กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน
เราอาจคุ้นเคยกับการสังเกตอาการป่วยซึ่งเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ Covid-19 เช่น น้ำมูกไหล ไอ และมีไข้ แต่ขณะนี้หน่วยงานด้านสุขภาพกำลังเตือนประชาชนทั่วชายฝั่งตะวันออกให้เฝ้าระวังอาการที่คุณอาจติดโรคหัด (Measles)
ในขณะนี้มีรายงานว่ามีผู้ป่วยโรคติดเชื้อโรคหัดรุนแรงอย่างน้อย 3 ราย ในนครซิดนีย์ เมลเบิร์น บริสเบน และ แคปิตอลเทร์ริทอรี ซึ่งคาดว่าได้รับพาหะโรคนี้มาจากต่างประเทศ
อาการของโรคหัด
อาการของโรคหัดที่พบโดยทั่วไป ผู้ป่วยมักมีไข้ เจ็บตา และไอ จากนั้นจะกลายเป็นผื่นแดงเป็นหย่อมๆ โดยเริ่มที่ศีรษะและลามไปทั่วร่างกาย
ผู้อำนวยการฝ่ายโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข รัฐนิวเซาท์เวลส์ ดร.คริสติน เซลวีย์ เปิดเผยว่าโรคหัดเป็นโรคติดต่อที่ติดเชื้อได้ง่ายที่สุดชนิดหนึ่ง
มันแพร่เชื้อได้ง่ายมาก จนบางครั้งผู้คนติดเชื้อหัดจากการเข้ามาใช้ในห้องเดียวกับคนที่เป็นโรคหัด แม้ว่าคนที่มีเชื้อออกจากห้องไปแล้ว 2 ชั่วโมงก็ตามดร. คริสติน เซลวีย์
ดร. เซลวีย์ อธิบายลักษณะเฉพาะของโรคหัดว่า เชื้อโรคนี้ "ฉลาดมาก" ในการแพร่ไปยังคนแค่หนึ่งหรือสองคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันในกลุ่มฝูงชน
แม้ว่าโดยทั่วไปออสเตรเลียจะมีอัตราการฉีดวัคซีนโรคหัด มากกว่าร้อยละ 95 แต่ก็ยังมีบางคนในชุมชนที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนนี้ได้
ดร. เซลวีย์ อธิบายว่าผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัด ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือมีภาวะสุขภาพอื่น ๆ และในเด็กเล็ก
"เราต้องการให้ทุกคนได้รับการคุ้มกัน เพื่อปกป้องคนที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้ รวมถึงเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 12 เดือนด้วย พวกเขาจะได้รับวัคซีนโรคหัดครั้งแรกก่อนที่ แอนติบอดีของแม่ก็กำลังจะหมดลงจากร่างกายของพวกเขา"
"ดังนั้น เด็กเล็กเหล่านั้นจึงเสี่ยงต่อโรคหัด และมันสามารถนำไปสู่โรคปอดบวมร้ายแรง บางครั้งอาจทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบ และบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคที่เกิดขึ้นได้ยากเช่น ไข้สมองอักเสบเฉียบพลัน (pan-encephalitis) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเจ็ดถึงแปดปีหลังจากการติดเชื้อโรคหัด และ ซึ่งมักจะส่งผลให้เสียชีวิต"
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกมีอัตราการฉีดวัคซีนทุกประเภทลดลง ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยโรคหัดเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับการระบาดของโรคนี้ หลังจากจำนวนผู้ป่วยรายปีในยุโรปเพิ่มขึ้นจาก 941 รายเป็นมากกว่า 42,000 ราย ในเวลาเพียง 1 ปี
แพทย์ด้านโรคติดเชื้อและสาธารณสุขที่สถาบันโดเฮอร์ตีและโรงพยาบาลรอยัลเมลเบิร์น ดร. แคเธอรีน กิ๊บนีย์ เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
"มีหลายประเทศทั่วโลก - และโดยเฉพาะประเทศที่มีรายได้น้อย ซึ่งขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพ ทำให้อัตราการฉีดวัคซีนลดลงมากในช่วงโควิด และมีบางประเทศ ที่เด็กจำนวน 1 ใน 3 ไม่ได้รับวัคซีนอะไรเลย และกลุ่มประเทศดังกล่าว ที่มีเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนจำนวนมากก็เป็นประเทศที่มีคนเดินทางเข้าออกระหว่างออสเตรเลียจำนวนมาก รวมถึงประเทศอินเดีย ปากีสถาน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์"
มีการเฝ้าระวังโรคหัดระบาดในนครซิดนีย์ Source: AAP, EPA / AAP Image/ EPA/KIM TIBLANI
ในออสเตรเลีย วัคซีนโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน จะแบ่งออกเป็น 2 โดส และทุกคนที่เกิดหลังปี 1966 จะได้รับการฉีดวัคซีนชุดนี้ฟรี สำหรับคนที่เกิดก่อนปี 1966 เป็นกลุ่มที่เข้าใจกันว่า มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติผ่านการได้รับสัมผัสในวัยเด็กก่อนที่จะมีการพัฒนาวัคซีน
โรคหัดในออสเตรเลีย
ดร.กิบนีย์ อธิบายว่าความสำเร็จของโครงการฉีดวัคซีนดังกล่าว ทำให้องค์การอนามัยโลกประกาศให้ออสเตรเลียเป็น "ปลอดโรคหัด" ในปี 2016
"จากความสำเร็จดังกล่าว หมายถึงเราไม่มีการระบาดของโรคนี้มาต่อเนื่อง ยาวนาน แม้ว่าปัจจุบัน อาจมีความกังวลต่อเรื่องนี้มากขึ้นเล็กน้อย"
แต่อัตราการฉีดวัคซีนของเราที่สูงมากพอที่จะแน่ใจว่า ออสเตรเลียจะปลอดโรคหัด แต่ถ้าอัตราวัคซีนลดลง มันหมายถึงการมีความเสี่ยงมากขึ้นดร.แคเธอรีน กิบนีย์
ซึ่งมันเคยกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ มาแล้ว เช่นใน สหราชอาณาจักร ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับฐานะประเทศปลอดโรคหัดจาก W-H-O แต่กลับถูกเพิกถอนสถานะเนื่องจากอัตราฉีดวัคซีนลดลง และเราก็เริ่มเห็นการระบาดของโรคหัดในสหราชอาณาจักร
ดร.กิบนีย์ กล่าวต่อไปอีกว่า อัตราการฉีดวัคซีนในออสเตรเลียยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่แต่มีแนวโน้มการฉีดวัคซีน “ลดลง” เธอกล่าวว่าไม่มีข้อมูลมากนักที่จะวิเคราะห์ว่าได้ว่าอัตราการฉีดวัคซีนในกลุ่มคนจากชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม จะมีความแตกต่างกันหรือไม่
"เราเรียนรู้จากสถานการณ์โควิดว่า ผู้คนในชุมชนเหล่านี้มีแนวโน้มจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ในแง่ของการไม่ได้รับข้อมูลที่จำเป็นว่าพวกเขาสามารถเข้าถึงการฉีดวัคซีนเหล่านี้ได้"
ดร.กิบนีย์กล่าวว่า นี่เป็นเรื่องที่อาจทำให้แนวโน้มที่จะทำให้อัตราการฉีดวัคซีนลดลง และส่งผลให้กลุ่มคนดังกล่าว มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูงขึ้น
จะตรวจสอบว่าคุณเคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดหรือยังได้อย่างไร
ประธานแพทยสภาออสเตรเลีย ดร. นิโคล ฮิกกินส์ บอกว่า มันเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนจะต้องได้รับวัคซีนทั้งสองโดส ดร. ฮิกกินส์ อธิบายว่าควรทำอย่างไรหากคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับสถานะการฉีดวัคซีนของคุณ
"ในออสเตรเลีย เรามีการบันทึกการฉีดวัคซีนของคุณไว้ และในวัยเด็กก็มีการจดบันทึกไว้ในสมุดบันทึกพัฒนาการเด็กเล็ก หรือผู้ปกครองบางคนก็จดบันทึกไว้ด้วย ถ้าคุณไม่มีการจดบันทึดการฉีดวัคซีนไว้ เรายังสามารถตรวจสอบภูมิคุ้มกันได้โดยการตรวจเลือดได้อีกด้วย"
วัคซีนโรคหัดแบ่งเป็น 2 โดส Source: AAP
ดร.ฮิกกินส์แนะนำว่า ให้ผู้ที่ไม่แน่ใจเกี่ยวกับประวัติการฉีดวัคซีนของตน หรือหากกังวลว่าตนเองมีอาการป่วย คุณควรไปพบแพทย์ G-P
แต่ถ้าคุณคิดว่าคุณเป็นโรคหัด เธอเตือนว่าสิ่งสำคัญคือต้องแจ้งล่วงหน้า เพื่อที่แพทย์ GP จะได้ใช้มาตรการป้องกันที่คลินิกเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของโรคติดต่อที่สามารถระบาดได้ง่ายมากได้
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องราวที่น่าสนใจ
จากนักการเงินสู่เจ้าของสตูดิโอ Sip and Paint ในออสเตรเลีย