดาวน์โหลดจาก หรือจาก  

Share

Recommended for you