กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน
เรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ การสูญเสียคนที่เรารักเป็นสิ่งที่คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะหากเราอยู่กันคนละประเทศ
คุณปิยนุช (ออย) สายธนู นักจิตบำบัดคนไทยกล่าวว่าการสูญเสียเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม สำหรับกรณีที่อยู่ไกลกัน การจัดการกับอารมณ์จะยากขึ้น รวมถึงความรู้สึกผิดที่เพิ่มขึ้นด้วย
เวลาอยู่ไกลกัน จะมีเคสที่บางทีเราไม่ค่อยได้กลับบ้าน ไม่ว่าจะด้วยภาระหน้าที่ เรื่องการเงิน หรืออะไรก็ตาม บางครั้งบางคนจะโทษตัวเองว่าทำไมไม่กลับบ่อยกว่านี้คุณปิยนุช นักจิตบำบัดคนไทยกล่าว
คุณปิยนุช สายธนู นักจิตบำบัดคนไทย Credit: Supplied
ระยะแรกคือระยะของการปฏิเสธ (denial) การยังไม่สามารถยอมรับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
“ไม่จริงหรอก ใช่เหรอ ตื่นมาอีกทีพรุ่งนี้เผื่อว่าจะไม่เป็นเรื่องจริง”
ซึ่งระยะนี้จะหนัก เบา นาน แค่ไหน ขึ้นอยู่กับว่าสูญเสียคนสำคัญแค่ไหน และวิธีของการสูญเสีย เช่น เกิดขึ้นกะทันหันหรือไม่
ระยะของความโกรธ (anger) ในที่นี้หมายความถึงการโกรธกับชีวิต รู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ยุติธรรม
ระยะของการต่อรอง (bargaining) การคุยกับตัวเองไม่จบ การถามคำถามแบบ ‘what if?’ หรือคำถามเชิงสมมติ เช่น
“ถ้าตอนนั้นเรารับโทรศัพท์ ถ้าตอนนั้นเราไม่บอกให้เขาออกไปซื้อของ”

ความเศร้าจะมากหรือน้อย หรือจะนานเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของเรากับผู้ที่จากไป Credit: Pexels/Cottonbro Studio
“แต่ละคนจัดการกับความสูญเสียไม่เหมือนกัน บางคนอยากอยู่กับคนที่รัก บางคนอยากอยู่คนเดียว บางคนเปลี่ยนไปเลย บางคนอยากกลับไปที่ที่เคยไปด้วยกัน บางคนเห็นไม่ได้เลย”
ระยะสุดท้ายคือระยะของการยอมรับ (acceptance) ยอมรับว่าการสูญเสียเกิดขึ้นจริง ความรู้สึกจะสงบลง เป็นระยะที่วิธีคิดจะเริ่มเป็นการมองไปข้างหน้า
อย่างไรก็ตามคุณปิยนุชกล่าวว่าแต่ละคนมีวิธีจัดการกับความเศร้าต่างกัน ถ้าเรารู้สึกว่าวิธีของเราไม่เหมือนกับคนอื่น ไม่ควรด่วนตัดสินตนเอง ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรตัดสินผู้อื่นที่กำลังเผชิญการสูญเสียเช่นกัน
“เวลาเห็นคนอื่นสูญเสีย ต่อให้เรามองว่าเป็นการสูญเสียเล็กๆ เช่น สัตว์เลี้ยง หรือญาติที่ไม่สนิท ถ้ามันใหญ่สำหรับเขา ก็คือใหญ่ อย่าไปตัดสิน ความสูญเสียแต่ละคนไม่เท่ากัน”

ผู้หญิงกำลังร้องไห้อยู่บนโต๊ะ Credit: Pexels/Cottonbro Studio
ฟังได้ในบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
กด ▶ ฟังพอดคาสต์ฉบับเต็ม

นักจิตบำบัดคนไทยอธิบายระยะของความเศร้า เมื่อคนที่เรารักจากไป ตอนที่อยู่ไกลกัน
SBS Thai
08/10/202420:55
บริการให้ข้อมูลและให้ความช่วยเหลือเรื่องสุขภาพจิต 24 ชั่วโมง Beyond Blue 1300 224 636 หรือ
บริการให้คำปรึกษาป้องกันการฆ่าตัวตายและสุขภาพจิต เป็นบริการโทรกลับ (Suicide Call Back Service) โทร 1300 659 467
บริการให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตสำหรับชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม Embrace Mental Health
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

บริการด้านสุขภาพจิตในออสเตรเลียเป็นภาษาของคุณ